Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย - Coggle Diagram
พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย
ศิลปินผู้ทรงคุณค่า
ชื่อศิลปิน: นางสมสุข กัลย์จาฤก
สาขา: ศิลปะการแสดงภาพยนตร์และละคร
สาขาย่อย: นาฏศิลป์-ละคร
ปีที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ: 2561
-
ชื่อศิลปิน: นายเสรี หวังในธรรมสาขา: สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร)
สาขาย่อย: นาฏศิลป์-ละคร
ปีที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ : 2531
-
ชื่อศิลปิน: นางสาวจำเรียง พุธประดับสาขา: ศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย) สาขาย่อย: นาฏศิลป์-ละครปีที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ: 2531
-
ชื่อศิลปิน: นางรัจนา พวงประยงค์สาขา: ศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย) สาขาย่อย: นาฏศิลป์-ละครปีที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ: 2554
-
ชื่อศิลปิน: ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนีสาขา: ศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย)
สาขาย่อย: นาฏศิลป์-ละคร
ปีที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ : 2528
-
-
รูปแบบนาฏศิลป์ไทย
1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี หรือบางที่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น
-
-
-
-
2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น
-
-
-
- ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น
การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภท
-
-
-
- มหรสพ' คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น
-
-
-
ความหมาย
นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม
-
ที่มา
นาฏศิลป์ไทย เกิดมาจากกิริยาท่าทางซึ่งแสดงออกในทางอารมณ์ของมนุษย์ปุถุชน อากัปกิริยาต่างๆ เป็นมูลเหตุให้ปรมาจารย์ทางศิลปะนำมาปรับปรุงบัญญัติสัดส่วนและกำหนดวิธีการขึ้นจนกลายเป็นท่าฟ้อนรำ โดยวางแบบแผนลีลาท่ารำของมือ เท้า ให้งดงาม รู้จักวิธีเยื้องยักและกล่อมตัว ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นท่ารำขึ้น และมีวิวัฒนาการปรับปรุงมาตามลำดับ จนดูประณีตงดงาม อ่อนช้อยวิจิตรพิสดาร ถึงขั้นเป็นศิลปะได้
นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานเช่น วัฒนธรรมอินเดียที่เกี่ยวกับเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์
-
-
-