Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
UTI - Coggle Diagram
UTI
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection : UTI) คือโรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติด เชื้อแบคทีเรียโดยจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้การติดเชื้อจะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้เช่น ไตกระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะและสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้อาจเป็นได้อย่างเฉียบพลน หรือเรื้อรังการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ซบัซ้อน (uncomplicated UTI) คือการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยมีหน้าที่หรือโครงสร้างของระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สำคัญคือแบคทีเรียซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยมีกลไกการติดเชื้อคือแบคทีเรียดังกล่าวมีการเคลื่อนที่จากลำไส้มาปนเปื้อนบริเวณส่วนนอกของรูก้น จากนั้นเข้าสู่บริเวณช่องเปิดของท่อปัสสาวะ และเคลื่อนขึ้นไปตามท่อปัสสาวะ เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะท่อไต และไต และทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะที่เคลื่อนไปถึง นอกจากนั้นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออาจมาจากกระแสเลือดในผู้ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดนำมาก่อน หรือมาจากการติดเชื้อของอวัยวะใกล้
ปัจจัยเสี่ยง
โดยปกติร่างกายมีกลไกในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สำคัญคือการไหลของน้ำปัสสาวะ ออกสู่นอกร่างกายตามแรงโน้มถ่วงของโลกในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ทั้งนี้การไหลออกของน้ำปัสสาวะ จะช่วยขับเอาเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนออกสู่นอกร่างกาย ดังนั้นหากมีความผิดปกติใด ๆ ของการไหลออกของ ปัสสาวะ เช่น การอั้นปัสสาวะ การมีนิ่วหรือเนื่องอกอดีตนในทางเดินปัสสาวะการทำงานบีบตัวเพื่อขับปัสสาวะ ของท่อไต หรือกี่ระเพาะปัสสาวะที่ผิดปกติ ความผิดปกติของโครงสร้างของไต ท่อไตกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงไม่สามารถลุกขึ้นมาปัสสาวะได้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะ สาเหตุที่ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น กว่าของผู้ชาย ซึ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียเคลื่อนจากบริเวณช่องเปิดของท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายและเร็วกว่า
-
-
การรักษา
การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ใน ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ไม่รุนแรงและมีอาการน้อย แพทย์จะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก สามารถ กลับบ้านได้ และให้ยาปฏิชีวนะในรูปกิน ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาคือประมาณ 3-7 วันขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของการติดเชื้อและการตอบสนองต่อการรักษา ส่วนในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ไต หรือมีอาการที่รุนแรง แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล่ และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาประมาณ 10 - 14 วันขึ้นกับ การตอบสนองต่อการรักษา
-
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะ บ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ น้ำปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน และปวดท้องน้อย แต่ถ้าการติดเชื้อนั้น ลามขึ้นไปตามท่อไตจนถึงไต ผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง บริเวณสีข้าง และถ้าเป็นรุนแรงมาก อาจมีความดันโลหิตต่ำ ซึมลงและหมดสติได้
-