Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปบทที่ 1 วันที่13/12/2564 - Coggle Diagram
สรุปบทที่ 1 วันที่13/12/2564
ธรรมชาติของการวัดการศึกษา
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม (Indirect)
เพราะเป็นการวัดลักษณะที่เป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม การวัดลักษณะที่เป็นนามธรรมผู้วัดต้องหาสิ่งเร้ามากระตุ้นให้บุคคลแสดงคุณลักษณะที่ต้องการวัดออกมาในลักษณะของพฤติกรรมที่สังเกตได้เสียก่อน แล้วจึงวัดพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่ามีปริมาณหรือคุณภาพอย่างไร โดยใช้วิธีการ / เครื่องมือต่างๆมาวัด
การวัดผลการศึกษาที่เป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete)
คือไม่สามารถวัดคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะสิ่งที่ทำการวัด เป็นเพียงตัวแทนของความสามารถหรือคุณลักษณะนั้น
3 การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน (Error)
การวัดผลการศึกษาย่อมเกิดความคลาดเคลื่อนมาก เพราะพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นนามประธรรม มีลักษณะซับซ้อน สังเกตหรือจับต้องไม่ได้
3.1 ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากผู้ถูกวัดหรือตัวผู้เรียน ได้แก่ความวิตกกังวล การเตรียมตัวไม่พร้อม สุขภาพไม่ดี การทุจริตในการสอบ ฯลฯ
3.2 ความคลาดเคลื่อนจากสิ่งภายนอก ได้แก่สภาพห้องเรียนไม่ดี มีเสียงรบกวน ข้อสอบบกพร่อง (โจทย์พิมพ์ผิดหรือพิมพ์ไม่ชัด) วิธีการวัดผลไม่เหมาะ สมกรรมการกำกับการตรวจสอบบกพร่องต่อหน้าที่ หรือผู้สอนตรวจให้คะแนนบกพร่อง
การวัดผลการศึกษา
เป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์ (Absolute zero) การวัดผลการศึกษาผล การวัดไม่มีศูนย์แท้ หรือศูนย์สมบูรณ์ต้องสมมุติขึ้น เรียกว่า ศูนย์สมมุติ (Arbitrary Zero)
ผลการวัดแสดงในรูปความสัมพันธ์ (Relation)
การวัดผลทางการศึกษาที่เป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ข้อมูลที่ได้จากการวัด หรือคะแนนเพียงอย่างเดียวไม่มีความหมายใดๆ
4.2 นำคะแนนที่ได้เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม เรียกว่าระบบอิงกลุ่ม
4.3 นำคะแนนที่ได้เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเรียกว่าระบบอิงเกณฑ์
4.1 นำคะแนนที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคะแนนเต็มหรือทำเป็นร้อยละของคะแนนเต็ม
ลักษณะของการวัดผล
ไม่สามารถกำหนดคุณลักษณะหรือสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างชัดเจน
คุณลักษณะหรือพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยการผสมผสานพฤติกรรมย่อย ๆ หลายชนิด
พฤติกรรมบางอย่างอาจไม่เกิดขึ้นในช่วงของการเรียน แต่อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียน ได้ประสบพบกับปัญหาจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน จึงแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ ออกมา
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
เพื่อจัดตำแหน่ง (Placement)
เป็นการวัดผลเพื่อดูว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถอยู่ตรงระดับใดของกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบแต่ละคนกับกลุ่มของเขาว่าสอบได้ที่เท่าไหร่ หรือได้เกรดอะไร
1.2 เพื่อคัดเลือก (Selection) เป็นการวัดผลเพื่อใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ หรือสรรหาบุคคลเข้ามาทำงานตามจำนวนที่ต้องการซึ่งจะคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถสูงหรือเหมาะสมที่สุด
1.1 เพื่อจำแนก (Classisication) เป็นการวัดผลเพื่อแยกแยะหรือแบ่งกลุ่มความสามารถของผู้เรียน
เพื่อเปรียบเทียบ (Assessment)
เป็นการวัดผลเพื่อบอกระดับการพัฒนาของผู้เรียนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งว่าผู้เรียนแต่ละคน หรือผู้เรียนแต่ละห้องมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นหรือพัฒนาขึ้นจากเดิมมากน้อยเพียงใด
เพื่อพยากรณ์ (Prediction)
เป็นการวัดผลเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตเช่นแนะแนวทางในการเรียน หรือการเลือกอาชีพของนักเรียน หรือควรจะทำงานด้านใดจึงจะประสบความสำเร็จ
เพื่อวินิจฉัย (Diagnosis)
เป็นการวัดผลเพื่อคอนโดว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความเก่ง-อ่อนในรายวิชาใด หรือเด่น-ด้อยในทางใด เพื่อแก้ไขหรือส่งเสริมให้ดีขึ้น
การประเมินค่า (Evaluation)
เป็นการวัดผลเพื่อนำมาใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความเก่งหรืออ่อนเพียงใดบรรลุเป้าหมายที่ต้องการมากน้อยแค่ไหนหรือประเมินการจัดการศึกษาโดยรวมว่าเป็นอย่างไร
หลักการวัดผลและการประเมินผลการศึกษา
กำหนดจุดประสงค์ในการวัดให้ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร หรือให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอะไร หรือมีความรู้ความสามารถอย่างไร
ระวังความคลาดเคลื่อน หรือความผิดพลาดของการวัด
3.3 ความผิดพลาดเนื่องมาจากการเลือกเนื้อหา และพฤติกรรมการวัดถ้าเลือกเนื้อหาและพฤติกรรมไม่เหมาะสมจะทำให้ผลการวัดที่ได้ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
3.1 ความผิดพลาดเนื่องมาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม
3.2 ความผิดพลาดเนื่องมาจากเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพไม่ดี และการใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
วัดให้ได้ผลที่ถูกต้องและครอบคลุม
เลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพดี และเหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด
ใช้ผลการวัดและประเมินให้คุ้มค่า การวัดผลที่ดีนั้นเป็นการวัดเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียน
ประเมินผลอย่างระมัดระวัง รอบคอบ ยุติธรรม และใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างเหมาะสมว่าจะประเมินแบบอิงเกณฑ์ หรืออิงกลุ่ม
ประเภทของการวัดและประเมินผล
จำแนกตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
1.2 การประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment) เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาว่าผู้เรียนรู้อะไรมาบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียน สิ่งที่รู้มาก่อนนี้ถูกต้องหรือไม่
1.3 การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning) ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดการเรียนการสอน
1.1 การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment) เป็นการประเมินก่อนเริ่มเรียนเพื่อต้องการข้อมูลที่แสดงความพร้อม ความสนใจ ระดับความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน
1.4 การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) มักเกิดขึ้นบ่อยเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัด และยังใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบการประเมินก่อนเรียน ทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน
จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2.2 การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning : AfL) เป็นกระบวนการรวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ ตามสภาพจริงเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.1 การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning : Aal) เป็นกระบวนการรวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนขณะเรียนรู้
2.3 การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning : AoL) เป็นกระบวนการรวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้
จำแนกตามวิธีการแปลความหมายผลการเรียนรู้
3.1 การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm - Refrernced Assessment = NR) เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถ หรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่มหรือในชั้นเรียน
3.2 การวัดและประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Criterion - Refrernced Assessment = CR) เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
กระบวนการประเมินผลการเรียนการสอน
กำหนดสิ่งที่จะประเมินว่าสิ่งที่จะประเมินนั้นมีเนื้อหาและพฤติกรรมอะไรบ้าง และมีจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนอย่างไร
กำหนดวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้วัดผลให้เหมาะสมกับเนื้อหาและพฤติกรรมที่วิเคราะห์ได้
สร้างเครื่องมือ หรือเลือกเครื่องมือตามเนื้อหาและพฤติกรรมที่กำหนดไว้
วิเคราะห์หลักสูตรหรือวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมว่ามีเนื้อหาสาระย่อยอะไรบ้าง และมุ่งให้เกิดพฤติกรรมทางการศึกษาอะไรบ้าง อย่างละเท่าไร
ดำเนินการวัดผลกับกลุ่มผู้เรียน
การประเมินผลเป็นการตัดสินลงสรุปข้อมูลที่ได้จากการวัดรอบผู้เรียนเป็นอย่างไร เด่นหรือด้อยในเรื่องใด ผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือควรได้เกรดอะไร