Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลและการเตรียมรับในระยะท้ายของชีวิต, แหล่งที่มา https://www.pobpad…
การดูแลและการเตรียมรับในระยะท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการทรุดหนัก ป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีแนวโน้มเสียชีวิตในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวโยงกับการดูแลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษาให้ครอบครัวได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านจิตใจและการใช้ชีวิตหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว และให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้จากไปอย่างสงบ
ผู้ป่วยแบบใดถือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย
มีอาการป่วยที่ทรุดลงเรื่อย ๆ และมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมด้วย โดยแพทย์คาดว่าผู้ป่วยอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี
มีอาการป่วยที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากอาการที่กำเริบไปสู่ภาวะวิกฤต
ป่วยด้วยโรคที่ลุกลามและไม่สามารถรักษาได้ เช่น โรคมะเร็ง ภาวะสมองเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสหรือโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม
เผชิญภาวะอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน จากสถานการณ์ร้ายแรง เช่น เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน หรือประสบอุบัติเหตุรุนแรง
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรเริ่มตอนไหน
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงไม่ใช่การเริ่มดูแลในระยะที่ผู้ป่วยใกล้หมดลมหายใจ แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่แพทย์แจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่าผู้ป่วยเหลือเวลาในการใช้ชีวิตอีกยาวนานเพียงใด บางรายอาจมีเวลาให้ผู้ป่วยกับครอบครัวได้วางแผนเตรียมตัวใช้ชีวิตที่เหลืออีกหลายเดือน แต่บางรายก็อาจเหลือเวลาไม่มากนัก เพียงไม่กี่วัน หรือไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
ทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สถานพยาบาล
ผู้ป่วยบางรายอาจเลือกหรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้เวลาในวาระสุดท้ายของชีวิตอยู่ที่สถานพยาบาล เช่น อาการปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน หรือผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน เจ็บป่วยกะทันหันขึ้น โดยอาจได้รับการดูแลที่สถานพยาบาลเพียงชั่วคราว เมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็สามารถกลับไปดูแลต่อที่บ้านได้หากผู้ป่วยและครอบครัวต้องการ
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน
หากผู้ป่วยหรือญาติตัดสินใจที่จะดูแลผู้ป่วยที่บ้าน แพทย์ผู้ดูแลจะแนะนำขั้นตอนและวิธีการดูแล โดยสมาชิกในครอบครัว ญาติ เพื่อนของผู้ป่วย และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยกันดูแลผู้ป่วยให้บรรเทาจากอาการหรือความเจ็บปวดทางร่างกาย รวมทั้งให้กำลังใจให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและลดความกังวลต่าง ๆ ลง
ขั้นตอนและวิธีการในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลทางด้านร่างกาย
ความเมื่อยล้า
ผู้ป่วยควรรักษาสมดุลระหว่างการพักผ่อนกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมื่อยล้าอ่อนแรงที่ทรุดหนักลง โดยอาจทำกิจกรรมอย่างการดูหนังฟังเพลง ออกไปเที่ยวนอกบ้านบ้าง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชื่นชอบเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย
ปัญหาการหายใจ
หากผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก ควรรีบแจ้งให้แพทย์หรือผู้ดูแลทราบ เพื่อทำการรักษาดูแลต่อไป
ความเจ็บปวด
การบรรเทาความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย สามารถทำได้ด้วยการให้ยาแก้ปวดแก่ผู้ป่วย อาจให้ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น หรือในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง แพทย์อาจให้ยากลุ่มมอร์ฟีนเพื่อระงับอาการปวด ทั้งนี้ การเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ ความรุนแรง และบริเวณที่ปวดด้วย
ปัญญาด้านการกิน
