Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา…
การศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
บทนำ
ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในเรื่องสมุนไพรเป็นอย่างมากทำให้สมุนไพรในชุมชนสร้างรายได้เข้าหมู่บ้านในแต่ละปีหลายล้านบาทจากการขายสมุนไพร
สมุนไพรที่ชาวบ้านนำมาขายได้จากทรัพยากรในป่าที่อยู่รอบๆหมู่บ้านเป็นหลักจากการนำมาขายในจำนวนมากในแต่ละครั้งและไม่มีการปลูกทดแทนฟื้นฟูหรืออนุรักษ์สมุนไพรทำให้ในปัจจุบันแทบจะหาเก็บสมุนไพรในป่าที่อยู่รอบหมู่บ้านได้ยากหรือมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบเท่ากับอดีต
ดด้วยกระแสความนิยมในสมุนไพรเพิ่มขึ้นจึงทำให้ผู้วิจัยเกิดแรงบันดาลใจให้ ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชน ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
ดังนั้นชุมชนบ้านเชียงเหียนจึงมีการจัดตั้งโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านอีสานเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพพื้นฐานหมู่บ้านต้นแบบขึ้นซึ่งดำเนินงานจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามและหมอยาพื้นบ้าน
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาความหลากชนิดของพืชสมุนไพรใน ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การศึกษารวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิ
การศึกษาภาพการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน1: 50,000 ทำให้ทราบขอบเขตพื้นที่ของชุมชน
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรในประเทศไทย
การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
ดำเนินการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 รายเพื่อรวบรวมข้อมูลเพื่อสมุนไพร
ศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพร
ประชุประชุมชี้แจงผู้ช่วยวิจัยและนักวิชาการในการเก็บรวบรวมข้อมูลในชุมชน
ผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัย และนักวิชาการลงพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของพืชสมุนไพรและตัวอย่างพืชสมุนไพรบางชนิดที่สามารถเก็บได้
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแล้วนำมาวิเคราะห์แบบการพัฒนาวิเคราะห์โดยการเขียนเรียบเรียงใหม่ให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่องและเข้าใจง่ายขึ้นโดยการวิเคราะห์ชนิดพืชสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรคและลักษณะสังคมป่าของพืชสมุนไพรชนิดนั้นนั้น
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาผลการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียนหมู่ที่3 หมู่ที่ 18 และหมู่ที่ 23 พบว่ามีสมุนไพรทั้งหมด 162 ชนิด
ไม้พุ่มกึ่งยืนต้น 10 ชนิด
ไม้พุ่มหลายและหลายสกุล 3 ชนิด
ไม้ล้มลุก 14 ชนิด
ไม้พุ่มขนาดเล็ก 2 ชนิด
ไม้เถาล้มลุก 14 ชนิด
หญ้า 2 ชนิด
ไม้พุ่ม 26 ชนิด
ไม้พุ่มเลื้อย 1 ชนิด
ไม้เลื้อย 27 ชนิด
กาฝาก 1 ชนิด
ไม้ยืนต้น 62 ชนิด
สรุปและอภิปรายผล
จากการสำรวจความหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า มีพืชสมุนไพรทั้งหมด 162 ชนิด
ไม้ยืนต้น 62 ชนิด ได้แก่ กระบก มะกอก พะยอม ตีนนก มะตูม มะค่าแต้ รักน้ำเกลี้ยง ผักหวานบ้าน ส้มเสี้ยว หว้าขี้นก นนทรี รัง เป็นต้น
ไม้เลื้อย 27 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด หางไหล เถาประสงค์ เงี่ยงดุกใหญ่ ผักสาบ หนามแดง หมามุ่ย พลูช้าง เป็นต้น
ไม้พุ่ม 26 ชนิด ได้แก่ เกล็ดปลาช่อน เงี่ยงดุกน้อย ตำแยแมว นมน้อย สามสิบ พริกป่าใหญ่ รัก มะกา หมาว้อ อีลอก เป็นต้น
ไม้เถาล้มลุก 14 ชนิด ได้แก่ กลอย เถาเอ็นอ่อน โมกเครือ ตำลึง นมควาย เถาย่านาง ส้มลม เป็นต้น
ไม้ล้มลุก 14 ชนิด ได้แก่ ข่าป่า ข่าลิง พันงูขวา ว่านหาวนอน หญ้าสาบกา พลูช้าง เป็นต้น
ไม้พุ่มกึ่งยืนต้น 10 ชนิด ได้แก่ โมก ยอป่า เพกา ตะครอง มะตาด เป็นต้น
ไม้พุ่มหลายและหลายสกุล 3 ชนิด ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่โจด ไผ่เพ็ก
ไม้พุ่มขนาดเล็ก 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าขัด ทองพันดุล
หญ้า 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว หญ้าคา
ไม้พุ่มเลื้อย 1 ชนิด ได้แก่ น้ำใจใคร่
กาฝาก 1 ชนิด ได้แก่ กาฝากมะม่วง
ทั้งนี้การลดลงหรือเพิ่มจำนวนของพรรณไม้นั้น ขึ้นอยู่กับการถูกรบกวนหรือการจัดการป่าไม้ ลักษณะป่าที่พบเป็นป่าที่ง่ายต่อการเข้าไปใช้ประโยชน์ อาจส่งผลให้ชนิดพันธุ์ลดลง
เมื่อเปรียบเทียบชนิดพืชสมุนไพรจากการสำรวจในครั้งนี้กับการสำรวจเบื้องต้นของสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านเชียงเฮียนของถวิล ชนะบุญและคณะ( 2549 )พบว่ามีพืชบางชนิดเพิ่มเข้ามาจากรายการบัญชีที่มีการสำรวจไว้ครั้งก่อนคือตานกกด(คำลอก) ส้มหม้อ(สมอไทย)และหนามโกทา(โกหา)
นางสาววีรดา ไกรวงษ์ 611120417 วิทยาศาสตร์ทั่วไป