Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ - Coggle Diagram
กระบวนการพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 การวางแผน
กำหนดเป้าหมาย : กำหนดเป้าหมายของการเรียนให้ชัดเจนว่าผู้เรียนคือใคร
วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง : เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงานและออกแบบบทเรียน
กำหนดแผนการปฏิบัติงาน : แบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็นระยะ ๆ
ขั้นที่ 2 การออกแบบ
เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม : คำที่ระบุในวัตถุประสงค์ประเภทนี้จึงเป็นคำกริยาที่ชี้เฉพาะ เช่น อธิบาย เปรียบเทียบ แยกแยะ วิเคราะห์ เป็นต้น
เขียนเนื้อหา : รวบรวมเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และใช้ประโยคที่สั้นกระชับได้ใจความ
กำหนดรูปแบบ กลวิธีในการสอน และวิธีการประเมินผล : ใช้เทคนิคระดมสมอง และต้องคิดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อที่จะพิจาณาว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
วางโครงสร้างของบทเรียนและเส้นทางการควบคุมบทเรียน : ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนแบบฝึกหัด ส่วนแบบทดสอบ เป็นต้น
เขียนผังการทำงานของโปรแกรม : นิยมใช้แบบและสัญลักษณ์เดียวกับการเขียน Flow ความละเอียดในการทำงานขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเนื้อหา
ร่างส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน้าจอ : ทำให้เกิดภาพคร่าว ๆ ว่าบทเรียนประกอบด้วยส่วนใดบ้าง
เขียนสตอรี่บอร์ด : เป็นแบบฟอร์มกระดาษที่แสดงรายละเอียดแต่ละหน้าจอตั้งเเต่เฟรมแรกจนถึงสุดท้าย
ขั้นที่ 3 การพัฒนา
เตรียมสื่อในการนำเสนอเนื้อหา : เตรียมข้อความ เตรียมภาพและกราฟิก เตรียมเสียง และเตรียมวีดิทัศน์
เตรียมกราฟิกที่ใช้ตกแต่งหน้าจอ : พื้นหลังของหน้าจอ หรือปุ่มควบคุมบทเรียน
การเขียนโปรมแกรม : Flash, Authorware, ToolBook, Director เป็นต้น
ทดสอบการใช้งานเบื้องต้น : เพื่อหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม และทำการปรับปรุงแก้ไข
สร้างคู่มือการใช้งานและบรรจุภัณฑ์ : บอกวิธีการใช้งานโปรแกรม คุณสมบัติ และระบบปฏิบัติการที่เหมาะสม
ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุง
การประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
การประเมินด้านเนื้อหา : ความถูกต้องสมบูรณ์ ความทันสมัย ปริมาณเนื้อหา โครงสร้าง และการแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา การใช้ภาษา ความยากง่าย เป็นต้น
การประเมินด้านสื่อ : ออกแบบการเรียนการสอน ออกแบบหน้าจอ และการใช้งาน
การทดลองใช้กับผู้เรียน
Pilot Testing ทดลองใช้บทเรียนกับผู้เรียน คือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้เรียนจริง 3 คน
Field Testing นำบทเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทำการทดลองใหม่กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของกลุ่มนักเรียนจริง ไม่น้อยกว่า 30 คน
การปรับปรุงแก้ไข
ควรวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมินทั้งหมด