Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Uterine rupture : ภาวะมดลูกแตก - Coggle Diagram
Uterine rupture : ภาวะมดลูกแตก
ความหมาย
ภาวะที่มีการฉีกขาดของผนังมดลูก ในขณะตั้งครรภ์จากทารกโตพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้ หรือหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และเกิดการฉีกขาดระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างเจ็บครรภ์ หรือระหว่างการคลอด โดยไม่รวมการแตกหรือฉีกขาดในการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการทะลุของมดลูกที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
สาเหตุของการเกิด
4.เคยผ่านการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรจำนวนมาก
5.การคลอดติดขัด จากการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน
3.การทำหัตถการ เช่น การทำคลอดด้วยคีม การทำท่าคลอดก้น การหมุนเปลี่ยนท่าเด็กจากภายใน
2.การบาดเจ็บบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง จากการได้รับอุบัติเหตุ
1.รอยแผลผ่าตัดเดิม จากแผลผ่าตัดหน้าท้องคลอด หรือแผลผ่าตัดอื่น
อาการและอาการแสดง
1.อาการปวดท้องน้อยจะทุเลาลง
5.เสียงหัวใจทารกเปลี่ยนแปลง หรือหายไป
4.คลำส่วนของทารกได้ชัดเจนมากขึ้น
3.หากมีภาวะ hypovolemic shock จะมีกระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เหงื่อออก ตัวเย็น
2.บางรายอาจพบเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
พยาธิสภาพของโรค
มดลูกจะหดรัดตัวถี่และรุนแรงในขณะตั้งครรภ์และเจ็บครรภ์คลอด กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างถูกดึงให้บางและยืดออก เพื่อให้ทารกในครรภ์เคลื่อนต่ำลงสู่ช่องทางคลอด แต่ในรายที่มดลูกแตก มักจะไม่เป็นไปตามกลไกการคลอด ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอด การที่กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างยืดขยายมาก บางมาก จนกระทั่งมองเห็นมดลูกเป็นสองลอนทางหน้าท้อง เรียกว่า Pathological retraction ring หรือBandl's ring ส่วนทารกในครรภ์อาจมีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากปริมาณเลือดของมารดาไหลเวียนไปสู่รกลดลง เพราะมดลูกหดรัดตัวรุนแรงมาก ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขมดลูกจะแตกในที่สุด
การพยาบาล
3.การเย็บซ่อมแซมหรือตัดมดลูก
4.ถ้าเลือดยังออกอีกอาจต้องผ่าตัด เพื่อผูก hypogastric arteries ทั้งสองข้างร่วมด้วย
2.รายงานกุมารแพทย์ เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพ กรณีทารกยังมีชีวิต
5.ให้เลือดทดแทน และดูแลให้ยาปฏิชีวนะ
1.ผ่าตัดเปิดช่องท้อง เพื่อแก่ไขสาเหตุของมดลูกแตก
การวินิจฉัยแยกโรค ควรแยกจากภาวะต่อไปนี้
กระเพาะปัสสาวะเต็ม
ทารกท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลัง
ตั้งครรภ์นอกมดลูก
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
รอยถลอกของช่องคลอด