Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชในป่าชุมชน บ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด…
ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชในป่าชุมชน บ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวงจังหวัดนครราชสีมา
บทนำ
ป่าบ้านโนนซาดเป็นป่าทำเลเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเข้าไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์หรือใช้สอยเป็นพืชอาหาร สมุนไพร และอื่นๆ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพรรณพืชตามเส้นทางเดินป่าในป่าบ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา อีกทั้งยังทราบแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชในพื้นที่ป่าแห่งนี้ให้ยั่งยืนต่อไป
วิธีดำเนินการวิจัย
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำรวจพื้นที่ป่าบ้านโนนซาด โดยสำรวจพืชที่มีการใช้ประโยชน์ตามเส้นทางเดินป่าบริเวณสองข้างทาง ข้างละ 5เมตร
ถ่ายภาพ บันทึกข้อมูลภาคสนาม เก็บตัวอย่างเพื่อใช้ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ตามวิธีของ ก่องกานดา(2545) ชื่อพื้นเมืองใช้ตามท้องถิ่นที่มีการสำรวจในด้านการใช้ประโยชน
สอบถามข้อมูลของพืชที่มีการใช้ประโยชน์จากคนในชุมชน โดยแจกแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างกับประชากรในพื้นที่จ านวน 30 ครัวเรือน
สำหรับตัวอย่างอ้างอิงเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืชมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผลการวิจัย
การศึกษาพบความหลากหลายของพืชในป่าบ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 36 วงศ์ 54 สกุล 57 ชนิด
วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ FABACEAE
พบ 7 ชนิด
พืชที่พบมาก เช่น ต้นเต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) ต้นรัง (Shorea siamensis Miq.) และกุง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.)
รองลงมา คือ วงศ์ ANACARDIACEAE ,วงศ์ ANNONACEAE วงศ์ APOCYNACEAE ,วงศ์ DIPTEROCARPACEAE พบวงศ์ละ 3 ชนิด
การใช้ประโยชน์โดยแบ่งเป็น 8 ประเภท ได้แก่ 1) ด้านอาหาร 2) ด้านสมุนไพร 3) ด้านก่อสร้าง 4) ด้านเชื้อเพลิง 5) ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ 6) ด้านสีย้อม 7) ด้านความเชื่อ และ 8) ด้านอิ่นๆ
สรุปผลการวิจัย
ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชในป่าบ้านโนนซาดตำบลท่าลาด อำเภอ
ชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา พบพืช จำนวน 36 วงศ์ 54 สกุล 57 ชนิด
การใช้ประโยชน์โดยแบ่งเป็น 8 ประเภท ได้แก่ 1) ด้านอาหาร 2) ด้านสมุนไพร 3) ด้านก่อสร้าง 4) ด้านเชื้อเพลิง 5) ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ 6) ด้านสีย้อม 7) ด้านความเชื่อ และ 8) ด้านอื่นๆ
ส่วนของพืชที่นำมาใช้
มากที่สุด คือ ลำต้น
รองลงมา คือ ผล ใบ ยอด ราก ดอก เมล็ด และหน่อ ตามลำดับ
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในหลายด้าน เช่น เป็นฐานข้อมูลพื้นฐานความหลากหลายของพืช รวมถึงการใช้ประโยชน์ในป่าชุมชนแห่งนี้ ซึ่งนำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไปในอนาคต และใช้ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์พืชที่หายาก ซึ่งพบจำนวนน้อยในพื้นที่ เช่น ต้นต้องแล่ง และติงตัง ซึ่งก็ใช้เป็นอาหารเป็นหลัก การมีความหลากหลายของพืชมากแสดงถึงความมั่นคงในอาหาร หากมีการอนุรักษ์ไว้ก็จะมีความยั่งยืนต่อไป
นางสาวกนกวรรณ แย้มยิ้ม รหัสนักศึกษา 611120409 โปรแกรมวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์