Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการและทักษะใน การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ - Coggle Diagram
หลักการและทักษะใน
การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์
ลักษณะของสัมพันธภาพที่ดี
1.เปิดเผยตนเองและไว้ใจซึ่งกันและกัน
2.สื่อสารที่ชัดเจนและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
3.แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์
4.ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความหมาย
เป็นการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไม่ว่าจะด้วย
ภาษากาย หรือภาษาใจ ไปยังผู้รับสารโดยผ่านสื่อ
ชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย
องค์ประกอบการสื่อสาร
ผู้ส่งสาร
บุคคล กลุ่ม หรือหน่วยงานที่เป็นแหล่งกำเนิดสาร
สาร
สิ่งที่ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
สื่อ หรือช่องทาง
เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่างๆ
ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความต้องการ
ผู้รับสาร
ผู้ที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร
และอาจแสดงปฎิกริยาตอบกลับต่อผู้ส่งสาร
รูปแบบการสื่อสาร
วัจนภาษา
เป็นภาษาพูดและเขียนในการสื่อสาร
อวัจนภาษา
สารสนเทศในปัจจุบันสื่อสารกันในลักษณะอวัจนภาษา
เช่น กิริยาท่าทาง น้ำเสียง เนื้อที่ระยะห่าง กาลเวลา
สิ่งที่มาพร้อมกับภาษา
ช่วยให้ทราบความหมายของภาษาชัดเจนขึ้น
และเป็นตัวกำหนดความรู้สึกของผู้พูด
ประเภทการสื่อสาร
สื่อสารทางเดียว
สารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารในทิศทางเดียว
โดยไม่มีการตอบกลับจากผู้รับสาร
สื่อสารสองทาง
สารมีการตอบกลับไปมาระหว่างคู่สื่อสาร
ผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในเวลาเดียวกัน
หลักการสื่อสาร
1.ผู้สื่อสารจะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
และปัจจัยทางจิตวิทยา
2.ผู้สื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
3.คำนึงถึงภูมิหลังของคู่สื่อสารที่แตกต่างกัน
4.ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทางที่เหมาะสม
5.ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อให้การสื่อสารราบรื่น
6.คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร
7.คำนึงถึงปฎิกริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร
ปัญหาและอุปสรรคการสื่อสาร
1.การบิดเบือนข่าว คือ การส่งข่าวผ่านหลายๆคน
อาจเกิดจากความจงใจ หรือไม่จงใจของผู้รับข่าวสารในลำดับแรกๆ
2.ข่าวลือ เกิดจาก การขาดข่าวสารข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ไม่รู้แน่ชัด
3.ความขัดแย้งทางอารมณ์ เมื่อบุคคลมีความขัดแย้ง มักมีข่าวลือในเรื่องไม่ดี
4.การได้รับข่าวสารที่มากเกินไป ทำให้การรับหรือส่งข่าวสารผิดพลาด
5.ปัญหาจากการใช้ภาษา ซึ่งภาษามักมีความหมายมากกว่าหนึ่งเสมอ
6.ปัญหาด้านบุคคล ประกอบด้วย
6.1สถานภาพที่แตกต่างกัน โดยอาจเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสาร
6.2การใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เช่น บิดเบือนข้อมูลข่าวสารเพื่อเอาใจผู้บริการ
ทักษะการสื่อสาร
การฟังเชิงรุก
ทำให้อีกฝ่ายพูดคุยได้อย่างสบายใจ ฟังเรื่องที่อีกฝ่ายพูดแล้ว
ถ่ายทอดความคิดออกไปด้วย จากนั้นสร้างความไว้วางใจต่อกัน
การฟังแบบสะท้อนความ
เป็นกลไกสำคัญที่ใช้สื่อว่าผู้ฟังสนใจในตัวตคู่สนทนา รวมถึง
แสดงความเข้าอกเข้าใจในตัวคู่สนทนาด้วย การฟังแบบโดนใจ
การใช้คำถามปลายเปิด
เป็นคำถามที่กระตุ้นให้ตอบแบบเต็มประโยคจาก
ความคิดของตนเอง และนำไปสู่การตอบคำถามแบบอิสระ