Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตราฐานการประกันคุณภาพการศึกษาปฐมวัย - Coggle Diagram
มาตราฐานการประกันคุณภาพการศึกษาปฐมวัย
มาตราฐานการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้
เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม พอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก
1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้
เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือ สงสัย และพยายาม ค้นหาคำตอบ
1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตา ประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
โดยสถานศึกษาออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมอย่างเป็นองค์รวมและเหมาะสมตามวัย ระดับคุณภาพ มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น
2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
สถานศึกษาจัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอนอย่างพอเพียงกับชั้นเรียน
2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก ใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรม
2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ
สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม และมีมุมประสบการณ์หลากหลาย
2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
สำหรับครู สถานศึกษาอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ และอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู
2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง ให้หน่วยงาน ต้นสังกัด
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
3.1. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
วิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข
จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กหลากหลายรูปแบบ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
จัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่ สำหรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและน าผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัด ประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
ประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช้แบบทดสอบวิเคราะห์ผล และนำผล การประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กโดยให้ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
ตังบ่งชี้
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
๙. ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
๑๐. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
11.ผลการค้าเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
กลุ่มตัวชี้มาตราการส่งเสริม
๑๒. ผลการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
(๑) ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
(๒) ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานรักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
๓. เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย
๔. เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย
๕. เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป
๖. ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสําคัญ
๒. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจสมวัย
๗. ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
๑. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย
๘. ประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายใน
๑) ประสิทธิผลของระบบประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
๒) พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด