Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย - Coggle Diagram
ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมควบคุมมลพิษ
คอยควบคุมและเสนอแผนการจัดการปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีหน้าที่เก็บ คัดแยกและขนส่งขยะไปกำจัด
กระทรวงสาธารณสุข
มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มีหน้าที่ ส่งเสริมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม
ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ในปี 2563 มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 25 ล้านตัน (ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 12) สาเหตุมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนปี 2563 พบว่า ขยะมูลฝอยจะถูกคัดแยก ณ ต้นทางและนำกลับไปใช้ประโยชน์ จำนวน 8 ล้านตัน (ร้อยละ 33 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น) (ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 33)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข 2535
กำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน และ วิธีดำเนินการเพื่อตรวจสอบควบคุมหรือกำกับดูแล หรือแก้ไขสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดำรงชีพของประชาชน
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ส่งเสริมประชาชน และองค์กรเอกชน ให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมใหเ้ป็นไปตามหลัก การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติ โรงงาน 2535
ออกกฎเกณฑ์ในการดูแล กำจัด ควบคุมสิ่งปฎิกูลที่เกิดจากโรงงานให้มีประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2560
ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถจัดการปัญหาขยะในภาพรวมได้ดีกว่ากฎหมายเดิม
นโยบาย/แผนระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เห็นความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอย จึงได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ได้มีมติเห็นชอบ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอ เพื่อให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ
คดี/ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถนนโครงการนานาการ์เด้น ปทุมธานี คนมักง่ายทิ้งขยะขวางการจราจร
ข่าวนี้ แสดงให้เห็นถึงการไร้ความรับผิดชอบ ไม่มีจิตสำนึกของคนบางคน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้อื่น สร้างมลพิษ และกีดขวางการจราจร ตัวกฎหมายอาจจะดีแล้ว แต่ผู้รักษากฎหมายและผู้ปฏิบัติ กลับไม่ทำตามกฎหมายที่กำหนดไว้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น
ผงะ! ของเสียอันตราย ย่านพัฒนานิคม ลพบุรี ลักลอบทิ้งมา 20 วัน พบโยงโรงงานกำจัดของเสียชื่อดัง
ข่าวนี้ ชี้ให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่มที่ไม่รักษากฎระเบียบของบ้านเมืองในการดูแลความเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยการลักลอบของเสียอันตราย อาจจะเพียงเพราะไม่อยากเสียเงินในการกำจัด และความเห็นแก่ตัวนี้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบมากมายตามมาได้
แนวทางแก้ไขปัญหา
เริ่มจากการลดและคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะในระดับครัวเรือนซึ่งถูกละเลยและมองข้ามไป
ระบบกำจัดขยะ ของเมืองไทยถือเป็นระบบในการกำจัดที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
สร้างจิตสำนึกให้กับทุกคน ทุกหน่วยงานในเรื่องการคัดแยกขยะ
Stakeholder
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (key stakeholders)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง (Primary stakeholders)
ประชาชนทุกคน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง (Secondary stakeholders)
กรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข
จริยธรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานและ Stakeholder
ในปัจจุบันประชาชนมีจิตสำนึกเรื่องการคัดแยกขยะมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มากพอที่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะ เพราะยังมีหลายพื้นที่ที่ยังไม่มีการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ประชาชนบางคนยังคงทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ หรือไม่ได้มีการคัดแยกขยะก่อนที่จะทิ้ง ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้ปัญหาขยะยังคงมีมากอยู่ แต่อย่างไรก็ตามหลายๆหน่วยงาน ก็พยายามผลักดันให้มีการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อจะได้ลดปริมาณขยะ และสามารถกำจัดขยะได้ดียิ่งขึ้น