Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ตา หู คอ จมูก, นายอรรคเดช…
บทที่ 8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ตา หู คอ จมูก
การติดเชื้อของตา
กุ้งยิง ความหมาย กุ้งยิง (Hordeolum) หมายถึง ตุ่มฝีเล็กๆที่เกิดที่ขอบเปลือกตา แบ่งเป็น 2 ชนิด External hordeolum / stye เป็นการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนังตรงโคนขนตา Internal hordeolum เป็นการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตา
สาเหตุเกิดจากต่อมไขมันที่โคนตามีการอุดตันและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย อาการ ปวดที่เปลือกตา ปวดตุบๆบริเวณที่เป็น เป็นตุ่มแข็งแตะถูกเจ็บบางครั้งมีหนองนูนเป่งหัวขาวๆ เหลืองๆ รอบๆนูนแดงและกดเจ็บ
การรักษา 1. เมื่อเริ่มขึ้นใหม่ๆ ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ 2.ให้ใช้ยาหยอดตาหรือป้ายตาที่ผสมยาปฏิชีวนะถ้าหนังตาบวมแดงหรือมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตร่วมด้วยให้กินยาปฏิชีวนะ 3. ถ้าเป็นหัวหนองควรสะกิดหรือผ่าเอาหนองออกแล้วให้กินยาปฏิชีวนะ
เยื่อบุตาขาวอักเสบ Conjunctivitis
2.Viral Conjunctivitis เยื่อบุตาขาวอักเสบจากไวรัส สาเหตุ ติดเชื้อไวรัส เช่น adenovirus ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำตาโดยตรงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ อาการ ตาแดง เคืองตา หนังตาบวมเล็กน้อย มีขี้ตาเล็กน้อย ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตอาจมีไข้ร่วมด้วย การรักษา ใช้ยาป้ายตาหรือหยอดตายาปฏิชีวนะ
Allergic Conjunctivitis เยื่อบุตาขาวอักเสบจากการแพ้ สาเหตุ จากการแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ อากาศ เครื่องสำอาง โรคภูมิแพ้ อาการคันตามาก ตาบวม น้ำ ตาไหล มักไม่มีขี้ตา ตาแดงเล็กน้อย การรักษา 1. ให้antihistamine เช่น Hista-oph eye drop , Alomide eyedrop 2. ถ้าเป็นมากให้ยาแก้แพ้ เช่น CPM หลีกเลี่ยงสงิทแพ้ 3. ถ้าคันตามากให้ประคบด้วยน้ำแข็ง
1.เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Conjunctivitis สาเหตุเชื้อ Strep.epidermidis, Staph.aureus ติดต่อโดยการสัมผัส อาการ ตาแดง หนังตาบวม มีขี้ตามากเป็นสี เหลืองหรือเขียว ไม่ปวดหรือเคืองตา การรักษา ใช้ยาป้ายตาหรือหยอดตา ยาปฏิชีวนะ เช่น Terramycin eye ointment, Poly-oph eyedrop. ถ้าหนังตาบวมมากให้กินยา Cloxacillin หรือ Erythromycin
การพยาบาลผู้ป่วยโรค หู
หูชั้นกลาง (Middle ear) 1.กระดูกภายในในหูชั้นกลาง(Ossicular chain) 1.1กระดูกฆ้อน (Mulleus) 1.2กระดูกทั่ง (Incus) 1.3กระดูกโกลน (Stapes) 2.กล้ามเนื้อของหูชั้นกลาง(Middle ear muscle) 3.เส้นประสาทที่ผ่านหูชั้นกลาง
หูชั้นใน (Inner ear) 1.ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง (Cochlear portion) 2.ส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว (Vestibular portion)
หูชั้นนอก (External ear or Outer ear) 1.ใบหู (pinna) 2.ช่องหูหรือรูหู (Ear canal) 3.แก้วหู (Ear drum or Tympanic membrane)
