Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
(Interpersonal Theory)
ผู้เริ่มทฤฎีคือ แฮรี่ สแต็ก ซัตลิแวน (Harry Stack SuIlican)
นักจิตแพทย์ชาวอเมริกัน
แนวคิด
เชื่อว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ย่อมต้องมีสัมพันธภาพต่อกันและกัน (Interpersonal Relation) กับสิ่งแวดล้อม การก่อรูปลักษณะของบุคลิกภาพเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยระหว่างบุคคลกับโลกภายนอก
แนวคิดที่สำคัญ
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ความต้องการความมั่นคง (Security)
ความต้องการด้านจิตสังคม รวมถึงความสุขสบายใจ การมีความคิดและค่านิยมที่อยู่ในกรอบกับการยอมรับของสังคม ซัลลิแวนเชื่อว่าความต้องการทางสรีระมีความสัมพันธ์กันกับสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นเช่นเดียวกับความต้องการด้านสรีรวิทยาได้รับการตอบสนองก็โดยสถานการณ์ซึ่งต้องสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และนั่นคือที่มาของความพึงพอใจและความรู้สึกมั่นคงในบุคคล และสถานการณ์ที่บุคคลมีความพึงพอใจและมั่นคงจะทำให้บุคคลไร้กังวล
ความต้องการความพึงพอใจ (satisfaction)
ความต้องการความพึงพอใจ (satisfaction)
ระบบความเป็นตนเอง
ซัลลิแวนเชื่อว่าระบบความเป็นตนเองนี้ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่วัยเด็กโดยพัฒนาจากการที่บุคคลประเมินการตอบสนองของผู้อื่นที่มีต่อตนในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบิดามารดา เด็กจำเป็นต้องพึ่งพิงบิดามารดา และจำเป็นต้องเอาอกเอาใจหรือทำให้บิดามารดาพอใจ ระบบความเป็นตนเองจึงพัฒนาจากกระบวนการแสวงหาความพึงพอใจทางกายและความมั่นคง
ปลอดภัยของบุคคล แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ไม่ใช่ฉัน (not-me) เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลสูง บุคคลจะปฏิเสธและจัดไว้ในประเภท"ไม่ใช่ฉัน" เช่น ผู้ใหญ่บางคนซึ่งเมื่อวัยเด็กถูกบังคับหรือควบคุมการแสดงออกในพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างเข้มงวด
อาจพูดกับใคร ๆ ว่า "ฉันไม่เคยเกลียดชังใครเลย การกระทำอย่างนั้นไม่ใช่ฉัน"
ฉันไม่ดี (bad-me) พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการยอมรับจากบิดามารดา หรือผู้เกี่ยวข้องจะก่อให้เกิดความวิตกกังวล และเด็กจะแยกแยะพฤติกรรมเหล่านั้นออกเป็นสิ่งไม่ดี เช่น ผู้ใหญ่บางคนซึ่งมีประสบการณ์การถูกทำโทษ
ในการรับประทานขนมหวานในวัยเด็กยังพูดถึง และจำได้ถึงความไม่ดีของการรับประทานขนมหวาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า บุคคลได้รับประสบการณ์การรับประทานขนมหวานว่าเป็นสิ่งไม่ดีและได้สะสมไว้ในความเป็นตนเองของบุคคลด้วย
ฉันดี (good-me)เด็กเรียนรู้ในการแสดงพฤติกรรมบางอย่างซึ่งได้รับการสนับสนุนเห็นด้วยจากบิดามารดาผู้ปกครอง และแยกแยะได้ว่าเป็นสิ่งที่ฉันทำดี เช่น เด็กจะเรียนรู้ว่าความสะอาดเป็นสิ่งที่ดี หากเด็กได้รับรู้จากบิดา
มารดาว่าพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเกี่ยวกับความสะอาดเป็นสิ่งที่ดี และต่อ ๆ ไปเด็กจะค่อย ๆ สะสมสิ่งที่ดีเหล่านั้นเข้าไว้ในตนเอง และก่อเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
พัฒนาการด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ซัลลิแวนสร้างทฤษฎีพัฒนาการที่เน้นความสำคัญของการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในวัยต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะ เขากล่าวว่า บุคลิกภาพมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จะเปลี่ยนแปลงมากในช่วงของการส่งผ่านระหว่างขั้นพัฒนาการในแต่ละวัย
ขั้นที่ 1 วัยทารก (Infancy)
