Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน ( Tissue Sarcoma), นใส จุฑารัตน์ ต่อฑีฆะ เลขที่ 11…
มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน ( Tissue Sarcoma)
เป็นมะเร็งที่เกิดจากการมีเซนไคม์เช่น ไฟเบอร์ ไขมัน กล้ามเนื้อเรียบ เยื่อบุผิว เยื่อหุ้มข้อ (synovium) หลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง เป็นต้น และอยู่ที่ตำแหน่งเนื้อเยื่ออ่อน (ยกเว้นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย) ซึ่งมีชื่อเรียกว่ามะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนหรือก้อนเนื้อที่เนื้อเยื่ออ่อน เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณแขน ขา ลำตัว ในระยะแรกมักไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบเพทย์เมื่อมีก้อนโตขึ้น และมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก และตับ
สาเหตุ
1.ความพิการแต่กำเนิด
2.พันธุกรรมจากครอบครัว
3.การกระตุ้นจากสิ่งแปลกปลอม
4.การกระตุ้นจากสารเคมี
5.บาดแผล
อาการ
อาการที่พบบ่อยสุดคือการบวมโตหรือมีก้อนโดยไม่รู้สึกเจ็บหรือมีอาการเจ็บบริเวณกระดูกและไขข้อที่ถูกลุกลามจากมะเร็ง
โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน มีอาการเช่นเป็นไข้รู้สึกไม่สบายทั้งตัว
น้ำหนักลดลงและมีเลือดออก
มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะรุกรานและทำลายเซลล์ปกติรอบข้าง ตัวมะเร็งเองสามารถตายไป มีอาการเลือดออกและมีการติดเชื้อได้
มักจะแพร่กระจายผ่านหลอดเลือดไปถึงปอด กระดูก ใต้ผิวหนัง สมอง ต่อมหมวกไตตับอ่อน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตเนื่องด้วยภาวะผิดปกติในร่างกาย เลือดออกอย่างรุนแรงและมีการลุกลามบริเวณกว้าง
การวินิจฉัย
การตรวจเลือด
โดยการตรวจเกร็ดเลือดของ Serum biochemical indicators เอนไซม์LDH โปรตีน อิเล็กโทรไลท์แคลเซียมและALP ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคได้
การตรวจโดยการถ่ายเอกซเรย์
CT Scan , MRI
การตรวจอัลตร้าซาวด์
การตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด สามารถบอกจุดสิ้นสุดของเนื้องอกได้
การตรวจทางพยาธิวิทยา
การตรวจโดยเซลส์วิทยา
การเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ :Biopsy
การแบ่งระยะ
แบ่งออกเป็นสี่ระยะ
ระยะที่ 1 ,2 และ 3 นั้นยังไม่มีการแพ่รกระจายที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือที่ไกลกว่านั้น
ระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองเป็นระยะที่4a
หากมีการแพร่กระจายไปในส่วนที่ไกลออกไปเป็นระยะที่4b
การรักษา
1.การผ่าตัด
การผ่าตัดแบบดั้งเดิม:เป็นการผ่าตัดเอามะเร็งและเซลล์มะเร็งบริเวณใกล้เคียงออกไป
การผ่าตัดเพื่อนำเซลล์มะเร็งออกให้มากที่สุด:เป็นวิธีการใช้ในการผ่าตัดในส่วนของมะเร็งที่ไม่สามารถผ่าตัดมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนออกหมดได้
การผ่าตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของแขนและขาออกไป:เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากและมีอาการที่รุนแรง สามารถพิจารณาการเลือกใช้การผ่าตัดวิธีนี้
2.การฉายแสง : การฉายแสงเพื่อยับยั้งการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งที่มีความรู้สึกไวจากรังสี สามารถทำได้ก่อนการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด
3.การให้ยาเคมี : โดยการใช้ยาทำลายเซลล์ร้าย แต่เพื่อได้รับผลลัพธ์ที่ดี ปริมาณของการใช้ยาจะค่อนข้างมาก และโดยปกติผลข้างเคียงของยาก็จะรุนแรงตามไปด้วย
ข้อวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง
ให้คำแนะนำเรื่องโรคและแผนการรักษา
สูญเสียอวัยวะ
สูญเสียภาพลักษณ์
ภาวะแทรกซ้อนจากเคมีบำบัด
ภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา
นใส จุฑารัตน์ ต่อฑีฆะ เลขที่ 11 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต