Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงตั้งครรภ์อายุ38ปี G3P2A0 GA26 + 2week by U/S (28/12/63) - Coggle…
หญิงตั้งครรภ์อายุ38ปี
G3P2A0 GA26 + 2week by U/S (28/12/63)
มารดาอายุ38 ปี
Advanced maternal age (AMA)
ผลกระทบ
ด้านแม่
-ความดันโลหิตสูง
-เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
-มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้นและเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายผลิตไข่ออกมา 2 ใบพร้อมกัน ซึ่งการตั้งครรภ์แฝดนั้นเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าตั้งครรภ์ลูกเพียงคนเดียว
-เสี่ยงต่อการแท้งบุตรและภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
-ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ความเสี่ยงในการคลอดลูกเมื่อมีอายุมาก
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์อาจต้องใช้วิธีกระตุ้นให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด
ทารกไม่กลับหัวเมื่อใกล้คลอด หรือทารกอยู่ในภาวะเครียดระหว่างการคลอด
ใช้เวลาคลอดนานกว่าปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณครรภ์ของคุณแม่จะทำงานได้น้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น
ด้านทารก
ทารกจะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมเพิ่มมากขึ้น อย่างกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมที่มีอัตราการเกิดขึ้นได้ 1:900 ในหญิงตั้งครรภ์อายุ 30-39 ปี
ทารกมีน้ำหนักน้อย (Low birthweight) หมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
สตรีตั้งครรภ์ที่อายุ 35 ปีหรือมากกว่ามีอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยร้อยละ12.10 สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่อายุ 20-34 ปี ซึ่งมีอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยเพียงร้อยละ 7.60
ด้านจิตสังคม
การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในระยะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ อาจทําให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียดและความวิตกกังวลจากการไม่ยอมรับและรู้สึกอับอายในรูปร่าง และมีความรู้สึกเขินอายเมื่อต้องออกสู่สังคมในขณะตั้งครรภ์
การรับบทบาทใหม่ สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากมักมีภาระหน้าที่รับผิดชอบหลายด้าน ทั้งหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงานการดูแลครอบครัว ตลอดจนการเลี้ยงดูบุตรคนก่อน ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้จึงอาจเกิดความเครียดจากการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทหลายๆด้านในขณะที่มีอายุมากขึ้น
สุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากส่วนใหญ่จะรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งความเสี่ยงต่อการคลอดบุตรพิการหรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรมดังนั้นสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้จึงมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตนเองและความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกในครรภ์
การตรวจรักษา สตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากจําเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาความผิดปกติของการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ขึ้นกับภาวะสุขภาพและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทําให้สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากต้องเผชิญกับความเจ็บปวดหรือความไม่สุขสบายจากการตรวจวินิจฉัยและการรักษา
การคลอด สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากมักมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลของการคลอดที่อาจไม่เป็นไปตามความคาดหวัง วิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดบุตร ปัญหาเกี่ยวกับช่องทางคลอดที่อาจยืดหยุ่นไม่ดีและไม่มั่นใจเกี่ยวกับการคลอดเนื่องจากรับรู้ว่าการตั้งครรภ์อายุมากอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในระยะคลอดสูง
ประวัติทางสูติกรรม
คุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมเป็นระยะเวลา 12 ปี หลังจากคลอดบุตรครั้งนี้จะทำหมัน
แนะนำการทำหมัน
การทำหมันหลังคลอด หรือ การทำหมันเปียก (Postpartum)
เป็นการทำหมันในระยะหลังคลอด ซึ่งนิยมทำในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังจากคลอดลูก แต่ไม่ควรเกิน 7 วันหลังคลอด เนื่องจากมีความสะดวก ผ่าตัดง่ายและไม่เสียเวลาอยู่โรงพยาบาลนานกว่าการคลอดตามปกติ ที่สำคัญในระยะนี้มดลูกยังมีขนาดโตลอยอยู่ในช่องท้องเหนืออุ้งเชิงกราน จึงทำให้สามารถหาท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างได้ง่าย วิธีที่นิยมทำกันก็คือ การลงแผลผ่าตัดใต้สะดือ ขนาดแผลยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร เพื่อเข้าไปหาท่อนำไข่ แล้วทำการผูกท่อนำไข่และตัดท่อนำไข่บางส่วนออกทั้งสองข้าง
การทำหมันปกติ หรือ การทำหมันแห้ง (Interval Sterilization)
เป็นการทำหมันที่ไม่ใช่ช่วงระยะเวลา 7 วันหลังการคลอดลูก ซึ่งเป็นช่วงเวลาใดก็ได้ แต่มดลูกจะมีขนาดปกติและอยู่ในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดจึงมีความยากในการหาท่อนำไข่มากกว่าการทำหมันหลังคลอด แพทย์จะผ่าตัดทางหน้าท้องเหนือกระดูกหัวหน่าวเล็กน้อย และใช้วิธีผูกและตัดท่อนำไข่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ต้องทำในห้องผ่าตัด และใช้วิธีการดมยาสลบ
ผลข้างเคียงหลังจากการทำหมันหญิง
หลังจากการใช้ยาสลบในการผ่าตัด อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ หรือเหนื่อย ไปประมาณสองวัน หลังจากการผ่าท้องอาจรู้สึกเจ็บแผลที่ท้อง และอวัยวะข้างเคียงภายในอาจได้รับบาดเจ็บร่วมด้วย เช่น มดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 7 วันจึงจะหายเป็นปกติ รวมไปถึงการมีอาการปวดท้องน้อย ที่มีสาเหตุมาจากการมีพังผืดบริเวณที่ตัดผูกท่อนำไข่ ทั้งนี้ อันตรายจากการผ่าตัดทำหมันหญิงมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย เพราะในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยมาก ส่วนอาการแทรกซ้อนอาจพบได้บ้างแต่ก็มีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
ข้อปฏิบัติหลังการทำหมันหญิง
ควรระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ ไม่ควรอาบน้ำร้อน หรือว่ายน้ำจนกว่าจะครบกำหนดเปิดแผล หรือประมาณ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เดินนานๆ การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงมาก หรือการทำงานหนักหลังการผ่าตัดทำหมันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายสนิทดีแล้ว
งดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 6-8 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
หากมีอาการปวดท้องมากกว่าปกติ อาการปวดไม่หายไปหลังกินยาแก้ปวดไปแล้ว หรือ มีน้ำหรือเลือดออกจากแผลผ่าตัด ต้องรีบไปพบแพทย์
G3P2A0 GA26 + 2week
การเปลี่ยนแปลงในไตรมาสที่ 2
ด้านทารก
-มีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนขึ้นในสัปดาห์ที่ 14ขนาดทารกในครรภ์จะยาวประมาณครึ่งฝ่ามือหรือประมาณ 8-10 เซนติเมตร
-นิ้วมือนิ้วเท้าจะชัดเจน อวัยวะเริ่มแยกได้ว่าเป็นหญิงหรือชาย
-ทารกเริ่มเติบโตอย่างสมบูรณ์ ตัวทารกขยายใหญ่ขึ้นทำให้หน้าท้องแม่ขยายและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
-เมื่ออายุครรภ์ราว 16-20 สัปดาห์สามารถอัลตร้าซาวด์ตรวจเพศได้เลย
กระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง กระตุ้นพัฒนาการสมองของทารก โดยทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียงได้ดีตั้งแต่เดือนที่ 5 เสียงสะท้อนจากแม่จะกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อสมองในชั้นที่มีความซับซ้อนด้านการได้ยิน การตีความเสียง และส่วนของความทรงจำ ที่มีส่วนช่วยให้ลูกมีพัฒนาการได้เร็ว
เล่นหน้าท้องกระตุ้นลูกดิ้น ในช่วงไตรมาสที่ 2 คุณแม่จะรับรู้ได้ถึงการดิ้นของลูก ในขณะที่ลูกดิ้นหรือโก่งตัวเคลื่อนไปมา คุณแม่อาจตอบสนองโดยใช้มือเล่นหน้าท้องกับลูกด้วยการลูบให้แรงขึ้น โดยวนเป็นวงกลมจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนก่อนก็ได้ หรือใช้นิ้วจิ้มไปยังจุดที่ลูกเคลื่อนไหว หากจังหวะนั้นลูกในท้องมีปฏิกิริยาตอบรับ มีการเคลื่อนที่หรือดิ้นไปยังทิศทางหนึ่ง แสดงว่าลูกมีการตอบสนองจากสิ่งเร้าที่คุณแม่สร้างให้ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาสมอง เพิ่มเติมความฉลาดให้กับลูกน้อยในท้องได้อีกวิธี
ให้ลูกน้อยฟังเพลงกระตุ้นพัฒนาการได้ยิน โดยทารกเริ่มต้นรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ในสัปดาห์ที่ 24 ดังนั้นเสียงต่าง ๆ จากภายนอกก็จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น โดยเฉพาะเสียงเพลง คลื่นเสียงจะไปกระตุ้นการได้ยินให้พัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น
ด้านมารดา
ท้องขยายและหน้าอกใหญ่ขึ้น: ในช่วงนี้มดลูกของคุณแม่จะขยายตัวออกรองรับการขนาดตัวของทารกในครรภ์ทําให้หน้าท้องของคุณแม่มีขนาดใหญ่ขึ้นรวมถึงขนาดของหน้าอกที่จะค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันแนะนําให้คุณแม่หาเสื้อชั้นในขนาดที่ใหญ่ขึ้น
เจ็บท้องหลอก (Braxton Hicks): ในช่วงท้าย ๆ ของไตรมาสที่สองอาจจะรู้สึกถึงการหดตัวเล็กน้อยที่ช่องท้องซึ่งเราเรียกว่าเจ็บท้องหลอก แต่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำกิจกรรมบางอย่างเช่นออกกําลังกายหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้ารู้สึกเจ็บมากๆ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณคลอดก่อนกําหนดได้
สีผิวเปลี่ยนไป: การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของคนท้องทําให้เกิดการกระตุ้นเซลล่เม็ดสีเพิ่มขึ้นจึงไม่แปลกเลยถ้าผิวของคนท้องจะเป็นจุดสีนํ้าตาลหรือมีฝ้าขึ้นตามใบหน้า แต่ที่เห็นชัดมาก ๆ ก็คือเส้นรอยตากลางหน้าท้องที่เรียกว่า linea nigra หลังจากคลอดเส้นสีดำและรอยผิวสีน้ำตาลจะค่อยๆจางหายไปสามารถใช้มอยเจอร์ไรเซอร์บรรเทาอาการคัน
คัดจมูกเลือดกำเดาไหล: การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน เมื่อร่างกายผลิตเลือดมากขึ้นทําให้เกิดอาการบวมของเส้นเลือดและเก็ดเลือดออกได้ง่ายๆหากคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองคัดจมูกบ่อย ๆ แนะนําให้ใช้น้ำเกลือล้างจมูกพร้อม กับดื่มน้ำให้มากๆ
ปวดขา เป็นตะคริวตอนกลางคืน แนะนำให้ใช้หมอนรองบริเวณเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น
มดลูกโตขึ้นและจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้น ในครรภ์แรก คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นเมื่อมีอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์และในครรภ์หลังจะรู้สึกว่าลูกดิ้นไวกว่าเมื่อมีอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ ให้คุณแม่นับลูกดิ้นใน 2 ชั่วโมง ถ้าดิ้นมากกว่า 10 ครั้งก็ถือว่ายังปกติดี
อาการสำคัญที่ควรไปพบแพทย์
เลือดออกทางช่องคลอด
ปวดท้องเป็นพักๆ อาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
อาการตกขาวผิดปกติ เช่น สีเปลี่ยนไป คัน หรือมีกลิ่น
มีไข้
ปัสสาวะแสบขัด
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
G3P2A0
ฝากครรภ์ครั้งแรกวันที่ 6/11/63 อายุครรภ์ 18+6 week
สถานที่ : โรงพยาบาลท่าศาลา LMP จำไม่ได้
EDC 3/4/64
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 90 กิโลกรัม ส่วนสูง 155 cm BMI37.46kg/m^3
ประวัติการคลอดในอดีต
ด้านมารดา : ไม่มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด
ด้านทารก : คลอดNL ไม่มีภาวะแทรกซ้อน น้ำหนักตัวปกติ
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ครั้งที่1 วันที่ 6/11/63
หมู่เลือด O Rh:positive Hb:11.7% (11.5-13.5)
Hct:33.1% VDRL:Non-reactive HbsAg:Negative
HIV: Non-reactive OF: Negative DCIP: Negative
ครั้งที่ 2 -
ประวัติการรับ TetanusToxoid ได่รับเข็มกระตุ้น วันที่6/11/63
คำแนะนำในการดูแลตนเอง
ด้านโภชนาการ
BMI >34 kg/m2 ควรได้รับพลังงาน 20 กิโลแคลอรี/กก/วันถ้าอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ให้เพิ่มอีก 300 กิโลแคลอรีต่อวัน
-BMI 37.46 kg/m^3 ในcase นี้ น้ำหนัก 93 = 93x20+300=2160 kcal/day
ด้านการออกกำลังกาย เนื่องจากมารดามีอาชีพแม่บ้าน อาจจะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายมากนัก จึงแนะนำ 5ท่า ออกกำลังกาย ให้มารดาได้ลองปฎฺิบัติ ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น