Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิ่วในท่อไต (ureteral calculi), ปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติหรือ …
นิ่วในท่อไต
(ureteral calculi)
ชนิดของนิ่วในไต
นิ่วชนิดที่เกิดจากแคลเซียม หรือ นิ่วแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate stones)
ชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อในไต หรือ นิ่วสตรูไวท์ (Struvite stones)
นิ่วชนิดที่เกิดจากกรดยูริก (Uric acid) หรือ นิ่วกรดยูริก (Uric acid stones)
นิ่วชนิดที่เกิดจากสารซีสทีน (Cystine) หรือ นิ่วซีสทีน (Cystine stones)
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเป็นแบบชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อในท่อไต หรือ นิ่วสตรูไวท์ (Struvite stones)
สาเหตุของนิ่วในไต
นิ่วในไตเกิดจาก "สารก่อนิ่ว" ที่มีอยู่ในปัสสาวะตามปกติ เช่น แคลเซียม ฟอสเฟต ออกซาเรต ยูริก ที่มีอยู่ในปัสสาวะมากเกินไป เช่น จากภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (ทำให้มีการสลายแคลเซียมในกระดูกมากขึ้น ส่งผลให้แคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดและไหลเวียนไปสู่ไตมากขึ้น) จะถูกขับออกมาในปัสสาวะมากขึ้น แคลเซียมจะรวมตัวกับสารก่อนิ่วอื่น ๆ กลายเป็นก้อนนิ่ว
อาการของนิ่วในไต
มีอาการปวดเอวปวดหลังเรื้อรังข้างใดข้างหนึ่ง (ด้านที่มีนิ่ว) ลักษณะปวดแบบเสียด ๆ หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรืออาจเป็นหนองเมื่อมีการติดเชื้อรุนแรง หรือบางครั้งอาจมีนิ่วก้อนเล็ก ๆ หรือมีเม็ดทรายปนออกมากับปัสสาวะ
กรณศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้อาเจียนเป็นบางครั้ง ปัสสาวะมีลักษณะเป็นสีขุ่นแดง เบื่ออาหารและมีน้ำหนักลดในช่วง 1 เดือน
การวินิจฉัยโรคนิ่วในไต
การซักประวัติ
การตรวจรางกาย
อาจตรวจพบภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachycardia), เหงื่อออก (sweating), อาการ คลื่นไส้ (nausea) และอาจพบการกดเจ็บบริเวณเอวหรือบริเวณซี่โครงสุดท้ายกับกระดูกสันหลังทางด้านหลัง (costovertebral tenderness) ได้
กรณศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้อาเจียยนเป็นบางครั้ง ปัสสาวะมีลักษณะเป็นสีขุ่นแดง
เบื่ออาหารและมีน้ำหนักลดในช่วง 1 เดือน
Abdomen : Lt. flank wound foul smell , pus oozing
หากมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะมาเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการโป่งพองของไตรุนแรง (severe hydronephrosis) อาจคลำไตได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจทางโลหิตวิทยา
ได้แก่ complete blood count (CBC) , Blood Urea Nitrogen (BUN) และ creatinine (Cr) , electrolyte,calcium, phosphate และ uric acid
CBC (27/11/64)
WBC 23.1 H
Hb 10.7 L
Hct 34 L
Plt 451,000 H
MCV 75.4 L
MCH 23.7 L
RDW 17.2 H
MPV 11 H
Neutrophil 92.4 H
Lymphocyte 5.1 L
Eosinophil 0.2 L
Blood Urea Nitrogen 27 H
Creatinine 2.76 H
eGFR2 1.18 L
2. การตรวจปัสสาวะ Urine Analysis (UA)
Urine analysis (27/11/64)
Albumin +1
3. การตรวจทางรังสีวินิจฉัย
3.1 การตรวจทางเอกซเรย์ (X-ray) Plain KUB
3.2 Intraveneous pyelography (IVP)
3.3 อัลตราซาวด์ (ultrasonography)
3.4 Retrograde pyelography (RP)
3.5 Computed tomography (CT)
กรณีศึกษา
Film KUB
air in soft tissue at Lt. flank
abnormal calculi L4-L5 level
แนวทางการรักษา
1. การรักษาแบบสังเกตอาการ (Expectant treatment)
ข้อบ่งชี้
นิ่วมีขนาดเล็กกวา 5 มม. และไม่มีอาการ
การรักษา ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มากๆอย่างน้อย 3,000 ซีซีต่อวัน เพื่อให้มีปัสสาวะจำนวนมากพอที่จะพัดพามาให้นิ่วหลุดลงมาเป็นนิ่วในท่อไต
การผ่าตัด
Pyelolithotomy (การผ่าตัดเป็นเข้าไปเอานิ่วออกทางกรวยไต) และ Extended pyelolithotomy
ข้อบ่งชี้ มีนิ่วก้อนใหญ่ในกรวยไตหรือถ้ามีนิ่วก้อนเล็กอยู่ในเคลิกซ์ด้วยจะสามารถคีบนิ่วออกทางกรวยไตได้
Nephrolithotomy
ข้อบ่งชี้ เหมาะกับการผ่าตัดนิ่วเขากวางที่มีกิ่งกานหลายกิ่งและไม่สามารถเอาออกได้ด้วยวิธีอื่น
Pyelolithotomy ร่วมกับ Radial Nephrolithotomy
ข้อบ่งชี้ นิ่วมีขนาดใหญ่ในกรวยไตเอาออกได้ด้วย Pyelolithotomy แต่มีนิ่วในเคลิกซ์ที่ไม่สามารถเอาออกทางกรวยไตได้เนื่องจากท่อกรวย (infundibulum) เล็กกว่านิ่วมาก
Nephrectomy ข้อบ่งชี้ ทำในกรณีที่เนื้อไตเสียไปมากหรือมีการอักเสบเป็นหนองจนไม่สามารถเก็บเนื้อไตได้ เป็นการตัดไตทั้งไตออก
Partial Nephrectomy
ข้อบ่งชี้ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีนิ่วอยู่ที่ upper หรือ lower pole และเนื้อไตส่วนนั้นเสียไปมากแล้ว ตัดไตออกบางส่วน
ESWL (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy) เป็นวิธีการรักษานิ่วโดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
Endourology :
4.1 PCNL (Percutaneous Nephrolithotomy) :
การรักษา คือ การส่องกล้องผ่านทางท่อ nephrostomy ที่เจาะผ่านผิวหนังทางด้านหลังเข้าไปยังกรวยไตและใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Ultransonic lithotripsy, Ballistic lithoyripsy (Lithoclast), EHL (Electrohydraulic lithotripsy), LASER lithotripsy, การคีบก้อนนิ่วออกด้วย forceps หรือคล้องนิ่วด้วย basket หลังจากทำให้ก้อนนิ่วแตกและนำออกมาทาง nephroscope
4.2 URSL (ureterorenoscope) :
การรักษา คือ การสอดกล้องเขาทางท่อปัสสาวะผ่านกระเพาะปัสสาวะเข้าไปถึงนิ่ว และทำให้นิ่วแตก ตัวกล้องมีขนาดเล็กและบางแบบไม่ต้องขยายท่อไต ก่อนส่องกล้องสามารถโคงงอและสอดขึ้นไปถึงกรวยไตได้ ทำให้สามารถบังคับสวนปลายให้งอเขาไปหาสวนที่ตรวจได้ยากในไตได้
กรณีศึกษา
Lt. URSL + DB Surgical wound (8/12/64)
4.3 การรักษาร่วมด้วย ESWL และ Endourology
4.4 Retrograde Intra Renal Surgery (RIRS)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
- ปัจจัยเสี่ยงด้านกายภาพของปัสสาวะ
ลักษณะทางกายภาพบางประการของปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสสูงขึ้นที่จะเกิดนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ ตัวอย่างเช่น ปริมาณปัสสาวะที่น้อย ปริมาณแคลเซียมที่สูงในปัสสาวะ ปริมาณกรดยูริกที่สูงในปัสสาวะ ปริมาณสารออกซาเลตที่สูงในปัสสาวะ ปริมาณสารซิเตรทที่ต่ำในปัสสาวะ การที่ปัสสาวะอยู่คงที่เดิมเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ค่า pH ของปัสสาวะบางระดับยังก่อให้เกิดนิ่วชนิดต่างๆ แตกต่างกันได้
- ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
การบริโภคอาหารหรือสารบางชนิดสามารถทำให้โอกาสการเกิดนิ่วในไตมีเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การบริโภคน้ำน้อย การบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ การบริโภคโพแทสเซียมไม่เพียงพอ อาจนำมาสู่การก่อนิ่วแคลเซียมได้ ในขณะที่การบริโภคอาหารที่มีสารออกซาเลตมาก โซเดียมมาก และวิตามินซีมาก สามารถก่อให้เกิดนิ่วแคลเซียมตามมาได้ การบริโภคเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก และเครื่องในปริมาณมาก อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วจากกรดยูริกได้
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า ตนเองกินน้ำน้อย แล้วน้ำที่บ้านไม่ค่อยสะอาด
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า ที่บ้านทำอาหารกินเองโดยมีสามีเป็นคนทำ เป็นอาหารพื้นบ้านส่วนมากจะเป็นอาหารรสค่อนข้างเค็ม เน้นการปรุงอาหารด้วยการทอด
- ยาบางประเภท
ยาบางประเภทสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วได้ เช่น topiramate, acetazolamide, indinavir, triamterene
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
- โรคหรือภาวะบางชนิด
ตัวอย่าง เช่น โรคเกาต์ โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (hyperparathyroidism) โรคเบาหวาน โรคลำไส้หรือการผ่าตัดลำไส้บางประเภท เช่น short gut syndrome,inflammatory bowel disease, bowel resection,gastrointestinal bypass surgery โรคไตบางชนิด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน โรค cystinuria
กรณีศึกษา
ในระว่างการรักษาผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
อาการแทรกซ้อน
1. มีการอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะจากนิ่ว
ทำให้เกิดอาการปวดอย่างมาก หากอุดตันเป็นเวลานานจะทำให้ไตข้างนั้นเกิดภาวะไตเสื่อมและไตวายในที่สุด
2. การติดเชื้อ
เนื่องจากนิ่วอุดตันทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งอาจรุนแรงจนพัฒนาเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือถ้าปล่อยไว้นาน เกิดการติดเชื้อบ่อย จะทำให้เนื้อไตเสียจนกลายเป็นไตวายและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีนิ่วในท่อไตด้านซ้ายทำให้มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่งค้างภายในไตจึงทำให้มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะตามมา
เกิดเป็นฝีที่ไตที่เกิดมาจากการติดเชื้อลามขึ้นมาจาก ระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (lower urinary tract) โดยมีสาเหตุ ได้แก่ โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)โดยแพร่กระจายมาจาก bacterial endocarditis, diskospondylitis and periodontal disease ภาวะ renal abscess
ปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติหรือ
โรคที่เกี่ยวข้องกับนิ่วในไต
การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น มีก้อนเนื้อหรือทางเดินปัสสาวะตีบแคบจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากการอักเสบหรือจากความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ทำให้ปัสสาวะคั่งค้างภายในไตแล้วเกิดการตกตะกอนและจับตัวกันเป็นก้อนนิ่ว
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่ามีนิ่วในท่อไตด้านซ้ายทำให้มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่งค้างภายในไตจึงทำให้มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะตามมา
ความผิดปกติของไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อไตและหรือกรวยไต ส่งผลให้เกิดการตายของเซลล์และแบคทีเรีย ซึ่งจะสะสมเป็นแกนให้ตกตะกอนอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นก้อนนิ่ว
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เนื่องจากพยาธิสภาพทำให้เกิดปัสสาวะออกน้อย ร่างกายเสียน้ำจากอุจจาระบ่อย หรือท้องเสียเรื้อรัง
โรคเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลให้ในเลือดหรือร่างกายมีสารต่าง ๆ ที่ก่อนิ่วสูงกว่าปกติ เช่น โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน (ทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูง), โรคเกาต์ (ทำให้มีกรดยูริกสูงในร่างกาย) เป็นต้น