Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 ระบุโรคหรือปัญหาที่พบบ่อยในประเทศไทยที่เกิดกับประชาชนแต่ละวัยได้ -…
บทที่4 ระบุโรคหรือปัญหาที่พบบ่อยในประเทศไทยที่เกิดกับประชาชนแต่ละวัยได้
วัยและพัฒนาการของมนุษย์
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นตามวัยต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง คือตั้งแต่เริ่มปฎิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา จนถึงระยะคลอด เรียกว่าระยะก่อนเกิด เมื่อคลอดออกมาแล้วแบ่งวัยได้ 5 วัยดังนี้
1.วัยทารก เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ2ปี
2.วัยเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ2-12ปี
3.วัยรุ่น อายุ12-20ปี หญิง เข้าสู่วัยรุ่น 12 ปี ชายเข้าสู่วัยรุ่นอายุ 14 ปี
4.วัยผู้ใหญ่ อายุ 21 ปีขึ้นไป
5.วัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป
ปัญหาสุขภาพวัยทารก
วัยทารกเป็นวัยที่เจริญเติบโตจนเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างขัดเจนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ทารกจะสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบๆได้อย่างรวดเร็วแต่ทารกยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จึงต้องการ การดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก ความนุ่มนวล อ่อนโยนจากผู้เลี้ยงดูทารก ที่ได้รับความรักความอบอุ่นเพียงพอ จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว มีทัศนคติที่ดีต่อบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีบุคลิกภาพที่ดีในช่วงวัยต่อๆไป
ปัญหาสุขภาพในวัยเด็ก
เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี ซึ่งกำลังศึกษาทั้งในระดับประถมและมัธยม โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กนักเรียน ซึ่งมาจากที่ต่างๆกันมี ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และพฤติรรม อนามัยที่แตกต่างกันไป โรคที่พบในเด็กนักเรียนและอุบัติเหตุต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ หากนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทราบแนมทางปฎิบัติต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ส ก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัย
ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท
1.สาเหตุจากปัจจัยภายใน เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายของเด็กเอง โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่างๆ เช่นแพ้อาหาร แพ้สัตว์ปีก
2.สาเหตุจากปัจจุยภายนอก การติดเชื้อส่วนใหญ่ เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรีย หรือ ไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดาย ผ่านการสัมผัส
ปัญหาสุขภาพวัยรุ่น
ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกายที่พบบ่อย และก่อให้เกิดความวิตกแก่เด็กวัยรุ่นได้แก่ การมีสิว กลิ่นตัว โรคผิวหนัง ความอ้วน ความผอม ความผิดปกติทางนรีเวช เช่น ตกขาว การปวดประจำเดือน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคที่พบบ่อยในวัยรุ่น
โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกินในปัจจุบันพบได้มากขึ้นจนจัดได้ว่ามีการระบาดทั่วโลก
โรคภูมิแพ้เป็นสภาวะที่ร่างกายมีความไวต่อสารหรือสภาวะบางอย่างมาก ซึ่งร่างกายคิดว่าเป็นสิ่งที่เป้นอันตราย ต่อร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจึงทำงานอน่างเต็มที่
โรคผิวหนัง ในวัยรุ่น เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการดำเนินกิจกรรมมาก เช่น กีฬา ออกกำลังกายซึ่งหากไม่รักษาความสะอาดและสุขอนามัยของร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น ผื่นจากเชื้อรา
ปัญหาสุขภาพวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ๋เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดวัยรุ่นอายุประมาณ 20-25ปี หหรืออาจเร็วกว่านั้น ระบบย่อยอาหารทำงานลดลง การหลั่งน้ำย่อยและความต้องการพลังงานลดลง หากยังรับประทานอาหารเช่นเดิม จะมีผลทำให้หนักเพิ่มขึ้น เกิดภาวะอ้วน
ปัญหาที่พบในวัยผู้ใหญ่
1.ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย
2.ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตใจ
3.ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านสังคม
4.ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตวิญญาณ
5.อุบัติเหตุ
ปัญหาวัยผู้สูงอายุ
1.กระดูกหักง่าย เนื่องจากความเสื่อมของกระดูก กระดูกบางที่พบบ่อยคือ กระดูกสะโพก ต้นขา ข้อมือ และกระดูกสันหลัง
2.สายตาไม่ดี เกิดจากเลนส์ตาแข็งตัว ยิดหยุ่นไม่ดี การปรับภาพจะน้อยลง จึงเห็นภาพไม่ชัดเจน
3.หูตึง เกิดจาก ระบบประสาทเสื่อมถอย ประสาทการได้ยินของหูเสื่อม
4.ฟันไม่ดี ฟันลดลง ปากแห้ง การได้กลิ่นและรับรเสีย ทำให้กินอาหารไม่ได้ กินช้าลง กินน้อยลง
5.เป้นลมบ่อย เกิดจากการปรับตัวของความดันเลือดไม่ดี ขณะเปลี่ยนท่าทาง ความดันเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว
6.เรอบ่อย จากท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
ปัญหาวัยผู้สูงอายุ
7.ท้องผูก เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อลำไส้ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ทำให้กากอาหารเคลื่อนสู่ลำไส้ส่วนล่างช้า
8.อาจเป็นเบาหวาน เพราะเนื้อเยื่อของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ออกมาจากตับอ่อนได้เพียงพอ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
9.หูรูดเสื่อม ท่อปัสสาวะเสื่อมในผู้ชายจากต่อมลูกหมากโต ผู้หญิงจะมีมดลูกหย่อน ตึงกระเพาะปัสสาวะลงมา ทำให้ปัสสาวะบ่อย
10.หลงลืมบ่อย เนื่องจากเซลล์สมองเสื่อม และลดลง มีการตายของเซลล์ และไม่เกิดใหม่
11.หัวใจและหลอกเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดเสื่อมและแข็งตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดเล็ก ที่เลี้ยงไต สมอง หัวใจ ต้องทำงานหนักจึงเหนื่อยง่าย
12.ปัญหาอารมณ์ เกลียด กังวลโกรธ มีผลต่อร่างกาย ขฦณะมีอารมณ์ดังกล่าว ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนออกมาทำให้มีอาการใจสั่น น้ำตาลสูง และทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร