Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บาสเกตบอล - Coggle Diagram
บาสเกตบอล
การดูแลรักษาอุปกรณ์ในกีฬาบาสเกตบอล
เครื่องแต่งกายต้องดูแลรักษาให้สะอาดเสมอ เมื่อนำไปซักล้างต้องผึ่งแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้
การสูบลมหรือปล่อยลมออกจากลูกบาสเกตบอล ควรใช้เข็มที่ใช้กับลูกบอลโดยเฉพาะ ถ้าใช้ของแหลมชนิดอื่นอาจจะทำให้ลูกบอลชำรุดได้ง่าย
อย่าให้ลูกบาสเกตบอลที่ทำด้วยหนังถูกน้ำนานๆ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้นแล้ว ยังทำให้ลูกบอลชำรุดเร็วกว่าปกติด้วย ดังนั้นเมื่อลูกบอลถูกน้ำควรใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทันทีก่อนที่จะนำลูกบอลมาเล่นต่อไป
ลูกบาสเกตบอลต้องเก็บให้เรียบร้อยเมื่อเลิกใช้ ห้ามนำลูกบาสเกตบอลไปเล่นผิดประเภทกีฬา เช่น นำไปเตะ หรือไม่นำมารองนั่ง เพราะจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง
ประโยชน์จากการออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพที่ดี
มีสมรรถภาพทางกายสูงขึ้น สามารถทำงานหนักโดยไม่ได้รับการบาดเจ็บ
ช่วยรักษารูปร่างให้ได้สัดส่วนสง่างามเหมาะสมได้
มีความคล่องตัวร่างกายมีความสัมพันธ์กันดี เช่น สายตา กล้ามเนื้อแขนขา รักษาความสมดุลของร่างกายได้ดี
ด้านจิตใจและอารมณ์
ความมีน้ำใจในนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย จะบังเกิดขึ้นกับผู้เล่นกีฬา
มีความอดทนอดกลั้นสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อม อันจะก่อให้เกิดสมาธิ สติ และอารมณ์มั่นคงไม่หวั่นไหวง่าย
มีความสนุกสนานต่อการเล่น อันก่อให้เกิดอารมณ์ที่แจ่มใส ร่าเริง ไม่เคียด สามารถปรับปรุงตนเองและทีให้ดีขึ้น
มีสติและปัญญา รู้จักวางแผนการรุก การป้องกัน คิดหาวิธีการที่จะเล่นให้ประสบผลสำเร็จกับคู่แข่งขัน ซึ่งก่อให้เกิดความเฉลียวฉลาดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
กฎ กติกาการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลย่อมสอนให้ผู้เล่นรู้จักคามยุติธรรม สร้างนิสัย ในตนเอง ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมต่อผู้เล่นด้วยกันเสมอ
ด้านสังคม
ทำให้เกิดมีความรักความสามัคคีของหมู่คณะ
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมดีขึ้น เกิดมิตรภาพระหว่างเพื่อนภายในทีมและต่างทีม
ทำให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น อันจะก่อให้เกิดการสร้างวินัยที่ดีในการออกกำลังกายทั้งของตนเองและสังคม
ประวัติความเป็นมาของกีฬาบาสเกตบอล
ในต่างประเทศ
กีฬาบาสเกตบอลได้กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก ดร. เจมส์ เอ เนสมิท (James A. Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรมสมาคม Y.M.C.A. นานาชาติ (International Young Men’s Christian Association Training School) ที่เมืองสปริงฟิลด์ มลรัฐเมสซาชูเซตส์ ในช่วงที่หิมะตก เมื่อปี ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) ใช้ตะกร้าลูกพีช 2 ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่า “บาสเกตบอล” (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้ลูกฟุตบอลเล่น มีผู้เล่นทั้งหมด 18 คน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายๆ ละ 9 คน และตัวของ ดร.เนสมิท เป็นกรรมการ
ในไทย
ประเทศไทยเริ่มเล่นบาสเกตบอลมากว่า 60 ปีแล้ว มีหลักฐานยืนยันว่า ใน พ.ศ. 2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ ครูสอนภาษาจีน โรงเรียนมัธยมบพิตรพิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปลกติกาบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรก และทางกรมพลศึกษาได้จัดอบรมครูพลศึกษาทั่วประเทศ ประมาณ 100 คน ใช้เวลา 1 เดือน วิทยากรสำคัญในการอบรมครั้งนั้น ได้แก่ หลวงชาติตระการโกศล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการเล่นกีฬาบาสเกตบอล ทั้งยังเคยเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันบาสเกตบอล เมื่อครั้งศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายทั่วประเทศไทย นิยมเล่นกันมากในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามหัวเมือง ในตลาดเขตอำเภอของจังหวัดต่างๆ
มารยาทของการเป็นผู้เล่นที่ดี และมารยาทขอองการเป็นผู้รับชมที่ดี
มารยาทผู้เล่นที่ดี
ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
สุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด
เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล
ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น จะด้วยวาจาหรือท่าทาง
มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น
ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี
ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด
ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
มารยาทผู้ชมที่ดี
ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่า หรือคัดค้านการตัดสิน
ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน
ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ
ไม่กระทำการใดๆอันเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของผู้เล่น และผู้ตัดสิน
แสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่ดีเช่นปรบมือ