Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด - Coggle Diagram
บทที่ 10 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด
หลอดเลือดดำอักเสบ (thrombophlebitis)
อาการและอาการแสดง
กรณีมีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณพื้นผิว (superficial venous thrombosis)
จะมีอาการปวดน่อง เล็กน้อย บวม แดงร้อน หลอดเลือดดำแข็ง
กรณีมีการอักเสบของหลอดเลือดดำที่ลึกลงไป (deep venous thrombosis)
มีอาการไข้ต่ำๆ ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคลำไม่ได้ กดหลอดเลือดดำส่วนลึกเจ็บ ดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวให้น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan’s sing positive) กล้ามเนื้อน่องเกร็ง ปวดตื้อ ๆ ที่น่องหรือที่ขา มีอาการบวมบริเวณขาเนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน
แนวทางการรักษา
1. ให้ยากระตุ้นการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (anticoagulant therapy) โดยให้ heparin ทางหลอดเลือดดำ
2. ให้ยาปฏิชีวนะ
3. ผ่าตัดในรายที่อาการรุนแรง
4. ให้ยาแก้ปวด
การพยาบาลสตรีหลังคลอดที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ
1. การพยาบาลเพื่อป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำ
1.1 รองผ้าบนขาหยั่งเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักกดลงบนน่อง และไม่ให้อยู่บนขาหยั่งนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
1.2 กระตุ้นสตรีหลังคลอดให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดส่วนล่าง ถ้าสตรีหลัง คลอดไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ควรเริ่มบริหารส่วนขาหลังคลอด 8 ชั่วโมง โดยแนะนำให้งอเข่าแล้วเหยียดตรง ยกขาแล้ว หมุนเป็นวงกลม
1.3 กรณีที่มีหลอดเลือดดำขอดพอง หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอักเสบมาก่อน แนะนำให้สวมถุงน่องช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด โดยการสวมถุงน่อง ให้สวมก่อนลุกจากเตียงตอนเช้าเพราะถ้าลุกยืนและเดิน ก่อน จะมีคั่งของเลือด เกิดขึ้นแล้ว ควรถอดถุงน่องวันละ 2 ครั้ง เพื่อประเมินอาการ
1.4 แนะนำสตรีหลังคลอดให้ดูแลตนเองให้หลีกเลี่ยงการนั่งนาน ๆ ลุกเดินทุกครึ่งชั่วโมงหรือทุกชั่วโมง ป้องกันการคั่งของเลือดบริเวณขา เพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่กลับไปสู่หัวใจและหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างเพื่อหลีกเลี่ยง แรงกดดันใต้เข่า ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังขาลดลง และการยกเท้าสูงขณะนั่งหรือนอนเพื่อส่งเสริมการ ไหลเวียนของเลือด
2. การพยาบาลเมื่อเกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำ
2.1 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบาย
2.1.1 ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
2.1.2 ให้นอนพักยกขาข้างที่เกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำนี้สูงขึ้น
2.1.3 ประคบด้วยความร้อน ไม่ควรนวดบริเวณน่องเพราะอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด
2.1.4 ดูแลความสุขสบายทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องนอนพักอยู่บนเตียงนาน ดูแลผ้าปูเตียงให้สะอาดๆ ไม่เปียกชื้น จากการประคบขา
2.2 กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดส่วนลึก ที่ได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปฏิบัติดังนี้
2.2.1 ตรวจหาระดับการแข็งตัวของเลือด (prothrombin) ก่อนให้ยา
2.2.2 สังเกตปริมาณเลือดออกในส่วนอื่นของร่างกาย เช่น รอยซ้ำหรือมีเลือดไหลซึมที่เหงือก หรือแผลฝี เย็บ หรือข้อบ่งชี้อื่น ๆ ที่แสดงให้ทราบว่าระดับการแข็งตัวของหลอดเลือดดำที่ผิดปกติ
2.2.3 ประเมินน้ำคาวปลาทุก 4 ชั่วโมง 2.2.4 กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3,000-4,000 มิลลิลิตร เพื่อลดความหนืดของเลือด
2.2.5 บางรายอาจต้องงดให้นมมารดาแก่บุตร เนื่องจากตัวยาผ่านทางน้ำนมได้ ควรอธิบายให้เข้าใจและ ให้รักษาระดับการสร้างน้ำนม โดยการบีบน้ำนมออกตามระยะเวลาที่ให้นมบุตร
2.2.6 ไม่ให้แอสไพรินในรายที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
2.3 ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
2.4 ให้การพยาบาลตามอาการ
2.5 อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับอาการที่เป็น ถ้าการรักษาเหมาะสมอาการ จะหายประมาณ 2-3 วัน แต่ระยะ ของโรคอาจใช้เวลา 4-6 สัปดาห์จึงจะกลับคืนสู่สภาพเดิม ขาข้างที่มีการอักเสบอาจไม่กลับคืนมีขนาดเท่าเดิม และอาจมี อาการไม่สุขสบายขณะยืนเป็นระยะเวลานาน
เต้านมเป็นฝี (breast abscess)
อาการและอาการแสดง
อาการเริ่มต้นคัดตึงเต้านมอย่างรุนแรง ต่อมาปวดเต้านมมาก ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูง อย่างรวดเร็ว อาจสูงถึง 38.3-40.0 ๐C ชีพจรเร็ว มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมไหลออกน้อยลง บริเวณเต้านมแดงร้อน แข็งตึง 4 ขยายใหญ่ กดเจ็บ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ อาจมีอาการหนาวสั่น ในรายที่มีอาการลุกลามเกิดการอักเสบจะมีหนอง ออกจากเต้านม
การรักษา
การให้ยาปฏิชีวนะ กรณีที่เป็นหนองอาจจะต้องเปิดแผลกว้าง เพื่อระบายให้หนองไหลออกสะดวก
การพยาบาลสตรีหลังคลอดที่มีการอักเสบติดเชื้อของเต้านม ตามเป้าหมาย
1. การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่เต้านม
1.1 ล้างมือทุกครั้งที่จะสัมผัสเต้านม
1.2 ทำความสะอาดเต้านมและหัวนม เช็ดคราบที่ติดหัวนมออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ หรือสารอื่นที่ทำให้หัวนมแห้ง
1.3 สวมเสื้อพยุงเต้านมไว้ให้พอดี
1.4 ขณะดูดนมให้ปากทารกอยู่บนลานนมให้มากที่สุด ถ้าจะให้ทารกปล่อยหัวนมให้กดปลายคางทารกให้อ้า ปากเสียก่อน แล้วจึงค่อยดึงหัวนมออก
1.5 เปลี่ยนท่าในการให้นมบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้แรงกดจากการดูดทารกลงบนส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวนมมาก เกินไป
1.6 ถ้ามีอาการคัดตึงเต้านม บีบน้ำนมออก ให้ลานนมอ่อนนุ่มและนวดเต้านมก่อนให้ทารกดูด
1.7 ถ้ามีหัวนมแตกต้องรีบรักษา และอาจใช้ nipple shield ครอบขณะให้ทารกดูดนมมารดา
2. การพยาบาลเพื่อช่วยเหลือขณะมีการอักเสบติดเชื้อ
2.1 ลดการกระตุ้นเต้านมและหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ รักษาความสะอาด ใช้ความร้อนเป่า (อาจใช้ที่เป่า ผมก็ได้) เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำนมดี ลดความเจ็บปวด และอาจช่วยให้น้ำนมออกมา โดยใช้เครื่องปั๊ม น้ำนมไฟฟ้า หรือใช้มือบีบแต่ไม่นวด
2.2 กรณีเต้านมอักเสบให้ทารกดูดนมต่อไปได้ ถ้าเต้านมเป็นฝีอาจจะงดทารกดูดน้ำนมข้างนั้นและบีบน้ำนม ออก
2.3 ให้ยาปฏิชีวนะและยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา
2.4 สวมเสื้อชั้นในหรือพันผ้าเพื่อพยุงเต้านม (supporting binding) ต้องระวังไม่พันผ้าแน่นหรือสวมเสื้อ ชั้นในคับเกินไป
2.5 ในรายที่แพทย์เปิดแผลเพื่อระบายหนองออก ให้ทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง
2.6 แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
ภาวะซึมเศร้าและโรคจิตหลังคลอด (Postpartum depression and Psychosis)
ภาวะผิดปกติด้านจิตใจหลังคลอด
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
อาการแสดง
1. เศร้า ร้องไห้บ่อย
2. รู้สึกจุกแน่นในอก
3. นอนไม่หลับ หรือนอนหลับตลอดเวลา
4. ไม่มีความอยากอาหาร รับประทานอาหารได้น้อย
5. ขาดความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ การสังสรรค์ รวมไปถึงความสนใจในเรื่องเพศ
6. ท่าทางเหนื่อย ไม่มีเรี่ยวแรง ถ้าอาการรุนแรงมากจะคิดช้า พูดช้า ทำงานช้า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถ ตัดสินใจได้
7. ท้อแท้ หมดหวัง มองโลกในแง่ร้าย ไม่พึงพอใจ หรือไม่ถูกใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
8. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่าไม่มี่ความหมายำหรับผู้ใด ไม่สามารถเป็นมารดาที่ดี ไม่ชื่นชอบตนเอง (self – depreciation) ตีค่าตนเองต่ำ (low self-esteem) จึงมักไม่ค่อยสมาคมกับใครแยกตัวเอง (isolation)
9. จิตใจหดหู่ หม่นหมอง เศร้าสร้อย ไม่มีความสุขในชีวิตประจำวัน มองโลกในด้านลบ รู้สึกว่าทุกอย่างไม่สดใส บุคคลรอบข้างเอาเปรียบและเชื้อถือไม่ได้
10. ในรายที่มีความรู้สึกเศร้ามาก ๆ จะมีความคิดทำร้ายและทำร้ายตนเอง จึงอาจเกิดการฆ่าตัวตายได้ง่าย หาก มีเหตุการณ์ที่ทำให้คับแค้นใจเกิดขึ้น
สาเหตุ
1. ความตึงเครียดด้านร่างกาย (biological stress)
2. ความตึงเครียดด้านจิตใจ (psychological stress)
3.ความตึงเครียดด้านสังคม (social stress)
ผลกระทบของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีอาการที่ซับซ้อนและไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจน การคัดกรอง โดยการสังเกต และการใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (The Beck Depression Inventory or the Edinburg Postnatal Depression Scale) จะช่วยให้สตรีได้รับการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มมีอาการ ส่งผลให้การทำนายโรคค่อนข้างดี สามารถ กลับคืนสู่สภาพปกติได้ดีแต่บางรายที่ไม่ได้รับการรักษา หรือความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่การเป็นโรคจิตหลัง คลอด หรือเกิดความผิดปกติด้านจิตใจได้ในครรภ์ต่อ ๆ ไป หรือเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติเกิดขึ้นในชีวิต
1. อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues)
สาเหตุส่งเสริม
1. จากการคลอด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งทางกาย จิต และสังคม
2. ความเครียดทางกาย
อาการและอาการแสดง
ร้องไห้ไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเสียใจ วิตกกังวล เศร้า โกรธ กระวนกระวายใจไม่มีสมาธิ รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
ซึ่งอาการพวกนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
แนวทางการรักษา
การพยาบาลช่วยประคับประคองทางร่างกายและจิตใจให้ สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว รับฟัง ให้กำลังใจ ให้คำอธิบายกลไกการเกิดอาการ การช่วยเหลือตนเอง การให้สามีช่วย แบ่งเบาภาระ และการช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
อาการแสดง
1. อาการนำ มักเริ่มเป็นในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด
นอนไม่หลับ ฝันร้าย ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม รอบตัว กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย สับสน ความจำเสีย และขาดสมาธิ กระตุก เกร็ง พูดเร็ว
2. อาการโรคจิต
อาการแบบซึมเศร้า ได้แก่ มีอารมณ์เศร้าอย่างมาก เบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดีความคิดเบื่อชีวิตและคิดอยากตาย
อาการแบบแมเนีย ได้แก่ มีอารมณ์สนุกสนานร่าเริงผิดปกติ และมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย
สาเหตุ
1. เคยมีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
2. มีประวัติเป็น bipolar มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่าสตรีทั่วไป
3. มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่เดิม เช่น บุคลิกภาพแบบเก็บตัวหรือบุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ
4. มีความเครียดในระยะตั้งครรภ์ ขาดการสนับสนุนจากสามีและญาติ ปัญหาเศรษฐานะ
5. มีประวัติของบุคคลในครอบครัวเป็นโรคจิต
การรักษาทางกาย
1.1 ในรายที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด ให้ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) ในขนาดที่เพียงพอ
1.2 ในรายที่เป็นโรคจิตหลังคลอด ให้ยาพวก major transquilizer หรือ antipsychoticdrug
1.3 การช็อกไฟฟ้า สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงหรือใช้ยารักษาไม่ได้ผล
การรักษาทางจิตใจโดยใช้จิตบำบัด (psychotherapy)
2.1 การทำจิตบำบัดเป็นรายบุคคล (individual therapy) จิตบำบัดกลุ่ม ( group therapy) การบำบัดทาง
ปัญญา (cognitive behavior therapy) หรือการบำบัดที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focused therapy)
2.2 จิตบำบัดครอบครัว (family therapy) หรือจิตบำบัดระหว่างคู่สมรส (marital therapy) หรือ
psychoeducation
3. การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม (environment therapy)
การพยาบาลสตรีและครอบครัวที่มีความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
1. การป้องกันในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
1.1 ระยะตั้งครรภ์
1.1.1 ควรเตรียมความพร้อมเพื่อการคลอด (childbirth preparation )
1.1.2 อธิบายให้คู่สมรสและครอบครัวเข้าใจ ให้ความอบอุ่น มั่นคงด้านจิตใจ และให้ความช่วยเหลือเรื่อง ภาระหน้าที่และด้านเศรษฐกิจ
1.1.3 การประเมินค้นหาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ โดยการสังเกตหรือใช้แบบประเมินทุกไตรมาสและแก้ไข ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
1.2 ระยะคลอด
1.2.1 ควรดูแลให้ได้รับความสุขสบายทางร่างกาย ดูแลให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ และสนับสนุน ประคับประคองจิตใจของมารดาไม่ให้มีภาวะเครียดจากการคลอด 1.3 ระยะหลังคลอด
1.3 ระยะหลังคลอด
1.3.1 ประเมินปัจจัยเสี่ยงและสังเกตอาการแสดงของความผิดปกติทางจิตใจ เพื่อให้การรักษาพยาบาลที่ เหมาะสมตั้งแต่ในระยะแรก
1.3.2 เปิดโอกาสให้สตรีได้พูดคุย ระบายความรู้สึกของตนเองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและ จิตใจที่เกิดขึ้น
1.3.3 ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในระยะหลังคลอดและการบริบาลทารก เพื่อให้ มารดาสามารถปรับตัวสู่บทบาทของความเป็นมารดาได้อย่างเหมาะสม
1.3.4 มีการบันทึกติดตามส่งต่อพฤติกรรม คำพูด ที่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติและรายงานให้แพทย์ ทราบเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
1.3.5 ติดตามประเมินอาการของความผิดปกติด้านจิตใจในสตรีที่มารับการตรวจหลังคลอดทุกราย โดย เน้นในรายที่เคยมีประวัติโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorders)
2. การพยาบาลสตรีและครอบครัวที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
2.1 เพื่อให้สตรีหลังคลอดได้รับความสุขสบายด้านร่างกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.1.1 ดูแลการบรรเทาความเจ็บปวด ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ที่นอน พร้อมทั้งอธิบายการ เปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะหลังคลออด สาเหตุของความไม่สุขสบายรวมทั้งอธิบายให้เข้าใจถึงสภาพอารมณ์ซึมเศร้า หรือการร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุนั้นว่าเป็นสิ่งปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับสตรีในระยะคลอดทั่วไป
2.1.2 หากสตรีหลังคลอดมีอาการสงบอาจนำบุตรมาให้เลี้ยงดูในตอนกลางวันและนำกลับไปไว้ในห้อง ทารกแรกเกิดในตอนกลางคืน เพื่อให้มารดามีโอกาสพักผ่อนอย่างเต็มที่
2.2 สนับสนุนให้สตรีหลังคลอดได้รับการประคับประคองทางด้านจิตใจ จากบุคลากรทีมสุขภาพ สามีและ ญาติ
2.2.1 พยาบาลควรให้ความสนใจต่อการพูดคุยของมารดา ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ด้วย ท่าทีและคำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจและเต็มที่จะช่วยเหลือ
2.2.2 ให้กำลังใจคู่สมรสและสมาชิกในครอบครัว โดยอธิบายถึงแนวทางการรักษาการพยากรณ์โรค ค่อนข้างดี นอกจากนี้ควรแนะนำสามีและญาติให้พยายามหันเหความสนใจมาที่ตัวมารดามากกว่าทารก และให้การดูแล เอาใจใส่ประคับประคองจิตใจ
2.3 ส่งเสริมและให้กำลังใจในการแสดงบทบาทการเป็นมารดา
2.3.1 ประเมินความพร้อมของมารดา ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนและการเลี้ยงดูบุตรโดยต้องคำนึงด้วยว่า คำแนะนำที่ให้แก่มารดานั้น อาจทำให้มารดาเกิดความตึงเครียดและสับสนได้
2.3.2 ให้กำลังใจแก่มารดา โดยการกล่าวชมเชย เมื่อมารดาสามารถปฏิบัติตัวหรือให้การดูแลทารกได้ ถูกต้อง เพื่อให้มารดาเกิดความมั่นใจในบทบาทการเป็นมารดา
2.3.3 ให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงดูทารก เมื่อพบว่ามารดาเริ่มประสบความยุ่งยากแต่พยาบาลไม่ควรมี บทบาทในการเลี้ยงดูทารกเองทั้งหมด พยาบาลควรส่งเสริมให้กำลังใจ โดยทำให้มารดารู้สึกว่าตนเองเป็นบุคคลสำคัญในการเลี้ยงดูทารก
