Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ตา หู คอ จมูก - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ตา หู คอ จมูก
โรคทางหู
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
1.ถ้าเป็นแมลงหรือมดเข้าหูให้หยอดหูด้วยน้ำอุ่น น้ำมะพร้าว น้ำมันมะกอกน้ำมันถั่วเหลืองหรือกลีเซอรีนโบแรกซ์ ตัวแมลงมักจะตาย และอาจลอยขึ้นมาได้เอง
ถ้าเป็นสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ไม่มีชีวิตให้เอียง หูข้างนั้นลงต่ำแล้วเคาะที่ศีรษะเบา ๆ ถ้าเป็นสิ่งของเล็กๆ อาจหลุดออกมาได้
3.ถ้าลองปฏิบัติดังกล่าวแล้วไม่ได้ผลอย่าพยายามใช้นิ้วไม้แคะหูหรือสิ่งของอะไรแคะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมถูกดันลึกเข้าไปหรือทำให้เยื่อแก้งหูทะลุได้ควรใช้ลวดหนีบกระดาษเขี่ยออกถ้าทำไม่ได้ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อใช้เครื่องมือช่วยคีบออก
ขี้หูอุดตัน
ขี้หูอุดตัน (Cerumen Impaction/Impacted Earwax) คือ ภาวะที่เกิดจากการสะสมของขี้หูบริเวณหูชั้นนอก เมื่อเวลาผ่านไปจึงทำให้ขี้หูมีลักษณะแห้งและแข็งจนไม่สามารถหลุดร่วงได้เองตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดการอุดตันภายในรูหูตามมา
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้ขี้หูมีปัญหาคือ การใช้ไม้พันสำลี ทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำ แล้วมีน้ำเข้าหู ซึ่งทำให้รู้สึกรำคาญ การกระทำดังกล่าวจะยิ่งกระตุ้น ทำให้ต่อมสร้างขี้หู ทำงานมากขึ้น มีปริมาณขี้หูที่ผลิตออกมามากขึ้น และยิ่งดันขี้หูในช่องหูให้อัดแน่นยิ่งขึ้น ทำให้ขี้หูอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น เมื่อสงสัยว่ามีขี้หูอุดตัน ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู
อาการ การได้ยินเสียงแว่วเกิดจากการมีขี้หูจำนวนมากสะสมอุดตันอยู่ในช่องหูจนหลุดร่วงออกมาเองไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อขี้หูพองตัวจากการเปียกน้ำ หรือเป็นขี้หูที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ก้อนขี้หูที่อุดตันจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตื้อ ๆ ในช่องหู ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงขึ้น ก็อาจทำให้หูตึง ได้ยินเสียงไม่ชัด หรือเกิดเสียงแว่วในหูได้
การรักษาขี้หูอุดตัน ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู เช่น หูอื้อ ปวดหู การได้ยินลดลง (โดยเฉพาะอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นฉับพลันหลังเล่นน้ำหรือมีน้ำเข้าหู และเป็นอยู่นานเป็นวัน ๆ) ถ้าเป็นไปได้ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะอื่น ๆ เช่น หูชั้นนอกอักเสบจากการติดเชื้อ ประสาทหูอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากภาวะเหล่านี้มีความรุนแรงมากกว่าภาวะขี้หูอุดตัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ประสาทหูเสื่อมถาวร เป็นต้น
หูน้ำหนวก
โรคหูน้ำหนวก หมายถึงการอักเสบของหูชั้นกลาง ซึ่งเป็นกันมากในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากประชาชนจำนวนมากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การป้องกันไม่ให้เกิดโรค และ การรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
น้ำหนวก คือน้ำที่ไหลออกจากรูหู มีลักษณะใส หรือเป็นเมือกขุ่นข้นมีกลิ่นเหม็น
อาการ ภาวะหูน้ำหนวกแบ่งออกเป็น เกิดจากการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ซึ่งมักมาด้วยอาการปวดหู หูอื้อ การได้ยินลดลง มีน้ำหนองไหลจากหู หรือในบางรายพบว่ามีไข้สูง เกิดจากการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมาด้วยอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง มีน้ำหนองไหลจากหูเรื้อรังเป็นๆหายๆ มักไม่ค่อยมีอาการปวดหู แต่หากมีอาการปวดร่วมด้วยมักพบว่ามีภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ หากเยื่อแก้วหูมีรูทะลุร่วมด้วยแพทย์อาจให้ยาหยอดหูร่วมด้วยขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นอาจได้รับการผ่าตัด
