Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งระดับของทฤษฏีการพยาบาล, นางสาวพัทธญาณี พึ่งผาสุก…
การแบ่งระดับของทฤษฏีการพยาบาล
1.ทฤษฎีเมตา (metatheory)
ลักษณะของทฤษฎี
ทฤษฎีชนิดนี้ไม่ได้มีองค์ประกอบของทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการพยาบาลทั่วไป แต่เป็นการกล่าวถึงประเด็นกว้างๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์เป้าหมายและชนิดของทฤษฎีที่ต้องการในการพยาบาล
นักวิชาการทางการพยาบาลบางท่านไม่นับทฤษฎีเมตา เป็นระดับหนึ่งของทฤษฎีทางการพยาบาลเนื่องจากไม่มีองค์ประกอบของทฤษฎี
มีความเป็นนามธรรมสูงที่สุด
2.ทฤษฎีระดับกว้าง (grand theory)
ลักษณะของทฤษฎี
มีความเป็นนามธรรมสูง และนำเสนอขอบเขตหรือมุมมองระดับกว้างเกี่ยวกับเป้าหมายและโครงสร้างของการปฏิบัติการพยาบาล
มีเป้าหมายที่แสดงถึงมุมมองหรือกระบวนทัศน์ที่ช่วยให้เข้าใจถึงมโนทัศน์และหลักการสำคัญในมุมมองทางการพยาบาลแต่ไม่ชัดเจน
เทียบเท่ารูปแบบแนวคิด ซึงเป็นแนวคิดกว้างๆ เกี่ยวกับบุคคล กลุ่มคน สถานการณ์ และเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจ
มีคุณค่ามาก เนื่องจากได้ให้แนวคิดที่บ่งบอกถึงขอบเขตของสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
ตัวอย่าง
ทฤษฎีของโรเจอร์ (Rogers,1970)
ทฤษฏีของคิง (King,1981)
ทฤษฎีระบบของนิวแมน (Neuman,1982)
ทฤษฏีการดูแลของวัตสัน (Watson,1985)
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม (Orem,1983)
4.ทฤษฎีระดับการปฏิบัติ (practice theory) หรือทฤษฎีระดับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง (situationspecific theory)
ลักษณะของทฤษฎี
แก่นสาระคือเป้าหมายของการปฏิบัติที่ต้องกาารให้เกิดขึ้น
เน้นปรากฎการณ์ทางการพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงที่สะท้อนถึงการปฏิบัติทางคลินิกและจำกัดกลุ่มเฉพาะผู้รับบริการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ตัวอย่าง
ทฤษฎีทางการพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการให้นมมารดา
ประสบการณ์หมดประจำเดือนในผู้หญิงอเมริกันเชื้อสายเอเชีย
รูปแบบการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่น
3.ทฤษฎีระดับกลาง (middle range theory)
ลักษณะของทฤษฎี
มีจำนวนมโนทัศน์ไม่มากและมีขอบเขตจำกัด
ให้แนวทางใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงหรือชัดเจนขึ้น
ตัวอย่าง
ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย (Mishel,1988)
ทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์ (Lenz,Pugh,Milligan,Suppe,&Gift,1997)
ทฤษฎีความสุขสบาย (Colcaba,2001)
นางสาวพัทธญาณี พึ่งผาสุก นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน รหัสนักศึกษา 646020110011