Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ระบบประสาท ระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง -…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ
ระบบประสาท ระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
การประเมินทาง
ระบบประสาท
1.การซักประวัติประวัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคิดรู้และการรู้สติ 2.การประเมินจากการตรวจร่างกายทางระบบประสาทการประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาทแบบเร็วที่สามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงการท างานของระบบประสาท เบื้องต้นเป็นพื้นฐาน 3.การประเมินเกี่ยวกับการรู้สติการประเมินเกี่ยวกับการรู้สติมักหมายถึง การประเมินเพื่อดูระดับการรู้สติ
ระดับความรู้สึกตัว
-Full or Alertเป็นภาวะที่มีระดับการรู้สติเป็นปกติ
-Confusionเป็นภาวะที่สูญเสียความสามารถในการคิด มีความสับสน -Stuporเป็นระยะที่ซึมมาก หลับมากกว่าตื่น ต้องกระตุ้นด้วยความเจ็บจึงจะลืมตา หรือปัดป้อง
ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Motor power)
เกรด/ระดับ 0 = กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต/แขนหรือขาไม่มีการเคลื่อนไหวเลย
เกรด/ระดับ 1 = กล้ามเนื้อไม่มีแรงหดตัวแต่ใยกล้ามเนื้อหดตัวได้/มีการเคลื่อนไหวปลายนิว้มือ-เท้าได้เล็กน้อยเกรด/ระดับ 2 = กล้ามเนื้อมีแรงที่จะเคลื่อนไหวข้อตามแรงโน้มถ่วงได้ เกรด/ระดับ 3 = แขนหรือขาสามารถยกได้แต่ต้านแรงที่กดไว้ไม่ได้ เกรด/ระดับ 4 = แขนหรือขาสามารถยกได้แต่ต้านแรงที่กดได้น้อยกว่าปกติ เกรด/ระดับ 5 = แขนหรือขามีกาลังปกต
การวัดสัญญาณชีพ
การวัดสัญญาณชีพ(Vital signs)การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพสัมพันธ์โดยตรงกับพยาธิสภาพของสมอง การสังเกตและบันทึกความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะ จึงเป็นสิง่ จาเป็นสาหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
การประเมินการหายใจจะสังเกตอัตราการหายใจ
จังหวะ และความลึก หากพบความผิดปกติ
การหายใจแบบCheyne-Stoke respiration คือ การหายใจเร็วสลับกับหยุดหายใจ เป็นระยะแสดงว่ามีการเสียหน้าที่ของสมองdiencephalons
การหายใจแบบCentral neurogenichyperventilationคือ หายใจหอบลึกสม่ำเสมอมากกว่า 40 ครั้ง/นาทีพบในผู้ป่วยที่มีการกดเบียดmid brainจากการยื่นของสมองผ่านtentorial
การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการ
คอแข็งมีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อไข้ขึ้นสูงเฉียบพลันปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนชักแพ้แสงหรือไวต่อแสงไม่มีความกระหายหรืออยากอาหารปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติง่วงนอน หรือตื่นนอนยากผิวหนังเป็นผื่น พบได้ในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
สาเหตุ จากเชื้อไวรัส เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเป็นชนิดที่รุนแรงน้อยที่สุด แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะอาจเป็นการติดเชื้อจากไวรัสที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องเสีย เป็นต้น แต่มีโอกาสน้อยมากที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสจะทำอันตรายต่อสมองถาวรหลังจากอาการติดเชื้อบรรเทาลงแล้ว เพราะสามารถหายได้เอง
วิธีการรักษา ขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที โดยรับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดดำ ทั้งนี้ การจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
พยาธิสรีรวิทยา เชื้้อโรคสามารถเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองได้หลายทาง ที่สำคัญได้แก่ ทางกระแสเลือด เป็นการติดเชื้อที่มาตามกระแสเลือดทั้งระบบเลือดแดงหรือระบบเลือดดำ หรือเป็นการติดเชื้อที่มาจากseptic embolus ไปสู่ subarachnoid space ทางหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี่ยง
สมองอักเสบ
สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ส่วนมากพบโรคนี้ในเด็กอายุ 5 – 10 ปี และพบการแพร่ระบาดในภาคเหนือช่วงฤดูฝนมากว่าภาคอื่น ๆ ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด
พยาธิสรีรวิทยาไวรัส ทุกชนิดไม่สามารถเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้โดยตรง ต้องเป็นไวรัสที่แพร่มาจากระบบอื่น ที่พบบ่อยจากตำแหน่งติดเชื้อปฐมภูมิ เรียงตามลำดับ ได้แก่ •ระบบทางเดินหายใจ •ระบบทางเดินอาหาร •ผิวหนัง
สาเหตุ ส่วนมากที่พบในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี Japanese encephalitis (E) พาหะนำโรค คือ ยุงรำคาญ
อาการ ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากแสดงอาการจะสามารถสังเกตได้ ดังนี้ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนมีอาการเซื่องซึม ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังมีไข้มีตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่ผิวหนังอาจมีอาการชักในบางราย
ใช้ยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะ โดยจะฉีดยาต้านไวรัสเข้าเส้นเลือดดำ 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดตามข้อ และกล้ามเนื้อได้ ส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะจะใช้ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราฉีดสเตียรอยด์ โดยจะทำในกรณีที่สาเหตุของโรคเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย การฟอกเลือด เพื่อกำจัดสารพิษออกจากร่างกายที่อาจไปทำลายสมองได้
ฝีในสมอง
ฝีในสมองเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่แพร่กระจายเข้าสู่สมองผ่านทางบาดแผลบริเวณศีรษะหรือจากการติดเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดเป็นหนองสะสมภายในสมอง ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์โดยเร็ว เพราะฝีในสมองอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้
การเริ่มเกิดฝีในสมองจะช้าและอยู่เฉพาะที่ โดยในระยะแรกมักจะเกิดการอักเสบที่เนื้อสมองก่อน ซึ่งในระยะนี้ยังไม่เห็นถุงหุ้มหนองส่วนในระยะหลังจะเกิดเป็นฝีที่มีถุงหุ้มชัดเจน
สาเหตุของฝีในสมอง
ฝีในสมองมักเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของสมอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบและอาการบวม มีหนองเกิดขึ้นจากการสะสมของเซลล์สมองที่ติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดขาว รวมถึงเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือที่ยังมีชีวิต นอกจากนี้ เชื้อโรคที่ลามเข้าสู่สมองอาจมาจากการติดเชื้อที่แพร่กระจายผ่านกระแสเลือด
อาการ ภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น รู้สึกสับสนมากขึ้น มีการตอบสนองหรือกระบวนการคิดที่ช้าลง ไม่มีสมาธิ ฉุนเฉียวง่าย ง่วงซึม เป็นต้น สูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวตัวได้น้อยลง แขนขาอ่อนแรง อัมพาตครึ่งซีก คอแข็งเกร็ง มักพบร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น
ฝีในสมองรักษาได้ด้วยการรับประทานยาและการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะคงตัว เนื่องจากหากแรงดันในสมองสูงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
เนื้องอกระบบประสาทส่วนกลาง
เนื้องอกชนิดใดเกิดขึ้นมา ก็สามารถก่อให้เกิดอาการได้ เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางมีกระดูกล้อมอยู่โดยรอบ เนื้อระบบประสาทที่ถูกกดไม่สามารถขยายไปที่อื่นได้ แม้กระทั่ง benign tumor ก็สามารถที่จะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่อาจถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้อาการต่าง ๆ ก็ยังอาจเกิดจากการขัดขวางทางเดินของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง, การลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อระบบประสาทโดยตรง, การกระจายของเนื้องอกไปตาม subarachnoid space และ ventricular system และในบางชนิดของเนื้องอกอาจมีการกระจายออกนอกสมองได้ เช่น medulloblastoma, dysgerminoma
สาเหตุ สารเคมีบางตัว ยาบางตัว รังสี ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรมในผู้ป่วยบางรายสามารถพบ chromosome ที่ผิดปกติได้, หรือใน
ผู้ป่วยบางคนสามารถพบเนื้องอกระบบประสาทส่วนกลางร่วมกับกลุ่มอาการต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากขึ้น
อาการ เมื่อใช้เครื่องมือส่องดูประสาทจอตา จะพบขั้วประสาทที่จอรับภาพของตาบวม (papilledema)ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน
การรักษา การผ่าตัด การใช้รังสีรักษา การใช้เคมีบำบัด การตรวจพิเศษ
ชัก
เกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทผิดปกติเกิดขึ้นทันทีและกระจายออกไปตามสมองส่วนอื่นๆ จึงเกิดอาการนอกเหนือการควบคุม อาการจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาไม่นาน มักเกิดขึ้นทันทีและหยุดเอง อาการมักเกิดซ้ำขึ้นเรื่อยๆ อุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชักลมชัก เกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทผิดปกติเกิดขึ้นทันทีและกระจายออกไปตามสมองส่วนอื่นๆ จึงเกิดอาการนอกเหนือการควบคุม อาการจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาไม่นาน
อาการ เป็นลมหรือหมดสติ อาการนำของอัมพฤกษ์ อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะหรือโรคอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพขึ้นที่สมองโดยตรงหรือโดยทางอ้อมสามารถทำให้เกิดลมชักได้ สาเหตุที่พบนั้นแตกต่างกันไปตามอายุ เช่น วัยแรกเกิด เกิดจากบาดเจ็บจากการคลอด วัยเด็ก เกิดจากไข้สูง การอักเสบของสมองและเยื่อบุสมอง วัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน เกิดจากกรรมพันธุ์ อุบัติเหตุ พยาธิในสมอง หลอดเลือดผิดปกติ วัยสูงอายุ เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ อุดตัน เนื้องอกในสมอง
รักษาการชัก แพทย์จะให้ยารับประทานตามประเภทของการชักและกำหนดระยะเวลาการรับประทานยากันชัก ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทานยาป้องกันชักไปตลอดชีวิต
ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง
-การให้การดูแลขณะที่มีอาการ
-การติดตามประเมินผลเป็นระยะๆจนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะพักฟื้น -การพยาบาลในระยะเฉียบพลันจะเป็นการดูแลแบบประคับ ประคองเพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง -การคงไว้ซึ่งการระบายอากาศที่เพียงพอ