Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 47 ปี Dx. Schizophrenia - Coggle Diagram
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 47 ปี
Dx. Schizophrenia
ประวัติการเจ็บป่วยของผู้รับบริการ
อาการสำคัญ
หูแว่ว ทาลายข้าวของ ปวดศีรษะมาก รู้สึกหงุดหงิดมาก ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติปัจจุบัน
30 ปีก่อน ผู้ป่วยถูกผู้ชายจับบริเวณก้น ผู้ป่วยรู้สึกไม่พอใจและโมโหมาก จึงมีการใช้มีดมาฟันที่ขาของ ตนเอง มารดาจึงพาไปรักษาที่วัด มีการรับประทานยาหม้อ และไม่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
20 ปีก่อน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะมาก ทาลายข้าวของในบ้าน มีอาการหงุดหงิดง่าย มารดาจึงนาตัวส่ง โรงพยาบาลราชบุรี หลังจากนั้นได้มีการส่งตัวมารักษาต่ออย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลบ้านโป่ง
ปัจจุบันผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาทางจิตเวชกับโรงพยาบาลราชบุรี และรักษาต่อที่โรงพยาบาลบ้านโป่ง ได้รับการรักษาโดยใช้ยาและฉีดยาอย่างต่อเนื่อง อาการปวดศีรษะทุเลาลง
อาการปัจจุบัน
ผู้ป่วยควบคุมตนเองได้ มีสีหน้ายิ้มแย้ม พูดคุยรู้เรื่อง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว และผู้อื่น มีอาการหัวเราะระหว่างการสนทนา ไม่มีอาการปวดศีรษะ หงุดหงิด หรือการทาชำลายของใช้ ความเครียดผู้ป่วยปฏิเสธ และไม่มีอาการหูแว่วแล้ว
ประวัติในอดีต
ผู้ป่วยเคยมีอาการเครียดจนช็อกหลายครั้ง เคยถูกเพื่อนแกล้งโยนลูกบาสเกตบอลใส่ศีรษะ เคยประสบอุบัติเหตุรถล้มระหว่างไปเที่ยวกับเพื่อน ได้รับบาดเจ็บ มีการสูบบุหรี่ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1 มวน และมีการดื่มสุรา 1 ครั้ง 1 ขวด
ประวัติส่วนตัว
ผู้ป่วยเพศหญิงวัยกลางคน อายุ 47 ปี
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ อาศัยอยู่ที่ตาบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ระดับการศึกษา ปวช. ปัจจุบันช่วยมารดาขายของชำ สถานภาพหย่า มีรายได้จาก เบี้ยผู้พิการ 800 บาท
การประเมินด้านสุขภาพจิตของผู้รับบริการ
ลักษณะทั่วไปทางด้านร่างกาย
(General Appearance)
หญิงไทยวัยกลางคน รูปร่างท้วม สวมเสื้อด้านในสีเทา ด้านนอกสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขาสั้นสีส้มอ่อน สะพายกระเป๋า ใส่รองเท้าแตะ แต่งกายสะอาด มัดผมเรียบร้อย ใส่หน้ากากอนามัย ขณะสนทนาผู้ป่วยมีการหลบตาบางครั้ง
การเคลื่อนไหว
(Activity / Movement)
สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เองโดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดิน สามารถยืนทรงตัวได้เอง ไม่มีอาการกระสับกระส่าย การเคลื่อนไหวร่างกายช้า
ความสามารถในการรับสัมผัส
(Perception)
หู : จากการสอบถาม ผู้ป่วยเคยได้ยินเสียงคนคุยกันข้างหู
ตา : จากการสอบถาม ผู้ป่วยปฏิเสธการเห็นภาพหลอน
การรับรู้(Orientation)
เวลา
- จากการสอบถาม “วันนี้วันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ปีพ.ศ.อะไร วันนี้เป็นวันอะไร ขณะนี้เวลากี่โมง”ผู้ป่วยตอบว่า “ วันนี้ 14 ธันวาคม 2564 วันอังคาร เวลา 9 โมง”
สถานที่
- จากการสอบถาม “ขณะนี้คุณอยู่ที่ไหน” ผู้ป่วยตอบว่า “ โรงเรียนสามัคคี วัดบ้านโป่ง”
บุคคล
- จากการสอบถาม “คุณชื่ออะไร อายุเท่าไหร่ ทราบไหมว่ากาลังคุยอยู่กับใคร” ผู้ป่วยตอบว่า “ ชื่อมัทนา อายุ 47 ปี กาลังคุยอยู่กับอารียา ”
ความจำ(Memory)
เรื่องราวในอดีต(Remote memory)
จากการสอบถาม “จำได้ไหมคะว่าคุณมัทนาเกิดวันที่เท่าไหร่”ผู้ป่วยตอบว่า “ วันที่ 13 มีนาคม 2517”
ความจำระยะสั้น(Recent memory)
จากการสอบถาม “เมื่อเช้าคุณมัทนารับประทานอาหารอะไรคะ” ผู้ป่วยตอบว่า “ ดื่มกาแฟมา”
ความจำเฉพาะหน้า(Recall)
จากการให้ผู้ป่วยจำของ 3 สิ่ง คือ แม่น้ำ รถไฟ ดอกไม้ ผู้ป่วยสามารถตอบได้แค่ 2 สิ่งคือรถไฟ ดอกไม้
ความรู้และระดับสติปัญญา
(Intellectual Functioning)
จากการสอบถาม “ประเทศไทยมีกี่ฤดู ได้แก่อะไรบ้าง”
ผู้ป่วยตอบว่า “ มี 3 ฤดู มี ร้อน ฝน หนาว ”
การตัดสินใจ(Judgment)
จากการสอบถาม “เมื่อคุณมัทนาพบซองจดหมายที่เขียนจ่าหน้าซองติดแสตมป์เรียบร้อยแล้วหล่นอยู่ข้าง ทางคุณเห็นคุณจะทำอย่างไร” ผู้ป่วยตอบว่า “ นำไปส่งตารวจ ”
ความคิด(Thought)
ความแตกต่าง
จากการสอบถาม “กลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันอย่างไร”
ผู้ป่วยตอบว่า “ กลางวันขายของ กลางคืนนอน”
ความเหมือน
จากการสอบถาม “กล้วยกับส้มเหมือนกันอย่างไร” ผู้ป่วยตอบว่า “ เป็นผลไม้”
ความหมาย
จากการสอบถาม “คุณทราบไหมคะว่า น้าขึ้นให้รีบตักมีความหมายว่าอย่างไร” ผู้ป่วยตอบว่า “ ถ้ามีโอกาสให้รีบทำ”
สมาธิและการมีสติ
(Attention and Concentration)
จากการทดสอบ โดยให้ผู้ป่วยลบเลขออกทีละ 3 เริ่มจากเลข 20 ผู้ป่วยตอบว่า “ 20-3=17, 17-3=14, 14-3=11”
การพูดและการใช้ภาษา
(Speech and language)
ผู้ป่วยพูดช้าใช้น้าเสียงราบเรียบ เสียงเบา การโต้ตอบสามารถโต้ตอบได้ทันที พูดโดยใช้ภาษาไทย
อารมณ์(Affect & Mood)
Mood
จากการสอบถาม “ส่วนใหญ่แล้วอารมณ์คุณเป็นอย่างไร” ผู้ป่วยตอบว่า “ อารมณ์ดี มีความสุข”
Affect
จากการสังเกต เมื่อพูดถึงเรื่องครอบครัวผู้ป่วยจะยิ้มมีความสุขและ ผู้ป่วยมีการแสดงออกของ อารมณ์ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่กาลังพูดถึง
การหยั่งรู้สภาพความเจ็บป่วย(Insight)
ผู้ป่วยบอกว่า “ที่ต้องไปพบหมอเพราะเมื่อก่อนตนเองอาการปวดหัวมาก หูแว่ว ทำลายของ หงุดหงิดมาก ทุกวันนี้รับประทานยาทุกวัน วันละ 4 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน และ เป็นคนจัดยาเอง ถ้าวันไหนไม่ได้รับประทานยา จะปวดหัวมาก และจะต้องไปฉีดยาที่โรงพยาบาลบ้านโป่งทุก 3 เดือน และไปฉีดยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลทุกเดือน 2 เดือนติดต่อกัน”
ความรู้สึกที่เกี่ยวกับเพศ
ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ มีการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับเพศ จากการสอบถามผู้ป่วยบอก ว่า “ไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้เลยตั้งแต่แยกทางกับสามีเก่าไป สนใจแต่เรื่องการเลี้ยงลูกอย่างเดียว”
การใช้กลไกทางจิตเมื่อเผชิญกับปัญหา
(Defense mechanism)
การระบายไปที่อื่น(Displacemant) เมื่อผู้ป่วยเกิดอารมณ์โกรธจะมีการใช้กลไกชนิดนี้เพื่อเป็นการระบาย และทาให้ความรู้สึกดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยถูกผู้ชายจับบริเวณก้น ผู้ป่วยรู้สึกไม่พอใจและโมโหมาก จึงมีการใช้มีดมาฟันที่ ขาของตนเอง
กิจกรรมและความสนใจพิเศษ
ชอบไปออกกาลังกาย ชอบชวนเพื่อนไปว่ายน้า และชอบเก็บขวดขาย
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ผู้ป่วยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกายที่เหมาะสมกับวัย BMI = 23.4 อยู่ในเกณฑ์ อ้วน ระดับ 1
ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของผู้รับบริการ
ครอบครัวมีสมาชิก 7 คน
คุณสมคิด อายุ 72 ปีมารดา มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
คุณบุญชัย อายุ 49 ปี พี่ชาย สุขภาพร่างกายแข็งแรง
คุณมัทนา อายุ 47 ปี ผู้ป่วย
เป็นผู้ป่วย Schizophrenia
คุณปอ อายุ 20 ปี หลาน
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
คุณลูกหมู อายุ 16 ปี ลูกชาย
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
คุณปังปอน อายุ 13 ปี หลาน
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
คุณกาญจน์ อายุ 13 ปี หลาน
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อครอบครัว เมื่อพูดถึงครอบครัว ผู้ป่วยจะมีสีหน้ายิ้มแย้ม และบอกว่ารู้สึกดีมาก มีความสุข อยู่บ้านแล้วรู้สึกสบายใจ คนในครอบครัวรักกัน
สภาพแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัย
บ้านมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวหลังคาเป็นสังกะสี บ้านอยู่ใกล้ชลประทาน อากาศปลอดโปร่ง
ความคิดและความรู้สึกของผู้ป่วยที่มีต่อที่อยู่อาศัย ผู้ป่วยบอกว่า “อยู่บ้านแล้วมีความสุข สบายใจ อากาศ ที่บ้านเย็นสบาย อยากอยู่แต่บ้าน วันๆกินข้าวแล้วก็นอน แต่ก็มีช่วยแม่ขายของ”
การรักษาท่ีได้รับ
การรักษาด้วยยา
Perphenazine (8 mg)
1 tab oral q.i.d. pc
Benzhexol=Artane(2 mg)
1 tab oral t.i.d. pc
Chlorpromazine(100 mg)
3 tab oral h.s.
Risperidone(Neuris)(2 mg)
1 tab oral q.i.d. pc
Haloperidol(5 mg)
1 tab oral t.i.d. pc
Depakine chrono(500 mg)
1 tab oral h.s.
กิจกรรมกลุ่มบำบัด
ศิลปะบำบัด
นันทนาการบำบัด
อาชีวะบำบัด
การพยาบาล
ส่งเสริมการสร้าง สัมพันธภาพกับผู้อื่น
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่าเสมอ เพื่อให้ ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
ประเมินลักษณะการอยู่ร่วมกันกับบุคคลใน ครอบครัว ผู้อื่น และการทากิจวัตรประจาวันต่าง ๆ เพื่อประเมินการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว และผู้อื่น ประเมินการทากิจวัตรประจาวัน
ให้ความสนใจดูแลและแสดงการยอมรับผู้ป่วย โดย การเรียกชื่อ นามสกุลได้ถูกต้อง และทักทายสม่าเสมอ ไม่แสดงท่าทีตาหนิหัวเราะขบขัน หรือวิพากษ์วิจารณ์ พฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกมา ให้กาลังใจ รับฟัง เรื่องราวของผู้ป่วยด้วยท่าทีที่ตั้งใจ
สนทนาเพื่อการบาบัดกับผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ระบาย ความรู้สึก และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย เพื่อ ช่วยเหลือด้านการสื่อสารและปัญหาความวิตกกังวลที่ ผู้ป่วยอาจเผชิญอยู่
ให้ข้อมูลถึงผลดีและประโยชน์ของการมีสัมพันธภาพ กับผู้อื่น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยอยากสร้างสัมพันธภาพ
จัดทากลุ่มกิจกรรมบาบัดให้ผู้ป่วยได้ทากิจกรรม ร่วมกับผู้อื่น เช่น ศิลปะบาบัด กิจกรรมพับกระดาษ ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ส่งเสริมพฤติกรรม การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจพูดคุยให้การ เสริมแรงทางบวกเกี่ยวกับการรับประทานยา
ประเมินทักษะการจัดยาของผู้ป่วยเพื่อให้ทราบ วิธีการรับประทานยา
อธิบายเกี่ยวกับความสาคัญของการรับประทานยาที่ ผู้ป่วยได้รับ
4.แนะนำให้ผู้ป่วยจัดแยกประเภทของยาให้ถูกต้อง โดย การจัดยาใส่กล่องยา เพื่อเตรียมไว้สำหรับแต่ละ มื้อของแต่ละวัน
5.แนะนำให้ครอบครัวสังเกตการรับประทานยาและให้ กาลังใจเมื่อผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่าเสมอ
6.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้พุดคุยและระบาย ความรู้สึก สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับยา
7.เปิดโอกาสให้ญาติได้สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ดูแลผู้ป่วย สังเกตอาการที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้ญาติมี ความรู้ความเข้าใจและมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น