ส่วนในรายที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง หากตรวจพบว่ายังมีหนองไหลอยู่แพทย์จะดูดหนองทำความสะอาดหู ให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาหยอดหู หากอาการไม่ดีขึ้นอาจได้รับการผ่าตัด แต่ในกรณีที่หูแห้งดีแล้วไม่มีน้ำหนองไหลจากหู แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดปะแก้วหูเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำและช่วยให้การได้ยินดีขึ้น
โรคทางจมูก
มะเร็งในโพรงจมูก
มะเร็งโพรงจมูก เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อโพรงจมูกหรือพื้นที่ข้างหลังจมูกและโพรงอากาศเล็ก ๆ ข้างจมูก โหนกแก้มและหน้าผาก มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติหรือมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเซลล์ ความเปลี่ยนแปลงนี้จะก่อให้เกิดเนื้อร้ายที่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ แต่บางครั้งการเซลล์ที่ผิดปกติก็ไม่ได้เป็นเนื้อร้ายเสมอไป
ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกอาจไม่แสดงอาการตั้งแต่แรก ๆ เนื่องจากโพรงจมูกมีลักษณะค่อนข้างกว้างซึ่งเนื้องอกอาจขยายได้เรื่อย ๆ อาการอาจปรากฏออกมาเมื่อมะเร็งเจริญเติบโตไปรอบ ๆ หรือใหญ่จนปิดกั้นโพรงจมูกแล้ว อาการทั่วไปที่พบได้บ่อยคือคัดจมูกหรือน้ำมูกไหลข้างเดียวแม้ผู้ป่วยจะไม่ได้เป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ อาการจะคงอยู่เป็นเวลานานและแย่ลงเรื่อย ๆ อาการอื่น ๆ ของมะเร็งโพรงจมูกค่อนข้างที่จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งนั้นเริ่มมาจากส่วนไหน
มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ในโพรงจมูกและโพรงอากาศข้างจมูกเกิดความผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง แต่ยังไม่การยืนยันแน่ชัดว่าสาเหตุของมะเร็งโพรงจมูกคืออะไร ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งโพรงจมูกได้มีหลายประการ เช่น การสัมผัสหรือสูดดมสารเคมีที่ส่งผลให้เซลล์พัฒนาเป็นมะเร็งได้
การรักษา การผ่าตัด
การผ่าตัดมะเร็งโพรงจมูกทำได้ทั้งผ่าตัดแบบเปิดและผ่าตัดส่องกล้อง มักทำในกรณีที่เนื้องอกอยู่ในระยะแรก ๆ ยังกระจายตัวไม่มาก แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดหรืออาการต่าง ๆ โดยกำจัดเนื้องอกที่ขัดบริเวณโพรงจมูกและโพรงอากาศของจมูกออก รวมไปถึงการกำจัดเอาเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบ ๆ ออกไปด้วยในบางกรณี การบำบัดด้วยรังสี (Radiation Therapy)
เป็นการรักษาโดยใช้รังสีพลังงานสูงในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ลดขนาดเนื้องอกก่อนการผ่าตัดหรือทำลายเนื้องอกเล็กน้อยที่อาจหลงเหลือหลังจากการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
ใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากการกลับมาของมะเร็งหลังผ่าตัดโดยการลดขนาดหรือชะลอการเติบโตของเนื้องอก
ริดสีดวงจมูก
เกิดจากการที่เยื่อบุจมูกอักเสบ บวมขึ้นเรื่อยๆ มีน้ำคั่ง กลายเป็นก้อนในจมูก เหตุผลที่เรียกริดสีดวงจมูกเนื่องจากมีลักษณะเป็นก้อนคล้ายริดสีดวงทวารที่ยื่นออกมาในจมูก ซึ่งความจริงก็คือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงในจมูกนั่นเอง
