Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อุจจาระร่วง (Diarrhea), กรณีศึกษา - Coggle Diagram
อุจจาระร่วง (Diarrhea)
พยาธิสภาพอุจจาระร่วง
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป
โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
อาการเเละอาการเเเสดง
ถ่ายอุจจาระเหลว 6 ครั้ง
อาการซึม ไม่เล่น
ปากเเเห้ง เเละผิวหนังเเห้ง
สาเหตุของอุจจาระร่วง
การติดเชื้อไวรัส
มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ได้เเก่ Rotavirus เเละมีพยาธิในลำไส้
การติดเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ e.coli,shigella เเละ vibriocholera
ขาดเอ็นไซม์เเละน้ำย่อย
การดูดซึมบกพร่อง
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย
การตรวจอุจจาระ
stool examination
rectal swab culture
การซักประวัติ
การตรวจเลือด
CBC
electrolyte
BUN
การตรวจปัสสาวะ
การรักษา
ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ
ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป เพื่อป้องกันอาการกระหายน้ำ ตาแห้ง ปากเเห้ง อ่อนเพลีย และวิงเวียนศีรษะ
.ให้ยาปฎิชีวนะเเละยาต้านอุจจาระร่วง
ดื่มน้ำผสมกับผงเกลือแร่
เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
กินอาหารปรุงสุกและย่อยง่าย
พักผ่อนให้เพียงพอ
เพื่อทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป
ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหารเป็นหลัก โดยเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ผ่านกระบวนการผลิตอย่างถูกสุขลักษณะ และเน้นอาหารที่ย่อยง่าย
ภาวะแทรกซ้อน ของอุจจาระร่วง
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
Nursing Intervention
ประเมินการถ่ายอุจจาระ ลักษณอุจจาระ ปริมาณเเละจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระ
ประเมินระดับการขาดน้ำ เเบ่งออกเป็น 3 ระดับขาดน้ำเล็กน้อย เเสดงออกโดยการกระหายน้ำเพิ่มมากขึ้น ปากเเห้ง ขาดน้ำระดับปานกลาง เเสดงออกโดยผิวหนังเสียความยืดหยุ่น เยื่อบุปากเเห้ง ตาโหลลึก เเละกระหม่อมบุ๋ม เเละขาดน้ำระดับรุนเเรงจะมีอาการขาดน้ำระดับปานกลางร่วมกับอาการดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย ได้เเก่ ชีพจรเบาเร็ว เขียว หายใจเร็ว เเละไม่รู้สึกตัว
ดูเเลให้ได้รับ ORS 150-250ml เพื่อทดเเทนสารน้ำที่สูญเสียไป
ดูเเลให้ได้รับยาปฎิชีวนะตามเเผนการรักษา
เมื่ออุจจาระถ่ายเหลงลดลงไม่มีอาการขาดน้ำเเละสารอาหารให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เเละอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรดเชิงซ้อน ได้เเก่มันฝรั่ง ข้าว ขนมมปัง
เเนะนำให้ผู้ป่วยงดดื่มน้ำผลไม้เนื่องจากมีค่า Osmolality สูงเเละทำให้อุจจาระร่วงเพิ่มมากขึ้น
กรณีศึกษา
เด็กอายุ 1ขวบ มารดาพามาโรงพยาบาลด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ 6 ครั้งเเละอาเจียนร่วมด้วย ซึมลง ไม่เล่น ปากเเห้ง ผิวหนังเเห้งV/S เเรกรับ T=37.5 องศา PR=116 ครั้ง/นาที BP=80/50 mmhg BW= 7.5Kg ผลการห้องปฎิบัติการพบว่า Na 138 mEq/L เเละ urine specific gravity 1.034