Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหมายและความเป็นมาของโกาภิวัฒน์ - Coggle Diagram
ความหมายและความเป็นมาของโกาภิวัฒน์
ความหมายของโลกาภิวฒน์
ในปี พ.ศ. 2542 ราชบัณฑิตยสถาน ได้กําหนดไว้ในพจนานุกรมไทย ว่า“โลกาภิวัตน์ ตรงกับคําว่า “Globalization”หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง อันเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความหมายและขอบเขตของโลกาภิวัตน์
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Money Fund, IMF)
โลกาภิวัตน์ คือ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีที่ทําให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการดําเนินธุรกรรมระหว่างนานาประเทศได้โดยสมบูรณ์ ทั้งทางด้านการหลั่งไหลทางการค้าและการเงินข้ามพรมแดนประเทศ
นายแอนโทนี ไกเดนส์ (Anthony Gidens)
ผู้อํานวยการของโรงเรียนเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน
โลกาภิวัตน์ เน้นความสัมพันธ์ทางสังคมไปทั่วทั้งโลก โดยเชื่อมโยงท้องที่ต่างๆที่อยู่ไกลกัน จนกระทั่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องที่หนึ่งได้เกิดขึ้นในท้องที่อื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป
สถาบันเลวิน (Levin Institute)
แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
โลกาภิวัตน์ เป็น กระบวนการดําเนินงานร่วมกันของผู้คน บริษัท และรัฐบาลของชาติต่างๆ ทั้งในด้านการค้า การลงทุนระหว่างชาติ โดยมีเทคโนโลยี ด้านการสื่อสารเป็นปัจจัยสําคัญที่เร่งให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โลกาภิวัตน์มีผลต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ระบบการเมือง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความมั่งคั่ง และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสังคมในโลก
เฟรด ดับเบิลยู ริกก์ (Fred W. Riggs)
อ้างว่า มาจิด เทฮารานเนียน (Majid Tehranian) กล่าวไว้ว่า โลกาภิวัตน์ คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 5000 ปีมาแล้ว แต่เพิ่งจะมาเร่งให้เร็วขึ้นอย่างมากหลังจากการล่มสลายของสหภาพ โซเวียดในปี ค.ศ. 1991 สาระสําคัญของโลกาภิวัตน์ประกอบด้วย (1) การส่งเงินทุน แรงงาน การจัดการ ข่าวสาร ภาพ และข้อมูลข้ามเขตประเทศ (2) ตัวจักรกลที่ขับเคลื่อนให้โลกาภิวัตน์ดําเนินไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิน บุศราคํา
ให้ความหมายโลกาภิวัตน์ว่าเป็นกระบวนการต่าง ๆ ที่ซับซ้อน (เช่น กระบวนการ ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมือง และเทคโนโลยี) ที่ทําให้ผู้คนในทุกหนทุกแห่งของโลกติดต่อเชื่อมโยงถึง กัน สื่อสารและแข่งขันซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็ว เพื่อส่งผ่านสินค้าและบริการ แรงงาน ทุน และข่าวสารข้อมูลข้าม อาณาเขตประเทศ โดยอาศัยเทคโนโลยีการขนส่งและการสื่อสารโทรคมนาคม โลกาภิวัตน์มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในหลายทาง
ความเป็นมาของโลกาภิวัฒน์
นายโธมัส ฟรีดแมน (Thomas Friedman) เขียนหนังสือชื่อ The world is flat : A brief history of the twenty first century ไว้เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีผลมาจาก โลกาภิวัตน์จากอดีตจนถึงศตวรรษที่ 21
โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา
แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา
ช่วงที่ 1 (Globalization 1.0)
เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1492 ถึง 1800 และตั้งชื่อช่วงนี้ว่า Globalization of Nation States หมายถึง ในช่วงเวลาดังกล่าว การติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม จะเป็นการเจรจา ตกลง หรือทําสัญญากันระหว่างประมุขหรือผู้นําของประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนประเทศเท่านั้น
จุดเริ่มต้นเกิดจากการที่ประเทศในทวีปยุโรป ได้แก่ สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) อังกฤษ ฝรั่งเศส ที่มี เทคโนโลยีด้านการเดินเรือที่ทันสมัยกว่า เดินเรือไปทางซีกโลกตะวันออกเพื่อแสวงหาอาณานิคมโดยใช้เหตุผลทางด้านการค้า และการเผยแพร่ศาสนา เส้นทางการเดินเรือผ่านทวีปอัฟริกาเข้าสู่เอเชียและออสเตรเลีย สินค้าส่วนใหญ่เป็นผ้าลินิน ผ้าไหม ชา เครื่องเทศ อําพัน และดินประสิว