อาการ ถ้าขนาดไม่โตมากคนไข้อาจจะไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าเยื่อบุจมูกบวมมาก ๆ อากาศผ่านจมูกไม่ได้ คนไข้จะมีอาการคัดแน่นจมูก นอกจากนี้จมูกยังมีหน้าที่รับกลิ่น เมื่อไหร่ก็ตามอากาศไม่สามารถเข้าไปในจมูกถึงเซลล์ประสาทรับกลิ่นได้ก็จะทาให้คนไข้มีปัญหาเรื่องการรับกลิ่นเสียไป หรือไม่ได้กลิ่นและอย่างที่บอกริดสีดวงจมูกจะเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้และการอักเสบเรื้อรัง นอกจากอาการคัดจมูกแล้ว คนไข้อาจจะมีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล ร่วมด้วย
สาเหตุ คือ โรคภูมิแพ้ ซึ่งจะมีการอักเสบของเยื่อบุจมูกเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน เมื่อมีการอักเสบนาน ๆ เยื่อบุจมูกจะมีการบวมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่ไม่รักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง ปล่อยให้มีการอักเสบซ้ำๆ ซากๆ เยื่อบุจมูกก็จะบวมออกมากลายเป็นริดสีดวงจมูกทั้งนี้การอักเสบเรื้อรังจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ เยื่อบุอักเสบจากภูมิแพ้ และเยื้อบุอักเสบชนิดไม่แพ้ ทั้ง 2 อย่างทำให้เกิดริดสีดวงจมูกได้ทั้งนั้น หรือในคนไข้ที่เป็น ไซนัสอักเสบเรื้อรังนาน ๆ เยื่อบุของไซนัสก็จะบวมออกมากลายเป็นริดสีดวงได้ แต่เราจะไม่เรียกริดสีดวงไซนัส
การรักษา คือ การให้ยา และ การผ่าตัด ยาหลักในการรักษาที่สำคัญ คือ ยา สเตียรอยด์ มีทั้งชนิดกินและชนิดฉีดพ่นเข้าไปในจมูก ทาให้ริดสีดวงจมูกยุบและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานใช้นานไม่ได้ จะ ใช้ได้ช่วงสั้นๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นยาหลักในการ รักษาระยะยาวคือยาสเตียรอยด์ชนิดพ่น ซึ่งปลอดภัย กว่า และสามารถพ่นได้นานหลายเดือน หรือหลายปี ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ให้ยาเต็มที่แล้ว ไม่ดีขึ้น ยังมีอาการคัดแน่นจมูก ไม่ได้กลิ่นหรือให้ยา เต็มที่แล้วดีขึ้น แต่ลดยาไม่ได้ พอลดยาลงคนไข้กลับมามีอาการเหมือนเดิม ในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณา การผ่าตัดให้กับคนไข้
ไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบ หมายถึง การอักเสบและการติดเชื้อของเยื่อบุจมูกและไซนัส ซึ่งแบ่งประเภทโดยอาศัยระยะเวลาของการมีอาการ
อาการหลักมี 3 อาการ ได้แก่ อาการคัดหรือแน่นจมูก มีน้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูกด้านหน้า หรือไหลลงคอ รวมถึงมีอาการปวด หรือแน่นบริเวณใบหน้า อาจมีการรับกลิ่นเสียไป เมื่อตรวจดูภายในโพรงจมูก มีการอุดตัน เนื้อเยื่อบวมหรืออาจพบมีริดสีดวงจมูก หรือหนองไหล
ใช้ขาบรรเทาปวด 2. ประคบร้อน 3. ลดอาการบวมโดยใช้ยาหยอด หรือพ่นจมูก ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว 4. ใช้ยากลุ่ม steroid ในขณะที่มีการอักเสบติดเชื้อ 5. ควบคุมการติดเชื้อโดยใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างน้อย 14 วัน 6. รับประทาน anti histamine บรรเทาอาการคัดจมูก 7. ให้ยาละดายเสมพะ ให้ดื่มน้ำมาก ๆเพื่อละลายเสมหะ 8. พักผ่อนให้เพียงพอ 9. หลีกเลื่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เพื่อป้องกันการคิดเชื้อไปสู่ผู้อื่น 10. แนะนำสังเกตอาการแทรกซ้อนทางตา
ทอนซิลอักเสบ
ต่อมทอนซิล คือ เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ภายในมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดอยู่ในลำคอทั้งสองข้าง โดยมีหน้าที่หลักในการดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร และมีบทบาทบางส่วนในการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยปัญหาที่พบบ่อย คือ ต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบ หรือต่อมทอนซิลมีขนาดโตผิดปกติ ส่งผลกระทบกับการหายใจและการกลืนของผู้ป่วยได้
สาเหตุของการอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ผู้ป่วยทอนซิลอักเสบมักมีอาการ เช่น เจ็บคอ บางครั้งอาจเจ็บจนร้าวไปหู มีไข้หนาวสั่น กลืนเจ็บ กลืนลำบาก อาจคลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวมโต ในผู้ป่วยเด็กอาจมีน้ำลายไหลหรืออาเจียนหลังทานอาหาร โดยหากมีอาการอักเสบบ่อย ๆ ทำให้ต่อมมีขนาดที่โตขึ้นและอาจกลายเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง มีการอักเสบซ้ำ ๆ ปีละหลายครั้ง หรือระคายเคืองคอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก
การรักษาทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน โดยปกติแพทย์จะพิจารณาให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้อักเสบตามเชื้อที่สงสัย โดยเฉพาะจากเชื้อแบคทีเรีย โดยควรได้รับยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 7 – 10 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น มีอาการรุนแรง ไข้สูง มีภาวะขาดน้ำขาดอาหาร อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือหรือยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด ในกรณีที่พบภาวะแทรกซ้อนของทอนซิลอักเสบ เช่น การอักเสบติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง เกิดหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล เกิดภาวะการติดเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต อาจจำเป็นจะต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองหรือการติดเชื้อร่วมกับการให้ยา
โรคทางตา
ต้อกระจก
ต้อกระจก คือภาวะการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของแก้วตาหรือเลนส์ตาจากที่เคยใสเป็นขุ่น แก้วตาทำหน้าที่ในการรวมแสงให้ตกบนจอประสาทตา เมื่อแก้วตาขุ่นทำให้แสงผ่านไปถึงจอประสาทตาลดลงและส่งผลกระทบต่อการรวมแสง
สาเหตุของต้อกระจก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะสูงอายุ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เมื่ออายุเพิ่มขึ้นความขุ่นของแก้วตาจะเพิ่มขึ้น สาเหตุรองลงมา คือ อุบัติเหตุที่ดวงตา เช่น โดนกระแทก, ถูกของมีคม, โรคตาหรือโรคทางกาย เช่น การอักเสบในลูกตา, เบาหวาน และสาเหตุอื่น ซึ่งพบได้น้อย เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด
อาการของต้อกระจก จะมีตามัวเหมือนมีหมอกหรือฝ้าบัง มักมัวมากในตอนกลางวัน หรืออยู่ในที่มีแสงจ้าและเห็นชัดตอนกลางคืน, บางรายเห็นภาพซ้อน, หรืออาจมีสายตาสั้นและต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ ช่วงแรกใส่แว่นตาอาจเห็นชัดขึ้น แต่เมื่อแก้วตาขุ่นมากแม้ใส่แว่นก็ไม่ดีขึ้น และบางรายมีการเห็นสีเปลี่ยนแปลง ในรายที่จะเป็นต้อกระจกมากพบมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ต้อหิน
การรักษา การผ่าตัดต้อกระจก
การสลายต้อกระจก (Phacoemulsification)
ต้อหิน
โรคต้อหิน เป็นต้อชนิดเดียวที่ไม่มีรูปร่างให้เห็นหรือมีหินเกิดขึ้นภายในดวงตา ซึ่งนายแพทย์ ชัยวัฒน์ ทีฆเสนีย์ จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคต้อหิน โรงพยาบาลจักษุรัตนิน อธิบายว่ามันคือภาวะที่ความดันภายในลูกตาสูง (มากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท) จนเกิดการกดทับเส้นประสาทตาซึ่งทำหน้าที่รับภาพไปแปลผลในสมอง เมื่อเส้นประสาทตาถูกทำลายจะทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลงและเมื่อเป็นมากขึ้นก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรหรือตาบอดในที่สุด
ระยะต้นส่วนใหญ่มักไม่สามารถสังเกตได้เองหรือมีอาการแสดงแจ้งให้รู้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของต้อหินแบบมุมเปิด ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมองเห็นด้าน บน - ล่าง ซ้าย - ขวา ค่อยๆ แคบลง
อย่างช้าๆ ระหว่างนั้นก็ยังคงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั้งการสูญเสียลานสายตาเข้ามาถึงบริเวณตรงกลาง ทำให้ตามัวและเดินชนสิ่งของรอบข้าง จึงมาพบแพทย์ ซึ่งอาการดังกล่าวก็เป็นระยะท้ายๆ ของโรคแล้ว ทำให้ผู้ป่วยอาจต้องเสี่ยงต่อตาบอดในที่สุด
ต้อหินมีสาเหตุมาจากจอประสาทตามีความเสื่อมหรือถูกทำลาย โดยประสาทตาจะเสื่อมลงทีละน้อย และเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา มักมีสาเหตุสำคัญมาจากความดันในตาสูงอันเนื่องมาจากการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ซึ่งทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตามากขึ้นแต่การไหลออกช้าลง ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น อาจเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ หรือเฉียบพลัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน
การรักษา ใช้ยาหยอดตา รับประทานยา และการรักษาโดยวิธีการอื่นๆ
จอประสาทตาหลุดลอก
เป็นภาวะที่ชั้นจอประสาทตาบริเวณด้านหลังของลูกตา (Neurosensory Retina) ซึ่งคอยทำหน้าที่รับภาพและแปลเป็นสัญญาณประสาทได้เกิดหลุดลอกออกมาจากเนื้อเยื่อด้านหลัง (Retinal Pigment Epitherium) ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตาบริเวณที่หลุดลอกออกมานั้นขาดสารอาหารและขาดอากาศไปเลี้ยงซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานได้ และหากปล่อยทิ้งไว้นาน จอประสาทตาบริเวณดังกล่าวจะสูญเสียการทำงานอย่างถาวร
อาการ1. เห็นจุดเงาดำหรือเห็นฝุ่นเป็นเส้นลอยไปมาข้างหน้า (Floater) ในขณะที่มอง
เห็นแสงไฟคล้ายฟ้าแลบบริเวณส่วนริมของภาพ (Flashing)3. มีเงาดำลักษณะคล้ายม่านมาบดบังการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมดของภาพ
สาเหตุ 1. การหดตัวและการดึงรั้งของวุ้นที่อยู่กลางลูกตา (Vitreous) 2. การกระทบกระแทก 3. เบาหวานขึ้นจอประสาทตา 4. ภาวะการอักเสบในลูกตา
การรักษา1. การใช้ความเย็นจี้บริเวณที่มีการฉีกขาดของจอประสาทตา (Cryopexy)2. การยิงแสงเลเซอร์ (Photocoagulation)3. การฉีดสารเช่นแก๊สหรือน้ำมันซิลิโคนเข้าในลูกตา (Intravitreal substance injection)4. การผ่าตัดรัดลูกตาด้วยยาง (Scleral Buckling)5. การผ่าตัดซ่อมและปะจอประสาทตาภายในลูกตาโดยตรง (Pars Planar Vitrectomy)
การติดเชื้อของตา
การติดเชื้อที่ตาเกิดเมื่อเชื้อโรคที่ก่อโรค อันได้แก่ แบคทีเรีย ราและไวรัส รุกล้ำเข้าไปในส่วนใด ๆ ของลูกตาหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ รวมทั้งผิวหน้าส่วนที่ใสของตา (กระจกตา) และเยื่อบุบาง ๆ ที่บุด้านนอกของตาและเปลือกตาด้านใน (เยื่อตา)
อาการ ตาแดง ปวดตา มีขี้ตา ตาแฉะ ตาบวม คันตา ตามัว
การรักษา การติดเชื้อที่ตาจากไวรัสที่พบบ่อย ๆ สามารถหายได้เอง ในกรณีที่มีการติดเชื้อที่ตาจากไวรัสอย่างรุนแรง อาจมีการสั่งจ่ายยาหยอดตาต้านไวรัสได้ การติดเชื้อที่ตาจากไวรัสบางชนิดต้องมีการใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์อย่างระมัดระวังเพื่อลดการอักเสบที่เกิดด้วย
แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสแบบรับประทานให้ท่าน โดยขึ้นกับสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อที่ตาของท่าน หากอาการของท่านแย่ลงหรือเปลี่ยนไป โปรดติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาหรือแพทย์ทั่วไปทันที
การป้องกัน ลดโอกาสติดเชื้อที่ตาจากแบคทีเรียหรือไวรัสที่พบได้บ่อยโดยไม่ขยี้ตา ล้างมือบ่อย ๆ ในระหว่างวัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนใส่และถอดคอนแทคเลนส์) ซักผ้าเช็ดตัวและผ้าปูที่นอนบ่อย ๆ และทำความสะอาดพื้นผิวในครัวและบริเวณที่ใช้ร่วมกันอื่น ๆ ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ต้านแบคทีเรีย