Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ANC case ที่ 8
G1P0 GA 18 สัปดาห์ by u/s, การพยาบาลระยะตั้งครรภ์,…
-
การพยาบาลระยะตั้งครรภ์
-
1.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสแก่สตรีตั้งครรภ์และสามีก่อนตรวจคัดกรองซิฟิลิสโดยอธิบายความสำคัญของการตรวจและวิธีการตรวจ ความสำคัญ ของการตรวจคัดกรองเป็นคู่ อธิบายประโยชน์ของสตรีตั้งครรภ์และบุตรในการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสและอธิบายกรณีผลตรวจคัดกรองเป็นบวกต้องมีการตรวจซ้ำเพื่อยืนยัน
- คัดกรองโรคซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก โดยการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซิฟิลิส และตรวจร่างกายเพื่อดูอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อซิฟิลิสและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ทำความเข้าใจเรื่องการตรวจโรคซิฟิลิสและอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องตรวจซ้ำด้วยวิธี Treponema test ทำความเข้าใจกับสตรีตั้งครรภ์และสามีเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดระหว่างสตรีตั้งครรภ์และสามี และอธิบายความสำคัญของการชวนสามี/คู่เพศสัมพันธ์มาตรวจเพื่อทำการรักษาต่อไป แนะนำไม่ให้ใช้เครื่องใช้ร่วมกัน
4.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ทราบว่าซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายได้ รวมถึงอธิบายวิธีการรักษา อาการข้างเคียงของยา
และการปฏิบัติตัวขณะรักษารวมถึงผลกระทบของโรคซิฟิลิสที่ส่งผลต่อบุตร ป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยหรืองดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสติดตามประเมินสภาพจิตใจ สัมพันธภาพกับสามี/คู่เพศสัมพันธ์ทุกครั้งเมื่อมาฝากครรภ์และติดตามการรักษาโดยสอบถามอาการข้างเคียงจากได้รับการรักษา ติดตามผลการรักษาของแพทย์ และประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของสตรีตั้งครรภ์และสามีระหว่างการรักษาและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจครรภ์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงที่พบบ่อยในทารก เช่น ทารกบวมน้ำ ทารกตับและม้ามโต ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือตายคลอด ทารกโตช้าในครรภ์ การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
- ดูแลส่งต่อสตรีตั้งครรภ์พบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์ ดูความผิดปกติของทารกจากโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด
8.หากสตรีตั้งครรภ์ให้ประวัติว่าทารกดิ้นน้อยลง ตรวจพบเสียงหัวใจทารกผิดปกติหรือการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Non stress test) ผิดปกติ ส่งพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป
- ให้คำแนะนำสตรีตั้งครรภ์ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและทารกในครรภ์ได้ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว ได้แก่ ผลกระทบของการติดเชื้อซิฟิลิสต่อมารดา โดยเชื้อซิฟิลิสอาจทำให้การดำเนินโรครุนแรงจนเกิดซิฟิลิสระบบประสาทได้หากไม่ได้รับการรักษา และอธิบายการแพร่กระจายเชื้อซิฟิลิสสู่ทารกรวมถึงผลกระทบของโรคที่อาจส่งผลต่อทารก และอธิบายการแพร่กระจายเชื้อซิฟิลิสสู่บุคคลอื่น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางผิวหนัง การได้รับเลือด เป็นต้น
- นัดสตรีตั้งครรภ์เพื่อติดตามผลภายหลังจากได้รับการรักษา โดยติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการรักษาของแพทย์ และปฏิกิริยาภายหลังได้รับยา
Benzathine G 2.4 MU IM
-
ภายหลังจากได้รับยาอาจพบปฏิกิริยาจาริช-เฮิร์กไซเมอร์ ในวันแรกของการรักษาอาจมีอาการที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่ มดลูกหดรัดตัวถี่ ทารกดิ้นน้อยลง อัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลง เป็นต้น รวมถึงอาการแสดงอื่นๆ เช่น มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อและข้อกระดูก ปวดศีรษะ เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-2 วัน ภายหลังแสดงอาการ ข้อมูลจาก : แนวปฏิบัติการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ขององค์การอนามัยโลก
มารดมีน้ำหนักน้อยขณะตั้งครรภ์ คาดว่าทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
-
-
-
-
ทารกที่ติดเชื้อมักแสดงอาการในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ เช่น ซีด เกร็ดเลือดต่ำ มีน้ำในช่องท้อง หรือบวมน้ำได้ ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะตัวเหลือง จุดเลือดออกตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โปรตีนรั่วทางไต หรือพบความผิดปกติที่กระดูก ข้อมูลจาก : ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ลักษณะทางคลินิกของ Syphilis
ระยะที่ 1 (Primary syphilis) พบแผลริมแข็ง (Chancre) ที่อวัยวะเพศมักจะเป็นแผลสะอาด พื้นสีแดง แผลเดียว ขอบแข็งยกนูน อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตได้ แผลสามารถหายเองได้ใน 2-8 สัปดาห์
ระยะที่ 2 (Secondary syphilis) เกิดจากเชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ลักษณะที่พบ เช่น ผื่น (Macular rash) กระจายทั่วไป พบได้ร้อยละ 90 ผื่น (Targeted lesion) ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ผมร่วงเป็นหย่อม ตุ่มนูน (Condyloma lata) ที่บริเวณอวัยะเพศ นอกจากนี้อาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วยได้ อาการเหล่านี้จะพบ 4-10 สัปดาห์ หลังจากพบแผลริมแข็ง (Chancre)
ระยะแฝง (Latent syphilis) เกิดขึ้นเมื่อ Primary หรือ Secondary syphilis ไม่ได้รับการรักษา แต่อาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นสามารถหายไปได้เอง อย่างไรก็ตามยังคงตรวจพบการติดเชื้อได้จากการตรวจเลือด หากเกิดภายใน 12 เดือน หลังจากมีอาการทางคลินิก เรียก Earty latent แต่หากนานกว่า 12 เดือน หรือไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอน เรียก Late latent ซึ่งมักจะเป็นระยะที่ตรวจพบในสตรีตั้งครรภ์
ระยะที่ 3 (Tertiary syphilis) เป็นระยะที่โรคดำเนินไปอย่างช้าๆ เกิดขึ้นที่อวัยวะใดก็ได้ อย่างไรก็ตามไม่ค่อยพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์
ข้อมูลจาก : ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
-
-
ข้อมูลจาก : ณัฏยา อ่อนผิว, พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน และพยอม สินธุศิริ, 2563
-
-
-
ข้อมูลจาก : ณัฏยา อ่อนผิว, พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน และพยอม สินธุศิริ, 2563
-