Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Closed Fracture Left Lateral Femur Status post Open Reduction Internal…
Closed Fracture Left Lateral Femur Status post Open Reduction Internal Fixation with Plate
พยาธิสภาพ
เมื่อกระดูกหักจะมีเลือดออกจากตัวกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ กระดูกเมื่อเลือดหยุดไหลจะเกิดเป็นก้อนเลือดตรงบริเวณที่หักทำให้สูญเสียความมั่นคงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติมีอาการปวดและชาเนื่องจากการสูญเสียการทำงานชั่วคราวของเส้นประสาทหากมีกระดูกหักบริเวณใกล้ข้อจะทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วยทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณกระดูกที่หักเกิดการอักเสบและจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้มีโปรตีนซึมผ่านออกมาในเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้บริเวณที่กระดูกหักเกิดอาการบวมกระดูกที่หักบริเวณแขนขาจะมีความยาวสั้นลงเนื่องจากแรงดึงของกล้ามเนื้อตามแกนยาวของกระดูกทำให้กระดูกเกยกันหากกระดูกรูปยาวหักอาจหักเป็นมุมเนื่องจากแรงดัดหรือโก่งและแรงดึงของกล้ามเนื้อไม่เท่ากันบริเวณรอบ ๆ กระดูกหักหากมีอาการบวมอยู่นาน ๆ ทำให้เกิดพังผืด (Fibrosis) ขึ้นได้โดยเฉพาะกระดูกหักบริเวณข้อพังผืดที่เกิดรอบ ๆ ข้อทำให้ข้อติดแข็งได้กระดูกที่หักจะมีการซ่อมแซมตามธรรมชาติโดยมีการสร้างกระดูกใหม่ที่เรียกว่าแคลลัส (Callus) เกิดขึ้นซึ่งจะช่วยตรึงกระดูกที่หักให้ติดกัน แต่อาจมีปัญหากระดูกไม่ติดกันเนื่องจากมีเยื่อพังผืดคั่นระหว่างปลายกระดูกที่หัก
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดสะโพก ไม่สามารถนั่งหรือยืนได้ ขาอาจสั้นลง ขาบิด มีอาการบวมบริเวณที่หัก ฟกช้ำ และหมุนผิดปกติ แต่ในผู้ป่วยที่กระดูกหักแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete fracture) อาจจะยังสามารถขยับ สะโพก หรือเดินลงนํ้าหนักได้ แต่มีอาการปวด
การวินิจฉัยโรค
จากประวัติการได้รับบาดเจ็บ ดูจากอาการปวด การเคลื่อนไหว อาจมองเห็นกระดูกหักได้จากภายนอก และการถ่ายภาพรังสี ( chest x-ray ) จะช่วยให้จำแนกได้ว่ากระดูกหักแบบไหน
แนวทางการรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง (conservative treatment) เป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ( closed reduction ) เพราะบริเวณส่วนของกระดูกขา (trochanter) มีลักษณะเป็นกระดูกแข็ง (cancellous bone) มักจะทำให้กระดูกบริเวณนี้ไม่ติดหรือติดช้ามาก การรักษาอาจจะทำได้เพียงการดึงกระดูกหักให้เข้าที่ และให้เกิดการเชื่อมติดเองตามธรรมชาติ ซึ่งมักจะถูกพิจารณาในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีอายุมาก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากการผ่าตัดได้สูง
การรักษาโดยการผ่าตัด ( operative treatment ) เป็นการจัดชิ้นกระดูกหักให้เข้าที่โดยการผ่าตัด ( open reduction ) ยึดตรึงกระดูกภายในเพื่อให้กระดูกอยู่นิ่ง วัสดุที่ใช้มีหลากหลายชนิด เช่น Jewett nail, Angle blade plate, Lagscrew, Condylarbladeplate หรือ wire กรณีที่ผู้ป่วยที่อายุน้อยหรือยังไม่ถึง 65 ปี และความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดน้อย แพทย์มักจะพิจารณาวิธีการผ่าตัดโดยเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อยึดตรึงกระดูกภายในต้นขา บริเวณที่หักให้ชิดติดกัน
การประเมินสภาพผู้ป่วย
ซักประวัติของอุบัติเหตุจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุเช่นปวดศีรษะคลื่นไส้อาเจียนปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การพยาบาลที่เกิดขึ้นเช่นอาการบวมบาดแผลกระดูกหักเป็นต้นโดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าเพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติ
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และแผนการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก On Skeletal traction เช่น แผลกดทับ กล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติด และปอดแฟบ
ประเมินลักษณะของผิวหนังบริเวณที่ถูกกด ทับว่ามีรอยแดงรอยถลอกมีแผลหรือมีการลอกหลุดของ ผิวหนังโดยเฉพาะผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูกทุกส่วน ประเมินลักษณะการหายใจ และฟังเสียงปอด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ประเมิน Braden score
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 hr. โดยเฉพาะ RR
แนะนำญาติในการดูแลความสะอาดของ ผิวหนัง โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณหลัง และก้นกบให้แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ สวมใส่เสื้อผ้าที่ สะอาด ผ้าปูที่นอนสะอาด และปูให้เรียบตึงไม่ควรให้ ผิวหนังผู้ป่วยสัมผัสกับผ้ายางโดยตรง พลิกตะแคงตัวทุก 2 hr.
แนะนำให้ใช้ที่นอนลมปูรองนอน
แนะนำญาติในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลัง กายบนเตียง ในอวัยวะส่วนที่ไม่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใย ได้แก่ ผักและผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ดูแลให้ได้รับยา plasil 10 mg. prn q 8 hr. ตามแผนการรักษา
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณลวดแข็งที่เสียบผ่านเนื่องจาก On Skeletal traction
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ได้แก่ มีไข้ > 37.5 0C ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว หนาวสั่น เป็นต้น
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ อุณหภูมิร่างกาย
ประเมินบริเวณที่ได้รับการถ่วงกระดูกแบบ Skeletal traction สังเกต discharge การอักเสบ บวม แดง
ดูแล Dressing แผลวันละ 1 ครั้ง
ดูแลให้ได้รับยา Cefazolin 2 mg. ( ถ้ามี )
ดูแลเช็ดตัวลดไข้เมื่ออุณหภูมิร่างกาย 37.5 – 38.4 0C หากผู้ป่วยมีไข้ 38.5 0C ขึ้นไปให้รับประทานยา Paracetamal
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC NE, LY
เสี่ยงต่อภาวะ Compartment syndrome เนื่องจาก On Skeletal traction
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะ Compartment Syndrome ได้แก่ ปวด บวมแดงช้ำ แสบร้อนเซลล์ตาย การขาดเลือดเฉพาะที่ ชา ตะคริว อัมพาต
2.ประเมินการทำหน้าที่ของเส้นประสาทและหลอดเลือด ได้แก่ ปวด ( pain ) ชารู้สึกเจ็บปวดลดลง ( paresthesia ) ผิวหนังส่วนปลายซีด ( pallor ) อ่อนแรง อัมพาต ( paralysis ) คลำชีพจรไม่ได้ ( pulselessness ) อุณหภูมิผิวหนังเย็น ( palar )
3.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 4 hr.
ประเมิน Pain score โดยใช้แบบประเมิน Numeric Rateing Scale ประเมินทุก 4 hr.
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5%DN/2 1,000ml. IV rate 100ml/hr. ตามแผนการรักษา
ดูแลจัดท่าผู้ป่วย สุขสบาย วางแขนขาบนหมอนรองให้เลือดบริเวณส่วนปลายไหลกลับได้สะดวก ไม่ยกอวัยวะข้างที่บาดเจ็บขึ้นสูง
ดูแลให้ได้รับยา Tramadol 50 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำ เมื่อจำเป็น ทุก 6 hr.
ปวดเนื่องจากกระดูกหักและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
ประเมินสีหน้า ท่าทางของผู้ป่วย และประเมิน Pain score โดยใช้แบบประเมิน Numeric Rateing Scale ประเมินทุก 4 hr.
ดูแลให้ได้รับยา Tramal 50 mg IV prn. q 6 hr. ตามแผนการรักษา
ดูแลการถ่วงน้ำหนัก โดยให้มีแรงต้านที่เหมาะสม มีการดึงอย่างต่อเนื่อง ท่าที่ใช้ดึงเหมาะสมและลูกตุ้มลอยพ้นจากพื้น
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
แนะนำให้ผู้ป่วย ดูทีวี ฟังเพลง ทำสมาธิ หรือฟังธรรมมะ
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น ช็อกจากการสูญเสียเลือด คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะช็อก ได้แก่ ซีด หายใจเร็ว เหงื่อออก ใจสั่น ปลายมือปลายเท้าเย็น สับสน เวียนศีรษะ ปัสสาวะออกน้อย และประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวลดลง
ดูแลเตรียมเลือด PRC 2 U to OR ตามแผนการรักษา
ประเมิน V/S 15 นาที 4 ครั้ง 30 นาที 2 ครั้ง และ 1 hr. Stable
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5% DN/2 1,000 ml. IV rate 100 ml/hr.
ประเมินอาการปวดด้วย Pain score โดยใช้แบบประเมิน Numeric Rateing Scale ประเมินทุก 4 hr. ประเมิน neuro sign ทุก 2 hr.
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งมักเกิดจากผลของยาระงับความรู้สึก จึงต้องดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน Plasil 10 mg IV prn. q 8 hr. ตามแผนการรักษา
สังเกตบาดแผล ลักษณะ และปริมาณของ Content ประเมินภาวะเลือดออกหลังผ่าตัด โดยประเมินแผลผ่าตัดว่า มีเลือดซึมออกมาหรือไม่ สังเกตบันทึกปริมาณของเลือดที่ออกจาก Redivac drain หากมากถึง 200 ml/1 ชม เฝ้าระวังดูแลและรายงานแพทย์ ดูแล Redivac drain ให้อยู่ต่ำกว่าบาดแผล
ดูแลปูเตียงแบบ ether bed หลังกลับจากผ่าตัด เพื่อดูแลอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับ ปกติไม่ให้ต่ำจนเกินไปด้วยการห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายหรือใช้ผ้าห่มไฟฟ้าเมื่อจำเป็น
ดูแลเตรียมยา Cefazolin 2 gm.
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ CBC RBC, HCT, HGB.