Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 32 ปี DX.โรคจิตเภท(Schizophrenia) - Coggle Diagram
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 32 ปี
DX.โรคจิตเภท(Schizophrenia)
ประวัติส่วนตัว
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 32 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1 ประกอบอาชีพ ก่อสร้าง มีบุตร 1 คน เพศชาย อายุ 10 ขวบ ปัจจุบันผู้ป่วยอาศัยอยู่กับป้าและลุง
ประวัติการเจ็บป่วย
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน
ผู้ป่วยไม่มีอาการหูแว่ว สีหน้าปกติ พูดคุยตอบรู้เรื่องช่วยเหลือตนเองได้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นดี
ประวัติปัจจุบัน
เมื่อ30ปีก่อนผู้ป่วยอยู่กับบิดาและผู้เป็นบิดาดมกาวจึงทำให้ตัวเองติดไปด้วย ป้าและลุงจึงนำส่งโรงพยาบาลและรักษาทำให้ปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการสมองฝ่อคือไม่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาตามวัย เป็นผู้พิการด้านสมอง สมองฝ่อ และมีอาการหูแว่วในบางครั้งปัจจุบันผู้ป่วยไม่มีอาการหูแว่ว สีหน้าปกติ พูดคุยตอบรู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นดี
ประวัติอดีต
ทางกาย -ปฏิเสธโรคติดต่อร้ายแรง ปฏิเสธการแพ้อาหาร แพ้ยา
ทางจิต -โรคจิตเภท (Schizophrenia)
ทางสมอง –เป็นผู้พิการทางสมอง (สมองฝ่อ)
การประเมินสภาพจิต
การรับรู้ (Orientation)
เวลา : ผู้ป่วยบอกได้ว่าเวลานี้เป็นเวลาตอนเช้าแต่ไม่สามรถบอกได้ว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ปี พ.ศ.อะไร
สถานที่ : ผู้ป่วยบอกได้ว่าขณะนี้ตนเองอยู่ที่วัดบ้านโป่ง
บุคคล : ผู้ป่วยสามาถบอกได้ว่าคนที่กำลังคุยด้วยคือหมอ และคนที่ให้มาในวันนี้คือ
ผู้ใหญ่บ้านแต่ไม่สามารถบอกชื่อได้
ความจำ (Memory)
เรื่องราวในอดีต(Remote memory)
ผู้ป่วยสามารถบอกได้ว่าตนเองจบจากโรงเรียนวัดปลักแรดจบชั้นประถมศึกษาปีที่1เพราะไม่สามารถเรียนต่อได้เนื่องจากเป็นผู้พิการด้านสมองเรียนไม่ได้
ความจำระยะสั้น(Recent memory)
ผู้ป่วยสามารถบอกได้ว่าตอนเช้ารับประทานโจ๊กป้าอ่อย
ที่หน้าวัด
ความจำเฉพาะหน้า(Retention and Recall)
ให้ผู้ป่วยจำของ 3 อย่าง ได้แก่ รถยนต์แม่น้ำ ดอกไม้ ผ่านไป 5 นาที ผู้ป่วยสามารถตอบได้แค่รถยนต์ เนื่องจากผู้ป่วยบอกว่าจำไม่ได้
อารมณ์(Affect & Mood)
Affect : ผู้ป่วยมีสภาพอารมณ์ที่เป็นปกติเหมาะสมกับสถานการณ์เมื่อพูดคุยก็จะยิ้มบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอารมณ์หงุดหงิดขณะพูดคุยแสดงอารมณ์สัมพันธ์กับเรื่องที่กำลังพูดคุย(Appropriate affect)
Mood : ผู้ป่วยมีสีหน้านิ่ง ขณะพูดจะมองหน้าหรือสบตาคู่สนทนา และผู้ป่วยบอกว่าตนเอง ปกติดี ไม่มีปัญหา “ บอกว่าไม่เคยเครียด”เป็นมิตรพูดไม่เก่งแต่ก็ตอบคำถามให้ความร่วมมือทุกครั้งไม่มีอารมณ์โกรธ ใจเย็นแต่จะมีขมวดคิ้วเล็กน้อยเมื่อฟังไม่เข้าใจ
การพยากรณ์โรค
การพยากรณ์โรคดี : มีญาติคอยช่วยเหลือใกล้ชิด
การพยากรณ์โรคไม่ดี : เป็นมานาน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
ครอบครัว
เมื่อตอนอายุ 2 ขวบผู้ป่วยได้อยู่กับบิดาและผู้เป็นบิดาดมกาวจึงทำให้ตัวเองติดไปด้วยป้าและลุงจึงนำส่งโรงพยาบาลและรักษาทำให้ปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการสมองฝ่อคือไม่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาตามวัเป็นผู้พิการด้านสมอง
เพื่อน
เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการทางสมองและปกติไม่ค่อยเข้าสังคมจึงทำให้ไม่ค่อยมีเพื่อน
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมรอบบ้านดี ไม่แออัด
ปัจจัยด้านชีวภาพ
ทฤษฎีชีวภาพการแพทย์
(Bio-Medical Model)
ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท
(Neurotransmitter)
สารที่ก่อให้เกิด
สารระเหย
สารระเหย เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมแพร่สู่ถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด
สารระเหยเข้าไปในเซลล์ประสาทและ
เปลี่ยนแปลงการซึมผ่านของอิออนต่างๆบริเวณเซลล์สมอง
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองและเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นสารสื่อประสาทชนิดGamma-Aminobutryic Acid (GABA) และglycineal receptor รวมทั้งยับยั้ง N-methy-p-aspartate receptor
1 more item...
การรักษา
การพยาบาล
ผู้ป่วยมีแบบแผนการเผชิญปัญหาไม่เหมาะสม เนื่องจากมีทักษะในการ จัดการกับปัญหาไม่ถูกต้อง
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อพูดคุย ถึงแบบแผนการเผชิญปัญหาที่ผู้ป่วยเคยใช้ในอดีตและแบบแผนการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมในปัจจุบัน
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายถึงความคับข้องใจ ความอึด อัดใจ ความไม่สบายใจ หรือเรื่องที่เป็นปัญหาขณะอยู่ที่บ้าน ของตน และวิธีการที่เคยใช้ในการแก้ปัญหา
รับฟังปัญหาที่ผู้ป่วยเล่าอย่างตั้งใจและใส่ใจโดยไม่โต้แย้ง หรือตำหนิผู้ป่วย
แนะนำการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เช่น ผ่อนคลายอารมณ์ ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง หรือ ดูรายการโทรทัศน์ที่ไม่เครียดจนเกินไป
ส่งเสริมกิจกรรมและความ สนใจพิเศษในชีวิตประจำวัน
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยก่อน สนทนาโดยการทักทายและแนะนำ ตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจ
แนะนำกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วย เช่น ปลูกต้นไม้ ทำงาน บ้าน ผู้ป่วยต้องมีกิจกรรมยามว่าง บางอย่างโดยอิสระ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการหากิจกรรม ผู้ป่วยมีความสนใจและให้ลองทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมที่ตนเองสนใจในชีวิตประจำวัน
แนะนำให้ญาติมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยการกล่าวชื่นชมในการทำ กิจกรรมของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการทำกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มบำบัด
กิจกรรมอาชีวบำบัด
กิจกรรมศิลปบำบัด
กิจกรรมนันทนาการบำบัด
กิจกรรมประกอบอาหาร