Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งลิ้น (Tongue Cancer), นางสาวจิราวรรณ บุญศิริ รหัสนักศึกษา…
มะเร็งลิ้น (Tongue Cancer)
การวางแผนการพยาบาล
1. ปวดเนื่องจากมีแผลผ่าตัดบริเวณลิ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความปวดจากการบอกเล่าของผู้ป่วย พฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น การเสดงสีหน้า การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น สัญญาณชีพ และใช้ pain score ในการประเมิน
การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา
จัดให้นอนในท่าที่ถูกต้องและจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบเพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อน
แนะนำให้ใช้มือประคบแผลผ่าตัดขณะที่ผู้ป่วยต้องเคลื่อนไหวหรือมีอาการไอ
ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรและให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
สอนวิธีการหายใจแบบ deep breathing
จัดวางท่อระบายจากแผลผ่าตัด เพื่อมิให้มีการดึงรั้งขณะที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหว
การบำบัดด้วยการให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาและประเมินผลข้างเคียงจากการได้รับยา
ประเมินความปวดหลังจากให้การพยาบาลหากอาการยังไม่ดีขึ้นรายงานแพทย์รับทราบ
2. มีภาวะแพ้ยาต้านโรค HIV
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสุขภาพและประเมินการกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ประเมินอาการแพ้ยาทุกครั้ง
แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการผิดปกติของการแพ้ยา เช่น ผื่น แผลพุพองบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก และอาการทางระบบประสาท
สอบถามถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานยา
ดูแลให้พบเภสัชกรเพื่อแนะน่าเรื่องอาการแพ้ยาที่เป็นอันตราย
3. วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความวิตกกังวลและท่าทีต่าง ๆที่แสดงออกของผู้ป่วยต่อความเจ็บป่วย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งยอมรับท่าทีและปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความวิตกกังวลนั้น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามปัญหาเกี่ยว กับการเจ็บป่วย ตอบข้อซักถามด้วยวาจาที่นุ่มนวล สุภาพ
เพื่อคลายความวิตกกังวล
ให้กำลังใจ สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและคอยดูแลช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรค การบำบัดรักษาและการดูแลตนเอง
การรักษา
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Morphine 3 mg. เวลามีอาการทุก 6 ชั่วโมง
Clindamycin 600 mg. ทุก 6 ชั่วโมง
Metoclopramide 10 mg ฉีดทางหลอดเลือดดำ เวลามีอาการทุก 6 ชั่วโมง
Paracetamol 500 mg. 1 Tab เมื่ออาการปวดหรือทุก4-6 ชั่วโมง
Truvada Tab สูตร TDF300+FTC รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เวลา 07.00 น.
IBuprofen Tab 400 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
Nevirapine Tab 200 mg. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด เวลา 07.00 น.
SMW 450 ml. (NO alcohol) ใช้บ้วนปากบ่อยๆ
Tranxene Cap 5 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
การผ่าตัด
การผ่าตัดลิ้นออกบางส่วนร่วมและต่อมน้ำเหลืองที่คอส่วน L1-3 (partial glossectomy with neck dissection L1-3)
สาเหตุและปัจจัยการเกิดโรค
ผู้ป่วยเป็นโรค HIV (Human immunodeficiency virus) ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อที่ไม่สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ “โรคฉวยโอกาส” หรือโรคแทรกซ้อนเข้ามาทำร้ายร่างกายได้ง่าย ในผู้ป่วยรายนี้จึงมีแผลบริเวณช่องปาก โดยเฉพาะลิ้น จึงทำให้ต่อมน้ำเหลืองส่วนคอบวม และมีพยาธิสภาพร่วมด้วย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
อาการปัจจุบัน
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 59 ปี รู้สึกตัวดี สื่อสารเข้าใจ หายใจค่อนข้างเหนื่อย ช่วยเหลือตนเองได้ On NG for feed BL 300 x 5 รับ feed ได้ ไม่มีอาการท้องอืด ท้องมาน , มีแผลผ่าตัดที่ลิ้นและ On Radivac drain 1 เส้น บริเวณใต้กระดูกไห้ปลาร้า มีอาการปวดมาก Pain score 8/10 , On Infusion plug สำหรับให้ยาบริเวณแขนขวา ไม่มีรอยบวมแดง , ปัสสาวะ 3 ครั้ง สีเหลืองใส ไม่มีกลิ่นเหม็น อุจจาระ 1 ครั้ง และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ตามปกติ
โรคประจำตัว
โรค HIV (Human immunodeficiency virus)
โรคไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia หรือ Dyslipidemia)
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
17 ปีก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยบอกว่าตนติดเชื้อ HIV มาจากสามีของตน เพราะสามีเล่นชู้ จึงทำให้ติดโรค เมื่อตนทราบจึงเข้าตรวจและรักษาตัวที่โรงพยาบาลพุทธชินราชรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและรักษาอย่างต่อเนื่อง
5 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีแผลที่ลิ้น ปวดแผลพอทน รับประทานอาหารได้น้อยลง แต่ไม่ได้เข้าการรักษา
2 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีแผลที่ลิ้นมากขึ้น ปวดแผลมาก รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ภายใน 1 สัปดาห์ จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) จึงให้การรักษาตามแผนการรักษา และนัดมาดูอาการเพื่อวางแผนการผ่าตัดทุกๆ 1 เดือน
1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมาตามนัดของแพทย์ ยังมีอาการเจ็บลิ้นด้านซ้าย รับประทานอาหารลำบาก แพทย์จึงวางแผนผ่าตัดลิ้นออกบางส่วนและต่อมน้ำเหลืองที่คอส่วน L1-3
อาการสำคัญที่นำมาโรงพยาบาล
มาตามนัดของแพทย์
ประวัติการเจ็บในอดีต
17 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ HIV เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและรักษาอย่างต่อเนื่อง
2 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช ปัจจุบันไม่ได้รับประทานยาแล้ว
พยาธิสภาพของโรค
โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งช่องปาก ซึ่งเกิดจากเซลล์ภายในลิ้นเจริญเติบโตมากผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อและเกิดแผลบริเวณลิ้น อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ อย่างคอหรือต่อมน้ำเหลืองได้
นางสาวจิราวรรณ บุญศิริ
รหัสนักศึกษา 62102301023 กลุ่ม A4