Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติเเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ (INFECTIVE ENDOCARDITIS) - Coggle Diagram
การติเเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ
(INFECTIVE ENDOCARDITIS)
Native valve endocarditis (Native valve IE)
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น valve regurgitation, rheumatic heart disease และอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเสื่อมของลิ้นหัวใจตามอายุ ซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่ตามมา เช่น aortic stenosis, mitral regurgitation เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ staphylococci, streptococci, viridians streptococci, enterococci และ HACEK organisms
Prosthetic valve endocarditis (Prosthetic valve IE)
การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจเทียม แบ่งออกได้ 2 ระยะ คือ ภายในช่วง 60 วัน ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้น ซึ่งเรียกว่า early onset และภายหลัง 2 เดือนไปแล้วจนถึงนานกว่า 12 เดือน ซึ่งเรียกว่า late onset เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุในช่วงแรกมักเป็น Coagulase negative staphylococci (S.epidermidis) หรือ S.aureus สำหรับในช่วง late infection มักเกิดจากstreptococci และ HACEK organisms
Nosocomial infective endocarditis
มี predisposing factors ในการเกิด IE โดยการใส่สายสวนคาที่หลอดเลือดดำ (venouscatheter) หัตถการต่าง ๆ และการผ่าตัดในโรงพยาบาล เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ เชื้อที่สำคัญ ได้แก่ coagulasenegative staphylococci, S.aureus, enterococci และ MRSA
Infective endocarditis in intravenous drug user (IDU infective endocarditis)
พบการติดเชื้อบ่อยที่สุดเรียงตามลำดับดังนี้ คือ tricuspid valve, aortic valve, mitral valve เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่มาจากผิวหนัง เช่น S.aureus ในผู้ป่ วย IVDU ที่มีประวัติ HIV อาจพบ Pseudomonas aeruginosa, Salmonella spp.,Listeria spp., และเชื้อรา เป็นต้น
พยาธิวิทยา
การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ มีลักษณะจำเพาะ คือ พบรอยโรคที่ประกอบด้วยกลุ่มของเกล็ดเลือด ไฟบริน และเชื้อก่อโรคที่หลุดเข้ามาในกระแสเลือด เช่น จากมีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือร่างกายมีการติดเชื้อต่างๆ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจที่พบบ่อยที่สุดคือ s. viridans และ S. aureus เข้ามาจับและเพิ่มจะจำนวนขึ้นมาจำนวนมากจนเกิดเป็นก้อนขึ้นมาเรียกว่า vegetation
สาเหตุของเยื่อบุหัวใจอักเสบ
สาเหตุของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่ติดเชื้อ
โรคมะเร็ง
จากโรคAutoimmune /โรคภูมิต้านตนเอง
โรคปอดเรื้อรังที่ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (Hypoxia)
โรคเลือดชนิดที่เลือดมีการแข็งตัวได้ง่ายกว่าปกติมาก (Hypercoagulability)
สาเหตุของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ เกือบทั้งหมด มักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้อยพบติดเชื้อราได้บ้างซึ่งมักพบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่ใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นโดยใช้เข็มที่ไม่สะอาดพอ เป็นเหตุให้เชื้อโรคเข้าในกระแสโลหิตได้
อาการและอาการแสดงทางคลินิก
1. Acute bacterial endocarditis (ABE)
มักมีการดา เนินโรคอย่างรวดเร็ว มีไข้สูง มีการทา ลายของลิ้นหัวใจอย่างรวดเร็ว หัวใจวายรุนแรงรวดเร็วมากจากการฉีกขาดของตัวลิ้น และทำให้เกิดการรั่วของลิ้นอย่างรุนแรง พบการแพร่กระจายของเชื้อไปตามกระแสเลือด ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 6 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการรักษา
2. Subacute bacterial endocarditis (SBE)
ผู้ป่วยมักมีอาการแบบไม่เฉพาะเจาะจง มีกลุ่มอาการ (constitutional symptoms) ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น เหงื่อออก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้าหนักลด มีเหงื่อออกตอนกลางคืน อาจมีอาการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้หรืออาการที่บ่งถึงภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว นอกจากนี้ อาจพบอาการปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการทางระบบประสาทสับสน มึนงง ไม่รู้สึกตัว
แนวทางการตรวจรักษา
แนวทางรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่ติดเชื้อ คือ การรักษาสาเหตุ
แนวทางรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ คือ การรับผู้ป่ วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ส่งตรวจ Hemoculture ทุกครึ่งชั่วโมง × 3 ครั้งโดยจา เป็นต้องให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดา ซึ่งขึ้นกับชนิดของการติดเชื้อ
การรักษาด้วยบอลลูน (Percutaneous Balloon mitral valvulotomy, PBMV) เป็นการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ โดยการใส่สายสวนที่มีบอลลูน เข้าทางเส้นเลือดดำ ที่ขาหนีบและสอดบอลลูนนี้ไปถึงลิ้นที่ตีบ และขยายลิ้นโดยบอลลูนนั้น
หลักการใช้ยาต้านจุลชีพสาหรับ infective endocarditis
เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่เจริญใน vegetation มีการเจริญเติบโตช้า มี metabolic rate ต่า และการเข้าถึงของระบบภูมิคุ้มกันที่จะเข้าไปทำลายเชื้อค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ควรเลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์เป็น bactericidal โดยให้ระดับยาสูงเพียงพอที่จะเข้าไปยัง vegetation ได้
การเลือกยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม ควรพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ชนิดของเชื้อก่อโรค ระดับความ
ไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพนั้น ๆ ค่าทางเภสัชจลนศาสตร์ของยา และสภาวะการทำงานของไตของผู้ป่วย
ควรประเมินผลการรักษาโดยตรวจเลือดซ้ำใน 48-72 ชั่วโมงหลังการเริ่มยาต้านจุลชีพ หากยาต้านจุลชีพที่
เลือกใช้มีความเหมาะสม ไข้ควรจะลดลงใน 3-5 วันหลังเริ่มยา
คำแนะนำการดูแลตนเองที่สำคัญ
ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัด ซึ่งผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อเมื่อเกิดแผล เช่น กรณีถอนฟัน เป็นต้น โดยต้องกินให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยาเนื่องจากอาจทำให้เชื้อดื้อยา
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรงลดโอกาสติดเชื้อ
รักษาสุขภาพฟัน เหงือกและช่องปาก และพบทันตแพทย์เสมอ
การดูแลตนเองป้องกัน รักษา ควบคุมโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เลิกใช้สารเสพติด เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกชนิด ระมัดระวังในเรื่องความสะอาด ในการสักผิวหนัง หรือการเจาะผิวหนังต่าง ๆ หรือเมื่อมีการติดเชื้อต่างๆ เช่น มีบาดแผลหรือมีไข้สูง และไข้ไม่ลงหลังการดูแลตนเองภายใน 1-3 วัน ควรรีบไปโรงพยาบาล