Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรฐานการแปรในเเต่ละยุค - Coggle Diagram
มาตรฐานการแปรในเเต่ละยุค
ยุคการแปลพุทธคัมภีร์
การแปลของจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์โจว ขุนนางที่ทำหน้าที่ต้อนรับราชทูตจากต่างแดนและเป็นล่ามเรียกว่า เซี่ยงซีว์ 象胥 หรือเสอเหริน 舌人
นักแปลท่านแรกที่ถกเกี่ยวกับมาตรฐานการแปลของจีนได้แก่ จือเชียน
จือเชียนใช้ถ้อยคำสละสลวยมากกว่าตรงตามต้นฉบับ เป็นไปได้ว่าใจจริงแล้ว จือเชียนสนับสนุนการแปลให้สละสลวย
-
มาตรฐานการแพร่ของจีนเข้าหน้าขึ้นในยุคของพระกุมารชีพ 鸠摩罗什 การเสนอให้ผสมผสานการแปลโดยอรรถ และการแปลโดยพยัญชนะเข้าด้วยกันนอกจากนั้นยังบัญญัติศัพท์สำหรับแปลคำในพุทธศาสนาขึ้นใหม่จำนวนมาก
การแปรพุทธคัมภีร์เจริญสูงสุดในราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ที่น่าสนใจคือทฤษฎีความพร้อม ๘ ประการ ของพระเยี่ยนฉง 彦琮
-
การแปลพุทธคัมภีร์ในประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ถัง นักแปลที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ พระเสวียนจั้ง 玄奘พระเสวียนจั้งมีคุณูปการ ในด้านการแปลเป็นอย่างมากท่านไม่ยึดติดว่าจะต้องใช้การแปลโดยพยัญชนะหรือการแปรโดยอรรถ
สมัยราชวงศ์ซ่ง มีการแปลพุทธคัมภีร์อยู่บ้างแต่ไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนดั่งในสมัยถัง พอถึงราชวงศ์ซ่งใต้ก็ไม่พบการแปลคัมภีร์ในบันทึกประวัติศาสตร์ สมัยราชวงศ์หยวนมีการแปรพุทธคัมภีร์ภาษาฮั่น และภาษาสันสกฤตเป็นภาษามองโกล
ยุคการแปลหนังสือตะวันตก
การแปรพุทธคัมภีร์ในสมัยราชวงศ์หมิงเสื่อมโทรมลง
นับแต่ปลายยุคราชวงศ์หมิงเป็นต้นมาการแปลในประเทศจีนก้าวหน้ามาก
เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ชิงมาตรฐานการแปลก้าวหน้าขึ้นมากที่น่าสนใจได้แก่ทฤษฎีของ หม่าเจี้ยนจงและเหยียนฟู่
ในประวัติศาสตร์การแปลจีนมีนักแปลผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งที่อยู่ร่วมยุคกับเหยียนฟู่ ได้แก่ หลินซู 林纾 หลินซู ไม่รู้ภาษาต่างประเทศแต่แปลวรรณกรรมต่างประเทศเป็นภาษาจีนกว่า หนึ่งร้อยแปดสิบเรื่อง หลินซูเป็นผู้เขียนเรียบเรียงสำนวนภาษาขึ้นใหม่โดยมีการแก้ไขดัดแปลง ตัดทอนข้อความให้เข้ากับผู้อ่านชาวจีน
ยุคการแปลเป็นภาษาสามัญ
หูซื่อ 胡适
นักวิชาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการปฏิรูปวรรณกรรมของจีน หูซื่อได้เขียนบทความลงในวารสารยุวชนใหม่ 新青年 เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๘ เสนอให้มีการแปลวรรณกรรมจีนต่างประเทศ เป็นภาษาจีนจำนวนมาก หูซื่อเสนอทัศนะสำคัญ สองประการในการแปล กล่าวคือ ต้องเลือกแปลวรรณกรรมเอก ไม่แปลวรรณกรรมชั้นรอง และให้ใช้ภาษาสามัญในการแปล
หลู่ซวิ่น 鲁迅
บิดาแห่งวรรณกรรมใหม่ของจีน ได้เสนอมาตรฐานการแปลไว้และส่งผล ต่อวงการแปลของจีนอย่างมาก หลู่ซวิ่นให้ความสำคัญทั้งความถูกต้องและความสละสลวย “การแปลนั้นต้องให้ความสำคัญสองด้าน หนึ่งคือ พยายามทำให้อ่านเข้าใจง่าย สองคือรักษารสของต้นฉบับ”
เหมาตุ้น矛盾
เป็นผู้บรรยายสรุปในหัวข้อ “ต่อสู้เพื่อพัฒนาวงการแปลวรรณกรรมและยกระดับคุณภาพ”เหมาเจ๋อตง 毛泽东
สนับสนุนทัศนะของหลู่ซวิ่น และเห็นว่าการแปลงานเขียนทฤษฎี สามารถใช้วิธีแปลตรงได้ แสดงให้เห็นว่า ในทัศนะของเหมาเจ๋อตง การแปลตรงเป็นสื่งที่พึงกระทำ
ฟู่เหลย傅雷
ฟู่เหลยมองว่าการแปลเป็นอาชีพศักดิ์สิทธิ์ ผู้แปลต้องเข้าใจผู้เขียนและต้นฉบับอย่างลึกซึ้ง ต้องสามารถถ่ายทอดต้นฉบับสู่ฉบับแปลให้ผู้อ่าน
อ่านแล้วเข้าถึงต้นฉบับได้
เฉียนจงซู钱钟书
นักวิชาการชื่อดังของจีน มาตรฐานการแปลของเฉียนจงซูสูงมาก เปรียบเสมือนการกลับชาติมาเกิด คือเปลี่ยนร่างกาย แต่ยังคงรักษาจิตวิญญาณไว้ โดยฉบับแปลต้องซื่อสัตย์กับต้นฉบับ จนถึงขั้นที่ดูไม่ออกว่าเป็นฉบับแปล