Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบต่อมไร้ท่อ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบต่อมไร้ท่อ
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
T1DM
อาการและอาการแสดง ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
เบาหวานชนิดที่ 1 นี้ พบประมาณ 5-10% ของโรคเบาหวานทุกประเภท ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นมีน้อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย
T2DM
เบาหวานชนิดที่ 2 นี้ พบเป็นจำนวน 90-95% ของจำนวนโรคเบาหวานทุกชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานประเภทนี้ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ความอ้วน บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวาน ประวัติการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความต้านทานต่อกลูโคสต่ำ ร่างกายไม่เคลื่อนไหว เชื้อชาติ ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ มีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
GDMโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เกิดขึ้น 2-5% ของจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่พบหลังการคลอดบุตรแล้ว ผู้หญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการพัฒนาที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีงานวิจัยกล่าวไว้ว่า ร้อยละ 40 ของผู้หญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพัฒนาเป็นเบาหวานได้ในอนาคต
การวินิจฉัย
การวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (Fasting plasma glucose : FPG)
ผลการสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (nonfasting plasma glucose)
การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส
การรักษา
การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้จึงอาจทำให้โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ยากต่อการควบคุม การรักษาจึงต้องมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอาหารอย่างระมัดระวัง วางแผนเรื่องการออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI)
การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการรักษาได้แก่การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเอง และในบางกรณีอาจต้องมีการการรักษาด้วยยารับประทานและ/หรือฉีดอินซูลินร่วมด้วย ซึ่งมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 40% ที่ต้องฉีดอินซูลินร่วมด้วย
การพยาบาลผู้ป่วยต่อมพาราไทรอยด์และไทรอยด์ผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายต่ำ มีอาการทางระบบประสาท หมดสติ หัวใจเต้นช้า หายใจช้า เบาตื้น
การตรวจวินิจฉัย
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ NAต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง หัวใจโต
การรักษา
ให้ฮอร์โมนทดแทน ค้นปัจจัยกระตุ้น แก้ไขตามอาการ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของต่อมหมวกไต
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย ได้แก่ อัลโดสเตอโรน , คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน
สารที่หลั่งออกมาจากส่วนเมดุลล่าคือเอพิเนฟรีน (Epinephrine หรือ Adrenaline) ซึ่ง มีอิทธิพลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อเล็กๆที่ผนังเส้นโลหิต ทำให้แรงดันของโลหิตสูงพอที่จะให้โลหิตไหลเวียนไปได้ตามความต้องการของ ร่างกาย นอกจากนี้ยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติฝ่ายซิมพาเธติค และช่วยทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เป็นการให้ผลที่ตรงกันข้ามกับอินซูลิน Insulin
โรคคุชชิง (Cushing's syndrome) เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์ นาน ๆ เช่น การใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยเอสเอลอี, ปวดข้อรูมาตอยด์, โรคไตเนโฟรติก เป็นต้น หรือเกิดจากการกินยาชุด ที่เข้ายาสเตอรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากต่อมหมวกไต(Adrenocortical adenoma) สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์มากผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีเนื้องอกของต่อมหมวกไต หรือเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป) หรือเนื้องอกของ ส่วนอื่น ๆ (เช่น มะเร็งปอด รังไข่ ตับหรือไต) ที่สร้างฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมาก โรคคุชชิงไม่ได้เกิดจากการใช้ยาสเตอรอยด์ เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก และพบมากในผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน โอกาสการตรวจพบโรคนี้ในเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 5 เท่า
การวินิจฉัยเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต Diagnosis
การตรวจเอกซเรย์พิเศษเพื่อดูลักษณะของก้อน การกระจายไปต่อมน้ำเหลือง และการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงโดยอาจทำ CT scan , MRI , PET scan ในเด็กที่ความดันโลหิตสูงสงสัยเนื้องอกของเซลล์ประสาท(neuroblatoma)ที่ผลิตฮอร์โมนอาจตรวจด้วย MIBG scan เพื่อให้เห็นต่อมหมวกไตชั้นใน
การตรวจระดับของฮอร์โมนต่างๆของต่อมหมวกไต(diagnostic hormonal test) ซึ่งจะใช้วิธีเจาะเลือด หรือเก็บปัสสาวะที่ถ่ายออกมาตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าตรวจพบระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ ไม่ว่าเอกซเรย์จะเป็น adrenoma ธรรมดาก็ผ่าตัดออกไป
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของต่อมใต้สมอง
ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง
เนื้องอกต่อมใต้สมองคือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมใต้สมอง โดยเนื้องอกชนิดนี้มักไม่เป็นมะเร็งและมักจะไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การเกิดเนื้องอกต่อมใต้สมองมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานในหลายระบบของร่างกาย ทั้งนี้การรักษาอาจรวมถึงการผ่าตัด การใช้ยาเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมน ตลอดจนการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
สัญญาณและอาการของเนื้องอกต่อมใต้สมองแตกต่างกันไปตามฮอร์โมนที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับขนาดและการกดทับของเนื้องอกในโครงสร้างอื่น ๆ เนื้องอกที่มีขนาด 1 เซนติเมตรถือเป็นเนื้องอกต่อมใต้สมองขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Macroadenomas เนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่านี้ เรียกว่า Microadenomas
เนื้องอกต่อมใต้สมองเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อตัวเป็นเนื้องอกในต่อมใต้สมอง สาเหตุของการเติบโตที่ผิดปกตินี้ยังไม่ชัดเจน แต่พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอาจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเนื้องอกต่อมใต้สมอง
การวินิจฉัย
การตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อวัดระดับฮอร์โมน การถ่ายภาพสมอง การทดสอบการมองเห็น