ระยะแรกเกิดถึง 18 เดือน ขั้นตอนนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งทารก ระยะนี้ทารกสามารถฟังและพูดภาษาง่าย ๆ ได้ มีการพัฒนากระบวนการคิดในระดับการเชื่อมโยงระหว่างกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส (sensorimotor) ความคิดเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ ยังไม่เกิดขึ้น ทารกวัยนี้จึงยังไม่สามารถแยกแยะตนเองออกจากสังคม เป็นระยะที่เด็กเรียกร้องความรักความอบอุ่นและความต้องการจากบิดามารดาหรือคนเลี้ยงดู โดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไร
ขั้นที่ 2 วัยเด็ก (Childhood Stage)
ระยะ 18 เดือนถึง 6 ปี ขั้นตอนนี้เริ่มตั้งแต่เด็กสามารถฟังพูดได้ไปถึงระยะเวลา
ที่เด็กต้องการเพื่อนเล่นร่วมวัย เป็นระยะของการพัฒนาการพูดและการปรับปรุงการสื่อสารของเด็ก เด็กเริ่มรู้จักแยกแยะตนเองออกจากสังคม เริ่มรู้จักการรั้งรอเมื่อตนมีความต้องการ ส่วนสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเด็ก เด็กจะใส่ใจปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู ต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเล่นร่วมวัยอื่น ๆ (need for playmate)
ขั้นที่ 3 วัยก่อนวัยรุ่น (Juvenile Stage)
ระยะ 6 ปี ถึง 9 ปี ขั้นตอนนี้สังคมเด็กเริ่มกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เป็นระยะเวลาที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียนซึ่งมีกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกันมากมาย เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาททางสังคมมากขึ้นสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความต้องการสร้างสัมพันธภาพที่สนิทสนมคุ้นเคย (need for an intimate relation) กับกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกันเป็นหมู่พวกโดยไม่แยกเพศ (peer group) เด็กเริ่มเรียนรู้การเปรียบเทียบ การประนีประนอม และการให้ความร่วมมือ
ขั้นที่ 4 วัยแรกรุ่น (Preadolescent Stage)
ระยะ 9 ถึง 12 ปี เป็นระยะที่เด็กเริ่มรู้จักลดละการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentri-) มากขึ้นและมีความต้องการจะสร้างสัมพันธภาพที่สนิทสนมกับเพื่อนเพศเดียวกันเป็นรายบุคคล (need for a single best friend) ระยะนี้เป็นระยะสำคัญสำหรับการปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดในอดีต แต่หากความผิดพลาดเกิดในวัยแรกรุ่นแล้วจะยากต่อการแก้ไขในวัยผู้ใหญ่
ขั้นที่ 5 วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescent Stage)
ระยะ 12 ถึง 14 ปี เป็นระยะที่ลักษณะทุติยภูมิทางเพศเริ่มปรากฏ ความต้องการแสดงออกทางเพศ (need for sexual expression) จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของพลังพลวัตแห่งตัณหาราคะ และเป็นพลังผลักดันให้วัยรุ่นมีความกระหายใคร่รู้และปรารถนาที่จะมีกิจกรรมทางเพศในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะความรู้และกิจกรรมที่เกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ ระยะนี้จึงเป็นระยะแห่งการเตรียมพร้อมและพัฒนาทักษะความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศ
ขั้นที่ 6 วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescent Stage)
ระยะ 14 ถึง 21 ปี ผู้ที่มีวุฒิภาวะในการสร้างสัมพันธภาพที่สนิทสนมใกล้ชิดกับเพื่อนต่างเพศและแสดงออกซึ่งพลังพลวัตแห่งตัณหาราคะได้ ลักษณะเด่นของวัยรุ่นตอนปลายการมีแบบแผนของกิจกรรมทางเพศที่มั่นคงและมีกระบวนการคิดแบบสังเคราะห์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตคล้ายผู้ใหญ่
ขั้นที่ 7 วัยผู้ใหญ่ (Adult Stage). อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
ผู้ที่ผ่านพัฒนาการทั้ง 6 ขั้นตอนแรกมาเป็นอย่างดี จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางจิตใจ สามารถสร้างสัมพันธภาพที่มั่นคงกับ บุคคลอื่นและพัฒนากระบวนการคิดในการมองโลกที่สอดคล้องกลมกลืนกัน หากบุคคล ใดมีประสบการณ์ชีวิตใน 6 ขั้นตอนแรกไม่ดี ย่อมขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล ความขัดแย้งระหว่างบุคคลจะนำมาซึ่งความวิตกกังวลในการดำเนินชีวิต