Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบ การพัฒนา การประเมินนวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนากระบวนการเรีย…
การออกแบบ การพัฒนา การประเมินนวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนและผู้เรียน
การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้
เป็นกิจกรรมสาคัญของครู
ต้องใช้ทั้งความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอน การจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีสำคัญ การผลิตและการใช้สื่อ ทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและประสบการณ์การสอนที่ช่วยให้ครูรู้ว่า/กิจกรรม/สื่อ/เครื่องมือวัดผลที่ใช้ได้ผลหรือไม่
มีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการเรียนของครูเหมาะสม สอดคล้องกับผู้เรียน บริบท และจุดประสงค์การเรียนรู้มากขึ้น
ความหมายของการออกแบบ
กระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือสร้างบางสิ่งบางอย่าง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง
เมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการเรียนการสอนซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งของผู้เรียน มุ่งผลการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงต้องออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทการเรียนการสอน
การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่นิยม
ADDIE Model
เป็นรูปแบบที่ง่ายและมีขั้นตอนการลงมือปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถนำไปใช้กับการออกแบบและการพัฒนาสื่อหลายรูปแบบโดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอน
เป็นแบบจำลองที่พัฒนาให้กับกองทัพของสหรัฐอเมริกาในปี 2518 โดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (A: Analysis)
เป็นการทำความเข้าใจปัญหาการเรียนการสอน เป้าหมายของรูปแบบการสอนและวัตถุประสงค์ที่จะสร้างขึ้นตลอดจนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียน
ขั้นที่ 2 การออกแบบ (D: Design)
โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
กำหนดวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมสื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบทเรียน
กำหนดโครงร่างและลำดับของเนื้อหานวัตกรรมสื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์บทเรียน
กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้และกลยุทธ์
กำหนดเกณฑ์การประเมินผล (สอดคล้องกับจุดประสงค์ของนวัตกรรมสื่อ กิจกรรม และเนื้อหา)
กำหนดแผนผังแสดงลาดับการนำเสนอบทเรียน ตั้งแต่ต้นจนจบ
ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (D: Development)
สามารถดำเนินการพัฒนาสื่อตามลำดับต่อไปนี้
การเขียนบท/Storyboard
การสร้างงานกราฟิก โปรแกรมนำเสนอแฟ้มเสียง และวีดิทัศน์ประกอบบทเรียน
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสื่อ
การทดสอบการทำงานของนวัตกรรมสื่อ
การประเมินผลระหว่างทาง (Formative Evaluation)
ขั้นที่ 4 ขั้นการนำไปใช้หรือดำเนินการ (I: Implementation)
ขั้นของการสอนโดยอาจจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน/การฝึกอบรม/ห้องทดลอง/รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์
จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (E: Evaluation)
ประกอบด้วยสองส่วน
การประเมินผลรูปแบบ (Formative)
การนำเสนอในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ADDIE ซึ่งเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา
การประเมินผลในภาพรวม (Summative)
ทำเมื่อการสอนเสร็จสิ้นเพื่อประเมินผลประสิทธิผลของการสอนทั้งหมด
ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอน/เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมสื่อการสอนตามเกณฑ์
ADDIE Model กับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแสดงความสามารถการนาเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
ความสามารถในการอธิบาย
ความสามารถในการแปลความ
ความสามารถในการประยุกต์ใช้
ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย
ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
ความสามารถในการเข้าใจตนเองผู้เรียนมีความใส่ใจพร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
TPACK Model
องค์ประกอบ 3 ด้าน
ความรู้ด้านเทคโนโลยี (TK: Technological Knowledge)
ความรู้ด้านการสอน (PK: Pedagogical Knowledge)
ความรู้ด้านเนื้อหา (CK: Content Knowledge)
ถูกพัฒนาโดย Misha and Koehler ซึ่งพัฒนาต่อยอดขึ้นมากจาก Pedagogical Content Knowledge หรือ PCK โดย Shuman
มีวัตถุประสงค์หลักคือการที่จะทำให้ครูผู้สอนสามารถบูรณาการเลือกใช้และผลิตสื่อนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อให้มีความสอดคล้องกันกับหลักทฤษฎีการสอนและ เนื้อหาวิชาที่สอน
ย่อมาจาก Technological Pedagogical Content Knowledge
มีความสัมพันธ์กัน 7 ประการ
TK -Technological Knowledge (ความรู้ด้านเทคโนโลยี )
ความรู้ความสามารถของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์
PK- Pedagogical Knowledge (ความรู้ด้านกระบวนทัศน์การสอน)
ผู้สอนที่รู้ถึงกลยุทธ์และวิธีในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมไปถึงกลยุทธ์/กระบวนการ/การปฏิบัติ/วิธีการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน (ในส่วนนี้ไม่ร่วมถึงทฤษฎีการศึกษาและวิธีการประเมิน)
CK - Content Knowledge (ความรู้ด้านเนื้อหาวิชา)
3.1 ความรู้ความเข้าใจด้านตัวองค์ความรู้ ซึ่งต้องมีความถูกต้องและทันสมัย
3.2 ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความรู้และการสืบเสาะเพื่อให้มาซึ่งความรู้นั้น ๆ
PCK - Pedagogical Content Knowledge (ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอน)
ความรู้ในกระบวนทัศน์การสอน/รูปแบบ/แนวทางการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาเฉพาะเจาะจงในวิชาใดวิชาหนึ่ง
TCK - Technological Content Knowledge (ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอน)
ความรู้/ความเข้าใจ/การใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายน่าสนใจ และเหมาะสมกับการสอนเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงนั้น ๆ
TPK - Technological Pedagogical Knowledge (ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี)
ความเข้าใจว่าการสอนและการเรียนรู้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงความรู้/เทคนิค/วิธีการในการสอนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความสามารถ/ข้อจำกัดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการสอน
TPACK - Technological Pedagogical Content Knowledge (ความรู้ด้านกระบวนทัศน์ผนวกเนื้อหาวิชาและเทคโนโลยี)
การบูรณาการความรู้/ความสามารถ/ทักษะการผสมผสานในการใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีกับวิธีสอน/เนื้อหาในการออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
ASSURE Model
เป็นรูปแบบของการวางแผนหรือการออกแบบระบบการเรียนการสอนโดยเน้นการใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ
เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
มีรายละเอียดขั้นตอนการเลือกและการใช้สื่อ 6 ขั้นตอนดังนี้
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (A: Analyze Learners)
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์
ทักษะที่มีมาก่อน (Prerequisite Skills)
ทักษะเป้าหมาย (Target Skills)
ทักษะในการเรียน (Study Skills)
ทัศนคติ (Attitudes)
การกาหนดวัตถุประสงค์ (S: State Objectives)
การตั้งหรือกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนเพื่อ
ช่วยผู้สอนในการจัดลำดับกิจกรรมการเรียนและสร้างสิ่งแวดล้อม/ประสบการณ์การเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น
ช่วยในการประเมินผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรือกระทำอะไรได้บ้างการกำหนดวัตถุประสงค์
ควรประกอบด้วย
การกระทำ (Performance)
เงื่อนไข (Conditions)
เกณฑ์ (Criteria)
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
3 more items...
การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่ (S: Select Instructional Methods, Media,
and Materials)
สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน
เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
การออกแบบสื่อใหม่
การใช้สื่อ (U: Utilize media and materials)
มีขั้นตอนที่สาคัญอยู่ 4 ขั้นตอน
4.1 การเตรียมตัวศึกษา/ดู/อ่านเนื้อหาในสื่อ/ทดลองใช้ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้
4.2 การเตรียมสภาพแวดล้อม/จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
4.3 การเตรียมผู้เรียนให้พร้อม
4.4 การนำเสนอ/ควบคุมชั้นเรียน
การประเมินผลหรือการประเมินการใช้สื่อ (Evaluate and revise)
สามารถทำได้ 3 ลักษณะ
การประเมินผลกระบวนการสอน
การประเมินผลสื่อและวิธีการสอน
การประเมินผลความสำเร็จของผูเรียน
การกาหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require learner participation)
การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด
ยลดา ชัยลังกา 64853410