Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการตั้งครรภ์ - Coggle…
บทที่ 12 การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการตั้งครรภ์
Hyperemesis gravidarum
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
อาการคลื่นไส้ อาเจียนยาวนานเกินอายุครรภ์ 12 Wk. คลื่นไส้ อาเจียนตลอดทั้งวัน ต่อเนื่อง
ทำให้น้ำหนักลดลง
สาเหตุ
ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน
Estrogen, Human chorionic gonadotrophin (HCG) มากเกินไป
ด้านจิตใจ เช่น มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย มีความยุ่งยากในบทบาทการเป็น มารดา และการปรับตัวกับแบบแผนการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ความรู้สึกด้านลบ
กลไกการเกิด
1.การเปลี่ยนแปลงของระดับ HCGกระตุ้นCTZ ซึ่งอยู่บริเวณพื้นผิวเล็กๆ ของ Fourth ventricle ในสมอง ซึ่ง CTZ จะส่งกระแสประสาท ความรู้สึก ต่อไปยังศูนย์ควบคุมการอาเจียน
2.ความวิตกกังวล จะกระตุ้น Cerebral cortex และ Limbic system ซึงอยู่ที่สมองส่วนหน้า และ บริเวณนี้จะส่งกระแสประสาทความรู้สึกไปยังศูนย์ควบคุมการอาเจียน
ข้อวินิจฉัย
1.จากการซักประวัติ
1.1 อาการคลื่นไส้อาเจียน ลักษณะ ระยะเวลา จํานวนครั้ง สิ่งที่กระตุ้นการอาเจียนการจะ
1.2 ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
1.3 แบบแผนการดําเนินชีวิตประจําวัน
1.4 การรับรู้อาการเจ็บป่วยและการยอมรับการตั้งครรภ์
1.5 ประวัติส่วนตัวและครอบครัว ปัจจัยด้านการปรับตัวในชีวิตคู่สมรส บุคลิกภาพส่วนบุคคล การเปลี่ยน แปลงด้านจิตสังคมขณะตั้งครรภ์
การตรวจร่างกาย
2.1 น้ําหนักตัวลดลง มากกว่าร้อยละ 5 ของน้ําหนักตัว
2.2 ภาวะขาดน้ํา ความตึงตัวของผิวหนังไม่ดี ริมฝีปากลิ้นแห้ง ลมหายใจมีกลิ่นอะซีโตน ชีพจรเบาเร็ว มีไข้ ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อย สีเข้ม
2.3 อาการซีดเหลืองของผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ (jaundice)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจพิเศษ
3.1 Urine analysis
3.2 Electrolyte
3.3 Liver Function test พบว่าค่า SGOT, SGPT, Bilirubin สูงกว่าปกติ
3.4 Complete Blood count
การรักษา
การให้สารน้ําทางหลอดเลือดดำ
การให้ KCL ผสมในสารสารน้ําทางหลอดเลือดดํา
การให้เกลือแร่อื่น หรือวิตามินรวมผสมในสารสารน้ําทางหลอดเลือดดํา 4. การให้งดน้ํางดอาหารทางปาก ใน 24 ชม. แรก จนกว่าการอาเจียนลดลง
การให้ยาแก้อาเจียน
การให้วิตามินเสริม เช่น วิตามิน บี 6 ช่วยบํารุงระบบประสาทป้องกันการเกิด Wernicke’s
การให้ยาคลายความวิตกกังวลและให้พักผ่อน เช่น Diazepam 2 mg, 5 mg
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
Polyhydramnios
สาเหตุ
ทารก ความพิการของทารก ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการกลืนของทารกตั้งแต่ความผิดปกติของ ระบบประสาทลงมาถึงการอุดกั้นของทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ มีปัญหาในการกลืนน้ําคร่ำ ทารกไม่มีกะโหลก,มีเนื้องอกที่หน้า, ปากแหว่งเพดานโหว่และการตีบตันของทางเดิน อาหาร เช่น หลอดอาหาร หรือดูโอดีนั่มตีบตัน
มารดา ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะในรายที่ควบคุมไม่ดีซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 25 ทารกในครรภ์จะมีภาวะ hyperglycemia ส่งผลต่อระบบ osmotic ทําให้สารทางปัสสาวะมากขึ้น (polyuria) และถ้า ทารกมีภาวะ macrosomia จะมีการเพิ่มขึ้นของ cardiac output และ ปริมาตรของเลือดในร่างกาย ส่งผลให้ glomerular filtration rate เพิ่มขึ้น ทําให้มีปัสสาวะออกมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ภาวะ hypercalcemia ในมารดาก็ทํา ให้เกิดครรภ์แฝดน้ําเช่นกัน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.1 สอบถามอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ขนาดมดลูกโตมากกว่าผิดปกติ อาการแน่นอึดอัดท้อง หายใจ ลําบาก นอนราบไม่ได้
การตรวจร่างกาย
2.1 ตรวจหน้าท้องระดับยอดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์ คลําส่วนของทารกชัดเจนหรือคลําไม่ได้ ฟังเสียงหัวใจ ได้ไม่ชัดเจน
2.2 ตรวจร่างกายทุกระบบเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อน เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลําบาก บวมที่ขาทั้ง 2 ข้าง น้ําหนักเพิ่มขึ้นมาก พบ Fluid thrill
2.3 ประเมินภาวะแทรกซ้อนระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ หายใจลําบาก อาหารไม่ย่อย การบวมที่ขา รกลอกตัวก่อน กําหนด
2.4 ประเมินภาวะแทรกซ้อนระยะคลอด ปริมาณน้ําคร่ำมากผิดปกติทําให้มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อมดลูก เกินขนาด
2.5 ประเมินภาวะแทรกซ้อนระยะหลังคลอด ตกเลือดง่าย
2.6 ประเมินผลต่อทารก ได้แก่ น้ําหนักตัวน้อย พิการแต่กําเนิด อัตราตายปริกำเนิดสูง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
3.1 การตรวจ Ultrasound และ การวัดระดับน้ําคร่ำ (Amniotic Fluid Index: AFI ค่าปกติ 5-24 ซม.) มากกว่า หรือเท่ากับ 25 ซม.
