Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 10 อุบัติเหตุฉุกเฉินกรณีผู้รับบริการได้รับสารพิษ - Coggle…
กรณีศึกษาที่ 10 อุบัติเหตุฉุกเฉินกรณีผู้รับบริการได้รับสารพิษ
การวางแผนขั้นต้น (Initial plan)
Problem: ชีพจรเบาเร็ว ปัสสาวะออกน้อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
แขนขาอ่อนแรง ผิวแห้งเล็กน้อย ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตสูง
S : ผู้ป่วยบอกว่ารับประทานยาฆ่าแมลงชนิดผงที่ใช้กำจัดมดและแมลงสาป 1 กระป๋องมีอาการแน่นหน้าอก เวียนศรีษะคลื่นไส้อาเจียน 12 ชั่วโมงก้อนมาโรงพยาบาล
O : ตรวจร่างกายพบ : BT = 36.6 องศาเซลเซียส , PR = 102 bpm , RR = 24 bpm, BP: 169/116 mmHg. ปัสสาวะออกน้อย ,ชีพจรเบาเร็ว ,การขยายของทรวงอกขณะหายใจเข้าช้าและตื้น,ฟังเสียงลมเข้าปอดเบา , แขนขา อ่อนแรง ,ผิวแห้งเล็กน้อย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ : WBC = 21,120 cell/count , Neutrophils = 87% , Mg = 1.3 MG/DL , BUN =
20.3 MG/DL , Creatinine = 1.0 MG/ DL
Assessment (A) : การประเมินหรือวิเคราะห์ปัญหาและการวินิจฉัยแยกโรค
A: ผู้ป่วยรายนี้น่าจะคิดถึงโรค
1.ผู้ป่วยได้รับสารพิษกลุ่ม Organochlorine
สรุป ในผู้ป่วยรายนี้เข้าได้กับผู้ได้รับสารพิษชนิด Organochlorine โดยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ แต่ไม่มีอาการ หอบ ชัก หมดสติ tremor, agitation ปวดศีรษะ หรือ disorientation
2.ผู้ป่วยได้รับสารพิษกลุ่ม Organophosphate
สรุป ผู้ป่วยรายนี้ไม่สอดคล้องกับผู้ที่ได้รับสารพิษชนิด Organophosphate เนื่องจาก ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของการได้รับสารพิษชนิดดังกล่าว ได้แก่ น้ำลายไหล (salivation), น้ำตาไหล (lacrimation) , ปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urination) , ถ่ายอุจจาระ (diarrhea) และปวดมวนท้อง (GI upset)
3.ผู้ป่วยได้รับสารพิษกลุ่ม Carbamate Insecticide
สรุป ผู้ป่วยรายนี้ไม่สอดคล้องกับผู้ที่ได้รับสารพิษชนิด Carbamate Insecticide เนื่องจากไม่มีอาการและอาการแสดงของการได้รับสารพิษชนิดดังกล่าว ได้แก่ น้ำตาไหล เหงื่อออก ม่านตาหดตัวกลั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่ กระสับกระส่าย ตื่นตกใจง่ายและอารมณ์ พลุ่งพล่าน
4.ผู้ป่วยได้รับสารพิษกลุ่ม Pyrethrins
สรุป ผู้ป่วยรายนี้ไม่สอดคล้องกับผู้ที่ได้รับสารพิษชนิด Pyrethrins เนื่องจากไม่มีอาการและอาการแสดงของ
การได้รับสารพิษชนิดดังกล่าว ได้แก่ ตื่นเต้น กระสับกระส่าย รายที่รุนแรงอาจมีอาการชักและหมดสติ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
ประวัติทั่วไป
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 62 ปี รูปร่างสมส่วน น้ำหนัก 60 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า BMI = 23.44 กิโลกรัม/
ตารางเมตร สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ สถานภาพ หม้าย ตกงาน ไม่มีรายได้ 3 เดือน
อาการสำคัญ
แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก รับประทานยาฆ่าแมลงชนิดผง 12 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยรับประทานยาฆ่าแมลงชนิดผงที่ใช้กำจัดมดและ แมลงสาป 1 กระป๋อง
หลังจากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เพื่อนบ้านนำส่งโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงมาประมาณ 7 ปี รักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล ไม่มีประวัติ
โรคติดต่อร้ายแรงใด ๆ
การทบทวนประวัติอาการตามระบบ (Systemic review)
ผิวหนัง : สีดําแดง ผิวแห้งเล็กน้อย
ศีรษะ ใบหน้าและลําคอ : ผมสีดํา ลักษณะใบหน้าทั้งสองข้างเท่ากัน ริมฝีปากแห้ง ตามีปฏิกิริยาต่อแสงดีทังสองข้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร มองเห็นภาพชัด ใบหูทั้งสองข้างมีรูปร่างปกติได้ยินเสียงชัดเจนดีจมูกรูปร่าง ปกติ ปากจมูกทั้งสองข้างบาน ขณะหายใจเข้า ต่อมน้ำเหลืองไม่โต
ทรวงอกและทางเดินหายใจ : ทรวงอกลักษณะรูปร่างปกติอัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที การขยายตัวของทรวง อกขณะหายใจเข้าช้าและตื้น ฟังเสียงลมเข้าปอดเบา
ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ฟังเสียงหัวใจเต้นเร็ว 102 ครั้ง/นาที ชีพจรเบาเร็ว O2 sat 97%
ระบบทางเดินอาหาร : ผิวหนังหน้าท้องปกติ มีการเคลื่อนไหวของผนังหน้าท้องตามจังหวะ การหายใจเข้า-ออก คลําไม่พบตับและม้าม ไม่พบก้อน กดไม่เจ็บ
ระบบประสาท : รู้สึกตัวดี ทำตามสั่งได้ ยกแขนขาได้ แต่อ่อนแรง
ระบบทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะออกได้แต่ ค่อนข้างน้อย
ประวัติส่วนตัว
ชายไทย สถานภาพหมาย มีบุตร 3 คน ต่างแยกย้ายกันไปมีครอบครัวของตนเองปล่อยให้ผู้ป่วยอาศัยอยู่ คนเดียวผู้ป่วยขาดรายได้นื่องจากตกงาน มา 3 เดือน จึงเริ่มมีอาการเครียดตัดสินใจรับประทานยาฆ่าแมลง เนื่องจากลูก ๆ ไม่มาเยี่ยมเยียนขาดการติดต่อจากลูกหลาน
อุปนิสัย : ปกติเป็นคนไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ขยันทำงาน ช่วงหลังตกงานเนื่องจากอายุมากไม่มีคนจ้างงาน มียารักษา โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องรับประทานเป็นประจำ รับประทานบ้าง ไม่รับประทานยาบ้าง การประเมินสภาพร่างกาย จิตใจและสังคม
การวางแผนก่อนกลับบ้าน
D- Diagnosis ให้ความรู้เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง Carbamate Insecticide อธิบายถึงสาเหตุและอาการความรุนแรงของ
โรครวมทั้งแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M- Medicine แนะนำยาที่ผู้ป่วยต้องได้รับอย่างละเอียด อธิบายสรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ อาการข้างเคียงของยา ตลอดจนสังเกตภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งข้อห้ามในการใช้ยา
E- Environment แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเพราะอาจจะทำให้เกิดความเครียดได้ แนะนำให้ญาติเก็บยาและสารเคมีที่เป็นอันตรายในที่มิดชิด หรือเก็บให้พ้นสายตาผู้ป่วย
T- Treatment แนะนำผู้ป่วยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก หายใจไม่สะดวก อาเจียน หากมีอาการผิดปกติ
ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและให้การรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
H- Health แนะนำให้ญาติดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในเรื่องสุขภาพจิต เพื่อป้องกันการกระทำการฆ่าตัวตายซ้ำ
O- Out patient แนะนำผู้ป่วย มาตรวจร่างกายตามแพทย์นัด คือ วันที่ 5 ธันวาคม 2564 เพื่อติดตามประเมินอาการ
ตลอดจนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
D- Diet แนะนำการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค โดยแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ครบ 5 หมู่รับประทานอาหารตรงเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมากวันละ 2-3 ลิตร และหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ยาที่ได้รับ
-Ceftriaxone 2 g q 24 hr
-Omeprazole 40 mg lv q 12 hr
-Magnesium sulfate 10% 4g +5% D/M 100mg Vein drip in 3hr
-Omnicef Samnir 1 tab oral tid pc
-Omeprazole ( 20 mg ) 1 tab oral bid ac
-Domperidone 1 tab oral tid ac
-Oral rehydration salts (ละลายน้ำจิบ่อย ๆ)
0.9 NSS 1,000ml vein 80 ml/hr