การปฏิเสธอาหารและความอยากอาหารที่ลดลง เป็นส่วนหนึ่งในภาวะอาการของร่างกายในระยะก่อนเสียชีวิต ครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดควรทำความเข้าใจ และอาจแสดงความรักต่อผู้ป่วยด้วยวิธีอื่นแทน เช่น การพูดคุย การกอด เป็นต้น
การดูแลทางด้านจิตใจ
ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรพูดคุย ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจให้ผู้ป่วยผ่านช่วงเวลาที่เป็นทุกข์ไปได้ เข้าใจและยอมรับสถานการณ์ในปัจจุบัน
การดูแลด้านจิตวิญญาณ
ผู้ดูแลควรพูดคุยกับผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็นและทัศนคติต่อเรื่องต่าง ๆ ความเชื่อ ประสบการณ์ สิ่งที่มีค่ามีความหมายในชีวิต หรืออาจเชิญให้นักบวชตามศาสนาที่ผู้ป่วยนับถือเลื่อมใสมาพบปะสนทนาให้ผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลายสบายใจ เข้าใจธรรมชาติของการดำรงอยู่ เพื่อเตรียมความพร้อมและทำจิตใจให้สงบเมื่อวันนั้นมาถึง
การดูแลทางด้านสังคม
ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม
การบอกลาในช่วงเวลาสุดท้าย
ผู้ดูแลอาจผลัดเปลี่ยนกันอยู่ดูแลเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าต้องจากโลกนี้ไปอย่างโดดเดี่ยว โดยในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะสิ้นลมหายใจ ครอบครัว คนรัก เพื่อนสนิท และบุคคลที่ใกล้ชิดควรอยู่ให้กำลังใจหากเป็นไปได้ ให้ผู้ป่วยได้พูดคุยปลดปล่อยสิ่งที่ต้องการพูดแต่ไม่มีโอกาส หรือสิ่งที่คับข้องใจมาเป็นเวลานาน เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การให้อภัย เพื่อให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างหมดห่วงหมดความกังวล
การจัดการหน้าที่รับผิดชอบ
การจัดการภาระดังกล่าว อาจรวมไปถึงการจัดการแจกแจงแบ่งสันปันส่วนมรดกและทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ป่วยด้วย โดยผู้ป่วยอาจทำพินัยกรรมไว้ในขณะที่ยังมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน เพื่อให้ครอบครัวและบุคคลที่ใกล้ชิดสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ในภายหลัง แม้ต้องเสียบุคคลที่พวกเขารักไป
สิ่งที่ต้องทำหลังบุคคลอันเป็นที่รักได้จากไป
ในกรณีที่ผู้ป่วยบริจาคอวัยวะหรือบริจาคร่างกาย ญาติต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้จัดการและรับศพไปดำเนินการตามที่ผู้ป่วยได้ทำข้อตกลงไว้ก่อนเสียชีวิต
นำหลักฐานซึ่งเป็นเอกสาร คือ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้ตาย และหนังสือรับรองการตายจากแพทย์หรือใบรับแจ้งการตายจากผู้ใหญ่บ้าน (ถ้ามี) ไปแจ้งการตายที่สถานีตำรวจ จากนั้นจึงไปแจ้งตายที่สำนักงานเทศบาลหรือที่ว่าการเขต/อำเภอในท้องที่ ภายใน 24 ชั่วโมง
บางกรณีหรือหากมีความจำเป็น แพทย์อาจต้องชันสูตรศพผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัด
หลังจากนั้นครอบครัวจึงนำศพไปทำพิธีตามศาสนาได้ ภายใต้ความถูกต้องตามหลักกฎหมาย และความประสงค์ของครอบครัว
การแสดงเจตจำนงก่อนตายของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การมอบอำนาจตัดสินใจ
ในสภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจใด ๆ ได้ด้วยตนเอง ผู้ที่ได้รับมอบสิทธิ์ในการตัดสินใจแทนผู้ป่วยจะมีสิทธิ์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ใด ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย และผู้ป่วยอาจมอบหมายให้ทนายหรือตัวแทนด้านกฎหมายจัดการกิจธุระใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินและสิทธิทางกฎหมายต่าง ๆ ของผู้ป่วยได้ด้วยเช่นกัน
การบริจาคอวัยวะหรือการบริจาคร่างกาย
แพทย์อาจสอบถามผู้ป่วยถึงความประสงค์ในการบริจาคอวัยวะ ส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยรายอื่น ๆ ต่อไปหลังผู้ป่วยเสียชีวิต หรือการบริจาคร่างกาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาทางการแพทย์ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องยินยอมและตัดสินใจด้วยตนเองว่าต้องการบริจาคหรือไม่
เจตจำนงทางการรักษา
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ยังมีสติสัมปชัญญะควรอย่างยิ่งที่จะแสดงเจตจำนงทางการรักษาเป็นการยินยอมทางวาจา ทางกริยาท่าทาง หรือลงลายมือชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรว่าผู้ป่วยต้องการการรักษาแบบใด มากน้อยเพียงใด
แหล่งที่มา
https://www.pobpad.com