ช่วงที่ 2 (Globalization 2.0)
เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1800 ถึง 2000 และตั้งชื่อช่วงนี้ว่า Globalization of Companies ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไปจนถึงสิ้นสุดสงครามเย็น การติดต่อระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าสามารถเจรจาตกลงกันในระดับบริษัทได้โดยมีขอบเขตอยู่ภายใต้กฎหมายของทั้งสองฝ่าย ความ เปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างชัดเจน คือ การสร้างเครื่องจักรที่ใช้พลังงานจากไอน้ําและจากน้ํามันขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนยานพาหนะให้มีความเร็วสูงขึ้นโดยอาศัยธรรมชาติและแรงงานมนุษย์/สัตว์น้อยลง ทําให้ลดระยะเวลาในการ เดินทาง
ช่วงที่ 3 (Globalization 3.0)
เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ถึง 2005 และตั้งชื่อช่วงนี้ว่า Globalization of Individual หมายถึง การติดต่อกับต่างประเทศในช่วงเวลานี้ประชาชนแต่ละคนสามารถดําเนินการได้เอง ทั้งนี้ต้องไม่ผิด กฎหมายของทั้งสองฝ่าย ในช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในสังคมโลกมากมาย
การเกิดอินเทอร์เน็ต (internet) ในปี ค.ศ. 1976
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทําให้เกิดโลกาภิวัตน์ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
การเกิด work flow software
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทํางานเพื่อให้การทํางานมีมาตรฐาน เดียวกัน ไม่ว่าจะทํางานอยู่ที่ส่วนใดของโลกที่มีระบบอินเทอร์เน็ต
การเกิด open sourcing
การมีโปรแกรมที่เปิดเผยรหัสแก่สาธารณะ ทําให้ประชากรโลกนํามาใช้พัฒนากิจการ ของตนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งใช้พัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตอบสนองความต้องการในการดําเนินกิจการของตน ได้ดียิ่งขึ้น
การเกิด out sourcing
การที่องค์กรหนึ่งจ้างหน่วยงานภายนอกให้ดําเนินกิจการบางอย่างให้กับองค์กรของตน เนื่องจากภายในองค์กรของตนไม่มีหน่วยงานย่อยที่มีหน้าที่ดําเนินกิจการนั้นโดยตรง
การเกิด in sourcing
การที่องค์กรหนึ่งมีการพัฒนา/ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงกิจการ ให้มีเป้าหมายเพิ่มขึ้นจาก เดิม กิจการนั้นยังไม่มีหน่วยงานย่อยภายในองค์กรทําหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ในองค์กรมีกลุ่มบุคลากรหรือหน่วยงานย่อย ที่สามารถดําเนินกิจการนั้นได้ จึงมอบหมายให้กลุ่มบุคลากรหรือหน่วยงานย่อยดังกล่าวดําเนินกิจการที่พัฒนาขึ้นใหม่
การเกิด off shoring
การย้ายโรงงานที่ผลิตสินค้าหรือการให้บริการไปอยู่ในประเทศอื่น เพื่อให้มีกําไรสูงขึ้น เช่น ย้ายไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า อัตราการเก็บภาษีน้อยกว่า กฎหมายสิ่งแวดล้อมอ่อนกว่า ได้โควตาส่งออกมากกว่า อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่า
การเกิด supply chaining
ธุรกิจสายส่ง รูปแบบใหม่ที่ทําให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถส่งสินค้าของตนให้ถึง ผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และสินค้าไม่เสื่อมคุณภาพ ทําให้เกิดบริษัทรับส่งสินค้าและวัตถุประเภทต่าง ๆ เชื่อมโยง เครือข่ายการขนส่งไปทั่วโลก
การเกิด informing
การให้ข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิมโดยใช้เครื่องมือ (search engine) รูปแบบต่าง ๆ ทําให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมีความรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบโทรเลข โทรทัศน์ และโทรศัพท์ ในอดีต
การรวมประเทศของเยอรมันตะวันออก
กับเยอรมันตะวันตก ในปี ค.ศ. 1989
ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองและการปกครองของประเทศที่ยิ่งใหญ่ทั้งพื้นที่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพลังทางเศรษฐกิจ ในทวีปยุโรป
การหลอมรวมของสื่อดิจิตอล (convergence)
ทาให้เกิดความหลากหลายด้านศักยภาพในการสื่อสารข้อมูล เครื่องมือสื่อสารเครื่องหนึ่งสามารถทําหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น ใช้เป็น โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง เครื่อง คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์