Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทพากย์เอราวัณ, : King_Buddha_Loetla_Nabhalai, images (1), Bangkok_wat…
บทพากย์เอราวัณ
คุณค่าทางวรรณคดี
ด้านเนื้อหา
สาระสำคัญที่ปรากฏคือ “ความประมาทเพราะลุ่มหลงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียและพ่ายแพ้” ดังที่ปรากฏในเรื่อง เหตุที่พระลักษมณ์ต้องศรพรหมาสตร์เพราะหลงมองความงามของขบวนทัพพระอินทร์ ทั้งที่สุครีพได้กล่าวเตือนแต่เพราะประมาทจึงต้องพ่ายแพ้ในศึกครั้งนี้
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
บทพากย์เอราวัณมีการใช้วรรณศิลป์ตามแบบฉบับวรรณคดีไทยที่น่าสนใจอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้บทพรรณนาความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณ ความยิ่งใหญ่ของกองทัพอินทรชิต อภินิหารและความยิ่งใหญ่ของกองทัพพระราม นอกจากนี้ยังมีบทพรรณนาที่บรรยายความงามของธรรมชาติทั้งกลิ่น รูป และเสียงอย่างเห็นภาพ และมีการใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ เช่น การอุปมา อติพจน์ และบุคคลวัต
-
-
ลักษณะคำประพันธ์
บทพากย์เอราวัณแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง ๑๖ สาเหตุที่เป็น ๑๖ ก็เพราะหนึ่งบทจะมี ๑๖ คำ/พยางค์ โดย ๑ บท มี ๓ วรรค มีสัมผัสบังคับอยู่ที่คำสุดท้ายของวรรคแรกและวรรคที่สอง ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่สามใช้ส่งเข้าบทถัดไป กาพย์ฉบัง ๑๖ มีฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่อง
บทพากย์เอราวัณมีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต ซึ่งศึกอินทรชิตก็เป็นตอนหนึ่งจากรามเกียรติ์ทั้งหมดกว่า ๑๗๘ ตอน (อ้างอิงจากหนังสือชุดวรรณคดีอมตะของไทย โดยเปรมเสรี) อินทรชิตเป็นบุตรของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมทีชื่อ “รณพักตร์” แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “อินทรชิต” เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพระอินทร์ อินทรชิตบำเพ็ญตบะมายาวนานจึงเป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์แก่กล้ามาก แถมยังมีอาวุธวิเศษ ๓ อย่างที่ได้มาจากการทำพิธีขออาวุธจากมหาเทพทั้งสามอีก หนึ่งในนั้นคือศรพรหมาสตร์ และพรที่ทำให้แปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ (อาวุธและพรนี้อินทรชิตได้มาจากพระอิศวร) ซึ่งพรข้อนี้มีบทบาทอย่างมากในรามเกียรติ์ ตอน ศึกอินทรชิต จากพรข้อนี้ ในตอนที่อินทรชิตจัดทัพออกไปรบกับฝ่ายพระราม อินทรชิตจึงใช้อุบายแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เพื่อให้พระรามและกองทัพหลงใหลในความงดงามอลังการ เนื้อหาส่วนใหญ่จึงพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่สวยงามของช้างเอราวัณ (ปลอม ๆ) และกองทัพเหล่าผู้วิเศษ (ปลอม ๆ อีกเช่นกัน) และมีส่วนที่กล่าวถึงการเคลื่อนทัพของพระรามไปยังสนามรบ ซึ่งระหว่างที่เคลื่อนพลก็เกิดปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ มากมายจากพรข้อนี้ ในตอนที่อินทรชิตจัดทัพออกไปรบกับฝ่ายพระราม อินทรชิตจึงใช้อุบายแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เพื่อให้พระรามและกองทัพหลงใหลในความงดงามอลังการ เนื้อหาส่วนใหญ่จึงพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่สวยงามของช้างเอราวัณ
ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับสมเด็จ พระอมรินทรา พระบรมราชีนี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มี ความเชี่ยวชาญในราชการบ้านเมืองใน ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรม
ผู้เเต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับสมเด็จ พระอมรินทรา พระบรมราชีนี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มี ความเชี่ยวชาญในราชการบ้านเมืองใน ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรม
:
-
-
-