3.2 การทดสอบความเป็นกรด-ด่าง ของน้ําในช่องคลอด
การรักษา
ให้นอนพัก เพื่อลดแรงกดดันต่อปากมดลูก ป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
รักษาอาการหอบเหนื่อย โดยให้ยา Indomethacin 50-200 mg หรือ Sulindec 200 mg ทุกๆ 12 ชม. เพื่อลดปริมาณน้ําคร่ำหรือพิจารณาการเจาะน้ําคร่ำ
Oligohydramnios
ภาวะตั้งครรภ์ที่มีจํานวนน้ําคร่ำน้อยกว่า 300 มล. หรือการตรวจค่าดัชนีน้ําคร่ำAFI มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เปอร์เซนต์ไทล์ของอายุครรภ์หรือ AFI มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ซม.
สาเหตุ
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด
-ความผิดปกติของทารกในครรภ์ ได้แก่ มีความผิดปกติของไตและระบบ ทางเดินปัสสาวะ ไตตีบ ถุงน้ําในท่อไต มีการอุดตันของทางออกปัสสาวะ ความผิดปกติของโครโมโซม รกเสื่อม ทารก เจริญเติบโตช้าในครรภ์การรั่วของน้ําคร่ำก่อนกําหนดเป็นเวลานาน
การใช้ยากลุ่ม prostaglandin synthase inhibitor และ angiotensin converting enzyme inhibitor
การรักษา
ตรวจคลื่นความถี่สูง รักษาตามสาเหตุ ในกรณีรักษาได้และบรรเทาอาการเพื่อป้องกันการเกิด ภาวะแทรก ซ้อนต่อทารกในครรภ์ เช่น การใส่น้ําเกลือเขย่าไปในถุงน้ําคร่ำหรือยุติการงครรภ์
Twins
การตั้งครรภ์ที่มีการปฏิสนธิและฝังตัวอ่อนภายในโพรงมดลูกและมีการเกิดของตัวอ่อนมากกว่า 1 ขึ้น ไป แฝดเหมือน หรือแฝดแท้คือการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ทารก มีเพศ เดียวกัน รูปร่างหน้าตา และลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน แฝดไม่เหมือนแฝดพี่ น้อง คือการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิไข่ต่างใบกับเชื้ออสุจิต่างตัว ทารกอาจเป็นเพศ เดียวกันหรือ ต่างเพศได้รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติครรภ์แฝดในครอบครัว โดยเฉพาะฝ่ายหญิง ประวัติการได้รับยากระตุ้นการตกไข่ หรือ การได้รับการผสมเทียม
การตรวจร่างกาย
2.1 ระดับยอดมดลูกสูงกว่าอายุครรภ์ตั้งแต่5 ซม. ขึ้นไป มักพบในช่วงอายุครรภ์20-30 สัปดาห์ขึ้นไป หรือคลําได้ส่วนของทารกมากกว่า 1 รายขึ้นไป ฟังเสียงหัวใจได้มากกว่า 2 ตําแหน่ง ตําแหน่งห่างกันและต่างกัน มากกว่า 10 ครั้งต่อนาที
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
3.1 ผล ultrasound พบ gestational sac แยกจากกัน
3.2 การตรวจทางชีวเคมี HCG, HPL, AFP แต่ไม่นิยมเพราะมีความแม่นยําน้อย
รักษาผลกระทบที่เกิดในระยะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์แฝดน้ํา เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ความดันโลหิตสูงขณะ
ตั้งครรภ์และการพิจารณาการช่วยคลอดทางหน้าท้อง และระยะหลังคลอดระวังการตกเลือดหลังคลอด
ประเมินผลกระทบการตั้งครรภ์ของมารดา ได้แก่ ภาวะซีด คลื่นไส้อาเจียนมากกว่าปกติ ความดันโลหิตสูง ขณะ ตั้งครรภ์น้ําคร่ำมาก คลอดก่อนกําหนด สายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือพันกัน การแตกของถุงน้ําคร่ำก่อน การเจ็บครรภ์คลอด (PROM) มักพบการแตกของถุงน้ําคร่ำในอายุครรภ์ไม่ครบกําหนด (PPROM)
ผลกระทบต่อทารก ได้แก่ การแท้ง มีความพิการแต่กําเนิด การตายปริกำเนิด น้ําหนักทารกน้อยกว่าปกติ
นางสาวกฤติยาภรณ์ แสนสุข รหัสนักศึกษา 624N46101