2.4 ให้สตรีหลังคลอดได้รับความช่วยเหลือ และดูแลการรักษาเพื่อบำบัดภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม
2.4.1 มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง โดยเฉพาะระยะที่มารดากำลังเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า หรือใน ระยะที่กำลังฟื้นจากภาวะซึมเศร้า เป็นระยะที่มีการทำลายชีวิตตนเองมากที่สุด พยาบาลจึงควรป้องกัน ไม่ให้มารดาทำ ร้ายตนแอง ฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายบุตร โดยการไม่ละทิ้งให้มารดาอยู่ตามลำพังกับทารก เก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ที่อาจ ก่อให้เกิดอันตราย กิจกรรมต่าง ๆ ของมารดาควรอยู่ในสายตาของพยาบาล แต่ไม่ควรให้มารดาเกิดความรู้สึกว่าตนเองถูก จ้องมองอยู่ตลอดเวลา
2.4.2 จัดให้มารดาเข้ากลุ่มทำกิจกรรมร่วมกับมารดารายอื่นที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันให้ความช่วยเหลือ ประคับประคองซึ่งกันและกัน หรือจัดให้ได้พูดคุยกับมารดาผู้ซึ่งเคยผ่านภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาแล้ว เพื่อให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้การที่มารดาได้เข้าร่วมกลุ่มมารดารายอื่น ๆ ทำให้เกิดความอบอุ่น ไม่รู้สึกโดด เดี่ยว หรือว้าเหว่ ความรู้สึกที่คิดว่าตนเองถูกทอดทิ้งจะลดน้อยลง มารดาสามารถฟื้นคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น
2.4.3 เมื่อมารดาเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางจิตใจรุนแรงขึ้น ควรส่งต่อจิตแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษา มารดาหลังคลอดต่อไป
3.การพยาบาลสตรีและครอบครัวที่เป็นโรคจิตหลังคลอด
3.1 เพื่อให้สตรีหลังคลอดได้รับความสุขสบาย และส่งเสริมให้มีสุขภาพอนามียที่ดี
3.1.1 ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้มารดาได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3.1.2 ดูแลการรับประทานอาหารของมารดาในแต่ละมื้อ และพยายามจัดอาหารตามความชอบของมารดา
3.2 ให้มารดา สามี และญาติ ได้ทราบถึงการวินิจฉัย และการรักษาของแพทย์ โดยอธิบายให้มารดาและสามี เข้าใจถึงวิธีการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า
3.3 ให้มารดาได้รับความปลอดภัยและได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
3.3.1 ควรจัดกิจกรรมการพยาบาลที่จะให้แก่มารดาอย่างเหมาะสม ไม่ให้มากจนเกินไป
3.3.2 สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และคำพูดของมารดาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการทำร้าย ตัวเอง และควรเก็บสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย
3.3.3 ให้เวลาแก่มารดาในการพูดคุย และรับฟังในสิ่งที่มารดาพูดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไม่ควรขัดแย้ง หรือตำหนิความคิดของมารดา พยายามรับฟังด้วยความสนใจ ไม่ขัดจังหวะการสนทนา หรือเปลี่ยนเรื่องสนทนา
3.3.4 ชักนำให้มารดาเข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัด เมื่อมารดามีความพร้อม อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงเหตุผลในการมารวมกลุ่ม พร้อมทั้งแนะนำบุคคลอื่น ๆ ที่มาร่วมกลุ่ม ไม่ควรเร่งรัดมารดาหากมารดา ไม่พร้อมหรือไม่ยอมเข้าร่วม กลุ่มจิตบำบัด
3.3.5 ดูแลมารดาได้รับยารักษาโรคจิตอย่างถูกต้องตรงตามแผนการรักษา และสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่ อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา
3.4 ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว และให้ครอบครัวสามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ได้ตามความ เหมาะสม
3.4.1 พยาบาลควรให้ความสนใจแก่สามีและญาติ ควรอธิบายให้สามีเข้าใจถึงความเจ็บป่วยของภรรยาอธิบายถึงพฤติกรรม ปัญหาต่าง ๆ ของภรรยา และการดูแลรักษาที่ได้รับ เปิดโอกาสให้สามีได้ระบายความรู้สึก ชักถามข้อสงสัย
3.4.2 ควรให้คำแนะนำแก่สตรีและสามีในการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ หรือเว้นระยะการมีบุตร 2-3 ปี เนื่องจากสตรี อาจมีโอกาสกลับเป็นโรคจิตหลังคลอดช้ำได้