Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) …
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า
Electroconvulsive therapy (ECT)
ความหมาย
การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาโดยใช้กระแสไฟฟ้าสลับ 70-150 volts ผ่านแผ่นอิเลคโทรดเข้าสู่สมองของผู้ป่วย
จะฟังได้ 2 แบบคือ แบบ bilateral โดยวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ขมับทั้ง 2 ข้างและแบบ unilateral วางขั้วไฟฟ้าที่ขมับข้างเดียวกัน ที่บริเวณขมับ fronto-temporal ของผู้ป่วย ระยะเวลา 0.5-2 วินาที ทำให้เกิดการชักแบบ grand-mal seizure คือการชักเกร็งทั้งตัว ประมาณ 30-60 วินาที มีผลทำให้เกิดการเลี่ยนแปลงของชีวเคมีในสมอง ทำให้เกิดการปรับสมดุลของระบบสื่อนำประสาทโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายวิภาค
วิธีรักษาด้วยไฟฟ้า
1.Unmodified ECT
เป็นการรักษาด้วยไฟฟ้า โดยไม่ใช้ยาทำให้หมดความรู้สึก
ก่อนปล่อยกระแสไฟฟ้า
ผู้ป่วยจะมีอาการชักที่รุนแรงแบบ tonic clonic convulsion
2.Modified ECT
เป็นการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาสลบที่ออกฤทธิ์สั้น เช่น thiopental sodium หรือ methohexital sodium และยาลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เช่น succinylcholine ก่อนผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่สมองผู้ป่วย เพื่อลดความรุนแรงของการชัก
ลักษณะและระยะของการชักจากการรักษาด้วยไฟฟ้า
1.ระยะหมดสติ (unconscious stage)
ใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาที
ระยะเกร็ง (tonic stage)
ช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที สังเกตจากการเกร็งของฝ่าเท้าและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
3.ระยะกระตุก (clonic stage)
ใช้เวลาประมาณ 30-60วินาที สังเกตจากการเคลื่อนไหวของ
กล้ามเนื้อเป็นจังหวะหรือการกระตุกของนิ้วหัวแม่เท้า
ระยะหยุดหายใจ (apnea stage)
ใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาที
ระยะหลับ (sleep stage)
ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
ระยะงุนงงสับสน (confused stage)
ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
ข้อบ่งชี้ในการทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยโรค affective disorders ชนิด depressive episode
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้ามากเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เช่น รู้สึกไร้ค่า สิ้นหวัง โทษตนเอง แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ยอมรับประทานอาหาร ขาดสารน้ำและเกลือแร่ น้ำหนักลดลงมาก
มีปัญหาการนอน ร้องให้ไม่หยุด ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยโรค schizophrenia ชนิด catatonic type
ที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาหรือมีอาการมาก การทำ ECT
จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้เร็ว
ผู้ป่วยโรค schizoaffective disorder
ที่มีอารมณ์แปรปรวนทั้งชนิดซึมเศร้าและคลุ้มคลั่ง การรักษาด้วยไฟฟ้า
จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยลดลง
ผู้ป่วยโรค obsessive compulsive disorder
จะให้การรักษาด้วยไฟฟ้าเฉพาะในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากจนรบกวนผู้ป่วยระหว่างรอรับการรักษาด้วยวิธีอื่น หรือรักษาด้วยวิธีการต่างๆ
ผู้ป่วยจิตเวชที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ใด้ผลหรือมีอาการแพ้ยา
ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง
ข้อห้ามและข้อระวังในการรักษาด้วยไฟฟ้า
เนื้องอกในสมอง
เนื่องจากการทำ ECT อาจทำให้ intracranial pressure เพิ่มขึ้น
อาจทำให้เนื้องอกแพร่กระจายได้เร็วขึ้น
โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาจเสี่ยงต่อการเกิด cardiac arrhythmia จากการใช้ยาสลบ
และขณะที่ชักจะทำให้การเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน (acute myocardial infarction)
ขณะชักอาจเกิดภาวะการเต้นของหัวใจเสียจังหวะหรือเต้นไม่สม่ำเสมอได้
การติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลัน
ภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนรุนแรง อาจทำให้กระดูกแตกหักได้
โรคความดันโลหิตสูง
การรักษาด้วย ECT อาจทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้นขณะทำ
โรคปอด
อาจเกิดการแพร่กระจายของโรคมากขึ้น
ผู้ป่วยสูงอายุ
ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อน
สับสน มึนงง
ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
หยุดหายใจนาน
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สำลักเสมหะ อาเจียน
กระดูกหัก ข้อเคลื่อน
คิดช้าลง หลงลืม หรือสูญเสียความจำชั่วคราว
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า
การวบรวมข้อมูล
1.1 ผลการตรวจร่างกายและการประเมินผู้ป่วยจากการตรวจของแพทย์
1.2 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลเลือด ผลปัสสาวะ การตรวจคลื่นหัวใจ X-ray
1.3 ผลการตรวจวัดสัญญาณชีพ เช่น ความดันโลหิต ชีพจร
การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิ
1.4 ประวัติการใช้ยาและการแพ้ยาต่างๆ ของผู้ป่วย
1.5 ประเมินอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าใจวิธีการรักษา
ของผู้ป่วยและญาติ
1.6 ใบเซ็นอนุญาตยินยอมรับการรักษาจากผู้ป่วยหรือญาติ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ให้วินิจฉัยปัญหาการพยาบาลจากข้อมูลที่รวบรวมได้
ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เช่น
มีความวิตกกังวลต่อการรักษาด้วยไฟฟ้า
เนื่องจากกลัวสูญเสียความจำ กลัวสมองเสื่อม
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
3.การวางแผนและปฏิบัติการพยาบาล
3.1 การพยาบาลผู้ป่วยก่อนทำ ECT
3.1.1 การเตรียมผู้ป่วยด้านร่างกาย
งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน
รวจสอบผลการตรวจร่างกายและผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ
เข้าวันทำการรักษาให้ผู้ป่วยปัสสาวะให้เรียบร้อย
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ถอดฟันปลอมสิ่งของมีค่าและเครื่องประดับต่างๆออก
โดยเฉพาะเครื่องประดับที่เป็นโลหะ ใส่เสื้อผ้าชุดโรงพยาบาลหรือชุดหลวมๆ
งดยาที่ผู้ป่วยรับประทานประจำ หรือให้เท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่ง
โดยให้จิบน้ำแค่พอกลืนยาได้เท่านั้น
3.1.2เตรียมผู้ป่วยด้านจิตใจ
บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะต้องได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า
ประเมินความวิตกกังวล ความกลัวของผู้ป่วย
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นและผลดีของการรักษาด้วยไฟฟ้า อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังทำการรักษา
ให้โอกาสผู้ป่วยได้ซักถามข้อสงสัยให้เข้าใจถูกต้อง และให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าจะได้รับการดูแลช่วยเหลือจากทีมแพทย์และพยาบาลตลอดการรักษา
ถ้าผู้ป่วยมีความหวาดกลัวมาก อาจต้องให้ยานอนหลับตามคำสั่งแพทย์
เช้าวันที่ทำการรักษาพยาบาลควรอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยเพื่อลดความวิตกกังวลและระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
3.1.3 การเตรียมสถานที่เครื่องมือเครื่องใช้
ควรตรวจดูความพร้อมของสถานที่ ห้องทำการรักษาด้วยไฟฟ้า ห้องพักฟื้น
เครื่อง ECT เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องช่วยเหลือฉุกเฉิน
ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ทันที
3.2 การพยาบาลผู้ป่วย
ขณะทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
จัดท่านอนผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายราบบนเตียง
โดยมีพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและความตันโลหิต
คาดแผ่น electrodes ที่ขมับใส่แผ่นยางในปาก
เพื่อป้องกันการอุดตันทางเดินหายใจและการเกิดแผลในปาก
ในกรณีที่ทำแบบ modifed วิสัญญีแพทย์หรือวิสัญญีพยาบาลจะเป็นผู้ให้ยาสลบชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น ยาคลายกล้ามเนื้อ และให้ออกซิเจนตลอดเวลาจนสิ้นสุดการรักษา
เมื่อแพทย์กดเครื่อง ECT กระแสไฟฟ้าจะผ่านเข้าสู่สมองทำให้เกิดการชักเกร็งของกล้ามเนื้อแบบไม่รุนแรงซึ่งจะสังเกตได้จากการกระตุกบริเวณปลายมือปลายเท้า ขอบตาหรือจากบันทึกของเครื่อง EEG
พยาบาลที่ช่วยจับแขนขาผู้ป่วยจะต้องจับโดยผ่อนตามแรงชักเกร็งของผู้ป่วย
ดูแลเรื่องการหายใจ ให้ออกชิเจนไว้จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจสม่ำเสมอ
วัดสัญญาณชีพ และระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
3.3 การพยาบาลผู้ป่วย
หลังการทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
เมื่อผู้ป่วยพื้นเริ่มหายใจได้เองแล้วย้ายผู้ป่วยไปอยู่ห้องพักฟื้นหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
ตรวจวัดสัญญาณชีพ การหายใจ การสำลักเสมหะน้ำลาย
ดูแลความสะอาดของร่างกาย เหมือนผู้ป่วยหลังผ่าตัดทั่วไป
จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีอาการดังกล่าว
ในระยะ confuse ผู้ป่วยอาจมีอาการมึนงงสับสน กระสับกระส่าย
ควรคูแลอย่างใกล้ชิด ระวังอุบัติเหตุตกเตียง ให้ผู้ป่วยนอนพักจนรู้สึกตัวดีแล้วจึงค่อยนำผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วย
ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
ควรให้ผู้ป่วยนอนพักและดูแลให้ยาตามอาการ
ในบางรายอาจมีอาการสับสนหลงลืมไปบ้าง จึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น และดูแลจนกว่าจะทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง พร้อมกับสังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
การประเมินผล
ประเมินจากปฏิกิริยาอาการของผู้ป่วยหลังการทำการรักษา
ด้วยไฟฟ้าอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยและอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การพูดความรู้สึกของผู้ป่วยหลังทำ ECT