Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปองค์ความรู้ เรื่อง นมัสการปาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ - Coggle…
สรุปองค์ความรู้
เรื่อง นมัสการปาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
บทประพันธ์ที่ประทับใจ
ส่วนตัวหนูรู้สึกชอบบทประพันธ์ทั้งสอง แต่ต้องเลือกเพียงบทประพันธ์เดียวคือ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ เพราะหนูคิดว่าบทประพันธ์นี้เป็นบทประพันธ์ที่ทุกคนก็คงที่จะเข้าใจความหมายและรับรู้กันดีในเรื่องของพระคุณของบิดามารดาที่กว่าจะเลี้ยงเราเติบโตมาได้ขนาดนี้พ่อแม่ก็เหนื่อยมากๆ เวลาทำผิดพ่อกับแม่ไม่เคยที่จะตีแต่ก็มีเพียงดุว่าสอน ย่างมีเหตุผลมาตลอด คอยดูแลคอยสั่งสอนทุกๆวันเพื่อที่จะให้ลูกคนนี้ได้เป็นคนดีและเข้มแข็ง พ่อแม่คอยช่วยเหลือทุกๆอย่างดูแลเป็นอย่างดีมันมากเกินกว่าที่จะพรรณนาได้หมดทุกอย่างแต่ที่สามารถบอกได้อย่างเดียวเลยคือพ่อแม่ทุกคนรักและห่วงใยลูกเสมอไม่ว่าตั้งแต่เด็กจนโต ลูกก็คือสิ่งที่พ่อแม่รักที่สุด ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่ทำมานั้นตรงกับบทประพันธ์ที่ได้เขียนมาเป็นบทนมัมาตาปิตุคุณให้พวกเราทุกคนได้อ่านกันแล้วมันเกินที่เราจะทดแทนพระคุณของท่านได้จริงๆ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน
บทนมัสการมาตาปิตุคุณสามารถทำให้เราเข้าใจและควรที่จะตอบแทนผู้มีพระคุณทุกๆท่านที่ไม่ว่าจะเป็นพ่อกับแม่ที่ท่านดูแลเลี้ยงดูปกป้องเรามาตั้งแต่เด็กจนโตกว่าจะเลี้ยงเราโตท่านต้องเหนื่อยต้องลำบากขนาดไหน ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถที่จะตอบแทนพระคุณของท่านที่กว้างใหญ่ล้นฟ้าได้แต่เราก็ควรที่จะดูแลท่านให้ดีดีสุดเท่าที่เราจะทำได้ หลังจากการที่เราได้เข้าใจในความยากลำบากของพ่อแม่แล้วนั้นเราควรที่จะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นี้เนื่องจากเราได้รู้สึกถึงพระคุณของพ่อแม่ที่มากเกินที่เราจะทดแทนหมดแต่ในชีวิตประจำวันของเรา เราก็ควรที่จะเป็นคนดีให้พ่อแม่ได้ภูมิใจในตัวลูกและเราไม่ควรที่จะต้องมาทำให้พ่อแม่ต้องมาเหนื่อยกับเราอีก และบทนมัสการอาจริยคุณเป็นการกล่าวถึงพระคุณของครูอาจารย์ที่ท่านได้มอบวิชาความรู้ที่ท่านได้สอนได้สั่งแต่สิ่งดีๆให้กับศิษย์ ท่านได้ช่วยไขข้อสงสัยความเขลาของเด็กให้เด็กสามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาวิชาความรู้ได้ดีซึ่งทำให้ผู้อ่านได้เคารพและสำนึกในความรักความห่วงใยที่ท่านได้สอนให้ลูกศิษย์ทุกคนได้มีวิชาความรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต การนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันคือการตั้งใจเรียนเวลาครูหรืออาจารย์สอนให้ท่านได้ภูมิใจกับความตั้งใจของท่านที่ท่านได้สอนลูกศิษย์ให้มีวิชาความรู้ติดตัว
ความเป็นมาของเรื่อง
บทนมัสการมาตาปิตุคุณและบทนมัสการอาจริยคุณเป็นบทสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา และอาจารย์ รวมอยู่ในคำนมัสการคุณานะคุณประกอบด้วยบทนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ บทนมัสการอาจริยคุณ บาทสดุดีพระมหากษัตริย์ และบทสรรเสริญเทพยดา คำนมัสการคุณานุคุณพิมพ์รวมในงานชุดภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร เล่ม ๒ ภาคเบ็ดเตล็ด
ลักษณะของคำประพันธ์
ลักษณะคำประพันธ์อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลางดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ ลักษณะบังคับของอินทรวิเชียรฉันท์โดยที่ ๑ บาท จะมี ๒ วรรค หน้า ๕ คำ/หลัง ๖ คำ รวมบาทหนึ่งมี ๑๑ คำ จะเรียกว่า ฉันท์
รูปแบบเดิม
รูปแบบปัจจุบัน
เนื้อเรื่องย่อ
บทนมัสการอาจริยคุณ มีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของครู อาจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยจิตเมตตาและความกรุณา ทำหน้าที่สั่งสอนให้ความรู้ในสรรพวิชาในเรื่องที่สงสัยและอบรมจริยธรรมชี้ให้เห็นบาปบุญคุณโทษ เพื่อขจัดความเขลาความไม่รู้ของศิษย์
บทนมัสการมาตาปิตุคุณมีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของ บิดา มารดา ที่ทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรจนเติบโต โดยที่ไม่เห็นแก่ความยากลำบาก พระคุณของบิดามารดา กว้างใหญ่ไพศาลเปรียบได้กับ ภูผาและแผ่นดินสุดที่จะทดแทนพระคุณของบิดามารดาได้
คุณค่าด้านสังคมและด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านสังคม
คุณธรรมจริยธรรม
บทประพันธ์ที่เรียนนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้บทประพันธ์ ที่แทรกการสอนจริยธรรมให้กับผู้อ่าน โดยปลูกฝังให้รู้ในบุญคุณของบิดามารดา และบุญคุณของครูอาจารย์ ซึ่งต้องเป็นการเห็นคุณค่าของคนใกล้ตัวก่อน เมื่อปฏิบัติเป็นประจำจะทำให้เราเห็นคุณค่าของคนอื่นด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้จักเคารพยกย่องบุคคลที่ควรเคารพ และรู้จักการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้ภาพพจน์ เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ ระหว่าง บุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณ
อุปลักษณ์คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะ คล้ายกันหรือความหมายเหมือนกัน คำที่ใช้ในการเปรียบ ได้แก่ เป็น คือ ใช่ เท่า
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เป็นการเปรียบเทียบ พระคุณของบิดา มารดา ว่าหนักเป็นภูผา และยิ่งใหญ่เท่าพื้นพสุธา
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ ใช้ถ้อยคพภาษาที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที มีคพยากน้อยมากที่ต้องอ่านและแปลก่อน
การเล่นเสียง
•การเล่นเสียงพยัญชนะ เมื่อมีการเลือกเสียงพยัญชนะเดียวกันหรือเสียงใกล้เคียงกัน
เวลาอ่านทำให้เกิดการกระทบกันของเสียง ก่อให้เกิดความไพเราะ เช่น “ข้าขอนบชนกคุณ” มีการเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ คือ ระหว่างคำว่า ข้า, ขอ,คุณ และระหว่าง คำว่า นบ, (ช)นก
•การเล่นเสียงสระ
มีการเลือกเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสนี่น่าฟัง เช่น “ตรากทนระคน ทุกข์’’ มีการเล่นเสียงของคำว่า ทน กับ (ระ)คน (สระโอะ)
•การเล่นเสียงเบา – หนัก
เป็นการเลือกคำที่ติดกันทำให้เกิดการออกเสียง เบาหนัก สลับกันไป เช่น “ฟูมฟักทะนุถนอม”
การเล่นคำ
เป็นการเลือกคำที่ออกเสียงเหมือนกัน ใช้คำอื่นแทรกลงไป ในคาเดิม ให้การออกเสียงเกิดความคมคายและมีความหมายที่น่าสนใจ เกิดความไพเราะของเสียง เช่น
คำว่า เทียบเทียม
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อปลูกฝังคุณธรรมและตระหนักถึงความกตัญญูกตเวที เพื่อสรรเสริญพระคุณของพระบิดามารดา และครูอาจารย์
ประวัติผู้แต่ง เรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจรยางกูร)
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจรยางกูร) เกิดวันที่๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๖ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญานามว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย ใช้สอนในโรงเรียนสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง พระศรีสุนทรโวหารบวชเรียนจนเชี่ยวชาญคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งภาษาไทย บาลี สันสกฤตทและภาษาขอม ท่านได้รับราชการเป็นขุนประสิทธิอักษรสารท และยังเป็นนักปราชญ์ในรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นองคมนตรีเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน