Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 14 การวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการทางผิวหนัง - Coggle Diagram
บทที่ 14 การวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการทางผิวหนัง
14.1.1. ผื่นเป็นปื้นนูนสีแดง
การวินิจฉัยแยกโรค: ลมพิษ (Urticaria)
สาเหตุ
เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แพ้จะสร้างสารแพ้ ที่เรียกว่า Histamine
อาการ
เกิดขึ้นเฉียบพลัน เป็นวงนูนแดง ขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน เนื้อภายใน วงจะนูนสีซีดกว่า ขอบเล็กน้อย ท้าให้เห็นเป็นขอบแดง คัน
แนวทางการรักษา
ประคบเย็น ให้ยาแก้แพ้ Chlorpheniramine 1-2 เม็ดต่อวัน นานติดต่อกัน 7 วัน ทา Calamine lotion หาสาเหตุ เพื่อไม่ให้ เป็นซ้้า
14.1.2. ผด ตุ่มแดงคัน
สาเหตุ
การระคายเคืองต่อผิวหนังเนื่องจากการถูกสารระคายเคืองท้าให้ผิวหนังเกิดการ อักเสบ เช่น กรด ด่าง สบู่
การแพ้ เครื่องส้าอาง ยาทาเฉพาะที่
อาการ
ผื่นแดง/ตุ่มน้้าใสเล็กๆ คันมากขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสถูกสิ่งที่แพ้อาจ ทำให้เห็นเป็นรอย ของสิ่งที่แพ้
แนวทางการรักษา
หาสาเหตุที่แพ้แล้วหลีกเลี่ยง โดยสังเกตจากต้าแหน่งที่เป็น อาชีพ และงานอดิเรก
สืบหาสาเหตุ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นซ้้า
ทาสเตียรอยด์ครีมหรือใช้ยาขมิ้นชันละลายน้้า ชุบทาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
14.1.6.2 เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นลึกอักเสบ
สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcus หรือ Staphylococcus
อาการ: ผิวหนังบวมแดงร้อนปวด ขอบเขตไม่ชัด มักเกิดตามแขนขา ใบหน้า
การรักษา: ให้พักผ่อน พยายามไม่เคลื่อนไหวส่วนที่อักเสบ ยกส่วนที่อักเสบ ให้สูง ใช้น้้าอุ่นจัดๆ
14.1.3. ตุ่มใส
สาเหตุ: เกิดจากตัวหิดเข้าไปท้าให้ผิวหนังอักเสบ คัน
อาการ: ตุ่มน้้าใสและตุ่มหนอง คัน กระจายทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักพบที่ ง่ามมือ-เท้า ข้อมือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม
แนวทางการรักษา: ใช้ (เบนซิลเบนโซเอต) Benzyl benzoate 25% หรือแกมมา เบนซีนเฮกซา คลอไรด์ (Gamma benzene hexachloride) มีชื่อทางการค้า เช่น ลอเร็กเซน (Lorexane) ทา โดยอาบน้้าถูสบู่และเช็ดตัวให้แห้งก่อน แล้วจึงทายาทั่วทุกส่วนของร่างกาย
หิด (Scabies)
14.1.4. พื้นขึ้นเป็นวงขุย ขอบแดง คัน
กลาก (Dermatophytosis, Ringworm)
สาเหตุ: เชื้อราพวกเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ชอบเจริญอยู่เฉพาะในผิวหนังชั้นนอกสุดเส้นผมและเล็บ ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
อาการ
กลากตามลำตัว (Tinea Corporis)
กลากที่ศีรษะ (Tinea capitis)
สังคัง (Tinea Cruris) (เชื้อราที่ขาหนีบ)
ฮ่องกงฟุต (Tinea pedis) (เชื้อราที่เท้า)
กลากที่เล็บ (Tinea unguium)
แนวทางการรักษา:
เป็นที่ผิวหนัง ง่ามเท้า หรือฝ่าเท้า ทาด้วยขี้ผึ้งรักษากลากเกลื้อน หรือครีม รักษาโรค เชื้อรา วันละ 2-3 ครั้ง
เชื้อราที่ศีรษะ หรือเล็บให้รับประทานยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ Griseofulvin โดยที่ ศีรษะ รับประทานติดต่อกันทุกวันนาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผมให้สั้น
14.1.5. วงด่างเล็กๆ (สีขาว แดง หรือน้ าตาล)
เกลื้อน (Tinea versicolor)
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา มาลาสซีเชีย เฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur) หรือ พิไทโรสปอรัม ออร์บิคู ลาเร (pityrosporum orbiculare) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อยู่ตามหนังศีรษะ ของคนเราเป็นปกติ
อาการ: มีผื่นขึ้นเป็นดวงกลมเล็กๆกระจาย ทั่วไปบริเวณที่มีเหงื่อ ออก ผื่นมักแยกกันเป็นดวงๆ บางครั้งอาจต่อกันเป็นแผ่นใหญ่
แนวทางการรักษา: ใช้ครีมรักษาเชื้อรา/แชมพูสระผมที่มีตัวยา Selenium Sulfide โดยอาบน้้า เช็ดตัวให้แห้ง แล้วใช้ส้าลีชุบยาทาบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้ 15 นาที แล้ว อาบน้้าใหม่ ล้างยาออก
14.1.6. ตุ่มหนอง เป็นฝีพุพอง หรือตุ่มหนอง
ฝี(Abscess)
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟฟิโลคอกคัส อาจติดต่อโดยการสัมผัส ผู้ป่วยโดยตรง
อาการ: เป็นตุ่ม/ก้อนบวมแดง ปวด กดเจ็บ มีผม หรือขนอยู่ตรงกลางขึ้นใหม่ๆ จะแข็ง ตุ่มนี้จะ ขยายโตขึ้นและเจ็บมาก
การรักษา: ใช้ผ้าชุบน้้าอุ่นจัดๆ ประคบ ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Cloxacillin Erythromycin หรือ อีริโทรไมซิน นาน 5-7 วัน ถ้าฝีสุกอาจใช้เข็มเจาะดูด/ ผ่าระบายเอาหนองออก
14.1.6.3 ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Beta Streptococcus group A
อาการ: เกิดขึ้นเฉียบพลัน เริ่มแรกมีไข้สูงหนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
การรักษา: ให้พักผ่อน พยายามไม่เคลื่อนไหวส่วนที่อักเสบ ยกส่วนที่อักเสบ ให้สูง และใช้น้้าอุ่น จัดๆ ประคบให้ยาแก้ปวดลดไข้
14.1.6.4 แผลพุพอง (Impetigo)
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Staphylococcus aureus
อาการ: เริ่มแรกขึ้นเป็นผื่นแดง และคัน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้้าใส ซึ่งจะแตกง่าย กลายเป็นสีแดง มีน้้าเหลืองเหนียวๆ ติดเยิ้ม
แนวทางการรักษา:
อาบน้้าฟอกด้วยสบู่วันละ 2 ครั้ง และใช้น้้าด่างทับทิมชะล้างเอาคราบสะเก็ด ออกไป 2. ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ เช่น Chlorpheniramine
ทาแผลด้วย ขี้ผึ้งเตตราไซคลีน หรือครีมเจนตาไมซิน
14.1.7. ตุ่มหนองตื้นๆ (Superficial pustules)
ผื่นแพ้จากพิษแมลง (Paederus dermatitis)
สาเหตุ: จากการสัมผัสแมลงต่างๆ
อาการ: ผิวหนังมีอาการบวมแดง เกิดความเจ็บปวด หรือปวดแสบปวดร้อน เกิดผื่นคันระคายเคือง
แนวทางการรักษา: ประคบด้วยน้้าต้มสุกที่เย็นแล้ว ครั้งละ 10 นาที วันละ 2 ครั้ง ถ้าปวดให้ยาแก้ ปวดให้ทา Steroid Cream ถ้าคันให้ยาแก้แพ้แก้คันตามอาการ
14.1.8. ตุ่มน้ าใสเล็กๆ
งูสวัด (Herpes Zoster)
สาเหตุ: เชื้อ Herpes Zoster ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับอีสุกอีใส ติดต่อโดยการสัมผัส
อาการ: เริ่มแรกจะรู้สึกไม่สุขสบาย อาจมีไข้ ปวดตามผิวกาย โดยเฉพาะตาม แนวเส้นประสาท
แนวทางการรักษา
อาการไม่รุนแรง รักษาตามอาการ ให้ยาแก้ปวด ปวดแสบปวดร้อนให้ทายา แก้ผดผื่น คัน/ครีมพญายอ
ถ้าขึ้นที่บริเวณหน้า หรือพบเป็นชนิดแพร่กระจาย ควรส่งโรงพยาบาลอาจต้องพักในโรงพยาบาล
ในรายที่ปวดประสาทหลังเป็นงูสวัดเป็นภาวะ แทรกซ้อนที่ พบบ่อยที่สุด มีลักษณะปวดลึกๆ แบบปวดแสบปวดร้อน ตลอดเวลา หรือปวดแปลับๆ ปวดเสียว เป็นพักๆ หรือ ปวดเมื่อถูกสัมผัสเบาๆ พบว่า ยิ่งอายมากยิ่ง ปวดรุนแรง