การได้ยินเสียง ความสามารถในการรับฟังเสียงสามารถรับฟังเสียงได้ตั้งแต่ 20-20,000 Hz เสียงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 125-8,000 Hz ซึ่งจะใช้ในการทดสอบการได้ยิน
การพยาบาลช่องคอ
CA NASOPHARYNX มะเร็งหลังจมูก สาเหตุ : ไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่ามีสิ่งเกี่ยวข้อง คือ 1. Ebstein-Barr Virus (EBV) 2. การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา 3. การรับประทานปลาเค็ม 4. การอักเสบของจมูกและไซนัส
การรักษาพยาบาล 1.รังสีรักษาได้ผลดีในระยะที่ 1-2 2.รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดระยะที่ 3 -4 ทำคู่กันไปหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก่อนหลัง 3. การผ่าตัดทำเฉพาะในรายที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต จากนั้นร่วมกับการฉายรังสี 4.เลเซอร์ Photo-dynamic therapy (PDT) เป็นกระบวนการเหนี่ยวนำให้เกิดสารที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง (phototoxic effect) โดยใช้ปัจจัย 3 ประการ คือ ยาไวแสง แสงเลเซอร์และออกซิเจน
อาการและอาการแสดง 1. ระยะแรกเสี่ยงไม่แหบต่อมามีเสียงแหบและจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ 2. เจ็บร้อนในคอลักษณะเหมือนก้างติดคอ 3.ไอเนื่องจากสาลักน้ำลายและมีน้ำลายมากเพราะกลืนไม่ลงบางรายไอเป็นเลือดแสดงถึงการมีแผลเกิดขึ้น 4.กลืนลำบากเจ็บเวลากลืน 5. น้ำหนักลด
การฝึกพูด มี 3 วิธี 1.การใช้เครื่องช่วยพูด (electro-larynx) 2.การพูดโดยใช้หลอดอาหาร (esophageal speech) 3.การทำผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียม (prosthetic voice restoration)
อาการที่ควรซักประวัติ และการวินิจฉัย : 1.การรับประทานอาหารเป็ นประจำ ชนิดเดิม เช่น ปลาเค็ม 2.อาการเปลี่ยนแปลง เช่น เป็นหวัด คัดจมูกเรื้อรัง หรือภูมิ 3.มีเลือดกำเดาไหล 4.ตามัว มองเห็นภาพซ้อน ปวดตา หูอื้อ ต่อมน้ำเหลืองข้างคอโต 5.ตรวจหลังโพรงจมูกพบก้อนเนื้องอก โดยการ x-ray,CT,MRI หลังโพรงจมูก ฐานกะโหลก จะบอกขนาด และขอบเขตของก้อน 6.การตรวจเลือดหา Ebstein-Barr Virus (EBV)
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด 1.การเกิดรูรั่วจากคอมาสู่ผิวหนังจากการแยกของแผลเย็บในคอและจากน้ำลาย 2.หลอดเลือดแดง carotid ฉีกขาดทำให้มีเลือดออกมาก
การรักษาโดยการผ่าตัด 1.partial laryngectomy ผ่าตัดกล่องเสียงออกบางส่วน 2.Totall laryngectomy ผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดรวมทั้ง hyoid bone, cricoid cartilage และ Tracheal ring 2-3 วงและต่อมน้ำเหลือง
การดูแลหลังผ่าตัด 1.ดูแลการหายใจผู้ป่วยจะใส่ Laryngectomy tube เพื่อหายใจจะถูกใส่ไว้จนกว่าแผลผ่าตัดจะหายและกลืนอาหารได้โดยไม่สำลัก 2.การจัดการกับเสมหะ 3.จัดท่านอนศีรษะสูง 30-40 องศา หลังการผ่าตัดเพื่อช่วยในการหายใจได้สะดวกและลดอาการบวม 4.จัดการกับอาการปวดเวลาลุกนั่งต้องพยุงศีรษะ 5.จะมีการใส่สายยางทางจมูกเพื่อให้อาหารทางสายยางก่อนแลเพื่อป้องกันไม่ให้แผลแยกทะลุออกมาภายนอกก่อนเอาสายยางออกต้องทำ barium swallow 6.การดูแลความสะอาดช่องปากและฟัน 7.หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่มีเสียงพูดต้องช่วยเหลือด้านการสื่อสารภายหลังต้องมีการส่งฝึกพูด 8.ดูแลเรื่องการติดเชื้อของแผลและการได้รับยาปฏิชีวนะ 9.การกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี early ambulation และการบริหารศีรษะไหล่และคอ
การพยาบาลจมูกและโพรงไซนัส
Epistaxis เลือดกำเดา หมายถึง เลือดที่ออกมาทางจมูก สาเหตุ : การบาดเจ็บเนื้องอกของจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูกหลอดเลือดในจมูกฉีกขาดโรคเลือดความดันโลหิตสูงพิษส่ราเรื้อรงผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดชนิดของ Epistaxis 1.Anterior epistaxis 2.Posterior epistaxis
การพยาบาล 1.จัดให้นอนทำศีรษะสูงหรือนั่งก้มหน้าเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เลือดไหลงคอเพราะอาจจะทำให้คลื่นไส้อาเจียนและไม่สามารถตรวจดูจำนวนเลือดที่ออกได้ 2.วัดสัญญาณชีพ 3.ถ้าเลือดไม่ออกมากให้บีบจมูกนาน 5-8 นาที และให้หายใจทางปาก 4.ประคบเย็นที่สันจมูกถ้าเลือดออกไม่หยุดอาจต้องใช้ 5.Adrenaline 1: 1,000 หรือ ephredine 1% พ่นจมูกหรือชุบก๊อสสอดเข้าในจมูก (ยกเว้นผู้ป่วยควํามดันโลหิตสูง) 6.ไฟฟ้าด้วย silvernitrate solution 10% Trichloracetic acid 30-50% 7.Nasal packing ด้วย gelform ,finger cot
NASAL POLYP ❑ริดสีดวงจมูก หมายถึง การที่มีเนื้องอกของเยื่อบุจมูกหรือไซนัสทำให้ช่องจมูกแคบและถูกอุดตันมักเกิดหลังโรคภูมิแพ้การอักเสบเรื้อรังของจมูก จมูกได้รับสารระคายเคืองเป็นเวลานานทำให้เยื่อบุจมูกหรือ ethmoidal sinus บวมและโตขึ้นห้อยลงมาในช่องจมูก ❑ หากเกิดที่ maxillary sinus ก้อนจะย้อยไปหลังจมูกเรียก Choanal polyp
อาการและอาการแสดง 1.อาการเช่นเดียวกับเป็นหวัด 2.คันจมูกก้อนโตมากจะคันมาก 3.เกิดการปิดกั้นหายใจทางจมูกไม่ได้ต้องหายใจทางปาก 4.การได้กลิ่นลดลงหรือหายไป 5.ถ้าริดสีดวงขนาดใหญ่จนปิดรูเปิดไซนัสจะทำให้ไซนัสอักเสบหนองไม่สามารถไหลออกมาได้สะดวกทำให้ปวดศีรษะบริเวณที่มีกํารอักเสบ 6.ถ้ามีChoanal polyp ด้วยจะทําให้หูอื้อแบบการนำเสียงผิดปกติ 7.ตรวจจมูกพบ inferior turbinate ซีด
การรักษาพยาบาล 1.รักษาเช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้และการอักเสบเรื้อรังของจมูก 2.หากก้อนมีขนาดใหญ่หายใจมาสะดวกต้องรักษาโดยการผ่าตัดทำ Polypectomy ก่อนกํารผ่าตัดต้อง x-ray sinus ทุกรายหากมีการอักเสบของไซนัสด้วยต้องทำผ่าตัดไซนัสพร้อมๆกัน เช่น Caldwell-Luc Operation หรือ Ethmoidectomy 3.หลังผ่าตัดจะปวดจมูกบวมให้ประคบเย็นและลดบวมถ้า 4 8 ชม.ยังบวมอยู่แต่ไม่มีเลือดออกให้ประคบร้อน 4.อาจมีการงอกออกมาใหม่ได้จึงต้องรักษาสาเหตุการเกิดให้ดี
SINUSITIS เป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อบุไซนัสข้างจมูกมีการติดเชื้อเข้าไปสู่ไซนัสสาเหตุ : เกิดจากกลไกการขนถ่ายสิ่งคัดหลั่งออกจากไซนัสผิดปกติโดยปกติไซนัสจะสะอาดปราศจากเชื้อโรคมีการผลิตเมือกวันละ 500 cc. แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. Acute sinusitis มีระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ 2.Chronic sinusitis มีระยะเวลานานกว่า 3 เดือน
อาการและอาการแสดง 1.คัดจมูกน้ำจมูกข้นเป็นหนอง 2.ปวดหนักและกดเจ็บบริเวณที่อักเสบปวดมากตอนเช้าๆถ้ารูไซนัสถูกปิดหมดไม่มีช่องทางออกของหนองจะปวดบริเวณหัวตาหลังลูกตาดั้งจมูกร้าวไปที่ขมับ 3.หายใจออกมีกลิ่นเหม็นในคอใน 24-48 ชม. น้ำมูกจะมีเลือดปน 4.เจ็บคอเนื่องจากมีเสมหะลงคอ 5.หูอื้อ 6.ตรวจพบเยื่อบุจมูกแดง
การรักษาพยาบาล 1.ใช้ยาบรรเทาปวด 2.ประคบร้อน 3.ลดอาการบวมโดยใช้ยาหยอดหรือพ่นจมูกที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว 4.งดใช้ยากลุ่ม steroid ในขณะที่มีการอักเสบติดเชื้อ 5.ควบคุมการติดเชื้อโดยใช้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 14 วัน 6.รับประทาน anti histamine และ anticongestant เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก 7.ให้ยาละลายเสมหะให้ดิมน้ำมากๆเพื่อละลายเสมหะ 8.พักผ่อนให้เพียงพอ 9.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไปสู่ผู้อื่น 10.แนะนำสังเกตอาการแทรกซ้อนทางตา การรักษา acute sinusitis ใช้เวลานาน 4-6 สัปดาห์
CHRONIC SINUSITIS สาเหตุจาก 1.รักษา acute sinusitis ไม่ได้ผลหรือไม่ได้รับการรักษาหรือเป็นซ้ำๆทําให้เซลล์ของเยื่อบุไซนัสไม่สามารถขจัดเอาน้ำและน้ำออกไปได้ 2.ฟันกรามบนผุรากฟันกรามบนอักเสบเหงือกอักเสบเชื้อโรคกระจายเข้าสู่ maxillary sinus 3.เชื้อสาเหตุเป็นกลุ่ม anaerobic หลายๆชนิดและจากเชื้อรา
อาการและอาการแสดง 1.มีน้ำมูกข้นมูกปนหนองสีเหลืองหรือสีเขียวกลิ่นเหม็นเป็นลักษณะสำคัญของการติดเชื้อกลุ่ม anaerobe 2.ปวดน้อยกว่า acute sinusitis ปวดตื้อๆ 3.การได้กลิ่นลดลง 4. x-ray sinus พบว่าทืบเพราะอาจมีหนองหรือน้ำขง
การรักษาพยาบาล 1.ขจัดสาเหตุของโรค 2.ขจัดแหล่งการติดเชื้อรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 3.ให้การถ่ายเทของน้ำหรือหนองภายในไซนัสได้ดีขึ้นโดยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูกและไซนัสโดยใช้ antihistamine และ decongestant หรือโดยการเจาะล้างไซนัสและการผ่าตัด antrostomy,endoscopic antrostomy,ethmoidectomy,Caldwell-Luc operation หรือ Functional endoscopic sinus surgery (FESS) 4.หลีกเลี่ยงจากควันต่างๆไอระเหยของสารเคมีอากาศเย็นจัดร้อนจัด 5.ลดอาการไอดื่มน้ำมากๆ
ANTROSTOMY เป็นการเจาะรูระหว่างจมูกกับ maxillary sinus เพื่อเปิดทางระบายสิ่งคัดหลั่ง
ภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัด FESS เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย 1.เลือดออกสู่ลูกตา 2.ตาบวมตาบอดจากมีการกระทบกระเทือนต่อ optic nerve 3.เกิดการรั่วของน้ำไขสันหลังเนื่องจากมีการทะลุของกระดูก ethmoid และ cribriform plate
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ 1.ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน 2.Periorbital abscess 3.Orbital cellulitis 4.Cavernous sinus thrombosis 5.เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) 6.Epidural abscess 7.Brain abscess 8.มีถุงน้ำหนองในไซนัส pyocele
การดูแลหลังผ่าตัด 1.หลังผ่าตัดหน้าจะบวมขอบตาช้ำเพราะได้รับการกระทบกระเทือนจาการผ่าตัด 2.ดูแลให้นอนศีรษะสูง 3.ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดบวม 4.บริเวณฟันและเหงือกจะชาไปหลายเดือนเพราะเส้นประสาทถูกตัดขาด 5.ระวังการกระทบกระเทือนแผลในปาก
นายอรรคเดช เพชรมีศรี UDA6380002