Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่เสียสมดุลสารน้ำ เกลือเเร่และกรด-ด่าง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ที่เสียสมดุลสารน้ำ
เกลือเเร่และกรด-ด่าง
สารน้ำ
สารน้้า (fluid) ในร่างกาย หมายถึง น้้าและสารประกอบ ที่ละลายอยู่ในน้้า ได้แก่ อิเลคโทรลัยท์ทั้งประจุบวกและลบ รวมถึงโปรตีน กลูโคลและไขมัน น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย
หน้าที่ของน้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญภายในเซลล์ ของเหลวต่างๆ ทั่วร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งในเลือดมีน้ำอยู่ประมาณ 90เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของอวัยวะต่างๆ
น้ำเป็นตัวทำละลาย ทำหน้าที่ละลายสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดแอมิโน วิตามินแร่ธาตุ และสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดเล็กอื่นๆ
ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ หากร่างกายมีอุณหภูมิสูงจะระเหยน้ำออกทางผิวหนังและปอดเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
ช่วยในการย่อย การดูดซึม และการนำพาสารอาหารต่างๆ ไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
ช่วยในการไหลเวียนของสารต่างๆ ภายในร่างกาย
ช่วยในการขับถ่ายและกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางไต โดยละลายอยู่ในปัสสาวะ เช่น ยูเรียแอมโมเนีย กรดยูริก และสารพิษที่ร่างกายได้รับและขับออกทางไต
ช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในเมแทบอลิซึม เช่น ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของสารอาหารต่างๆ ในร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์
ช่วยหล่อลื่นในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตา ไขสันหลัง ข้อต่อ และน้ำในถุงน้ำคร่ำ
กลไกการควบคุมน้ำ
-สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย -เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำ สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำ จะสั่งการให้เกิดการดื่มน้ำทดแทน โดยจะรู้สึกกระหายน้ำ และเมื่อมีการกลืนน้ำเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่างรวดเร็ว -ถ้าร่างกายขาดน้ำประมาณ 3 วัน ก็จะทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ภาวะขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ ทำให้กระหายน้ำและปัสสาวะมีสีเข้ม มักมีสาเหตุมาจากการอาเจียน ท้องเสีย การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาบางชนิด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากกับทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ หากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
อาการ
อาการที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง เช่นกระหายน้ำ
ง่วงซึม อ่อนเพลียผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้งปัสสาวะน้อยกว่าปกติท้องผูกมึนหัว วิงเวียน ปวดศีรษะ
อาการที่มีความรุนแรง เช่นกระหายน้ำรุนแรง ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจเร็วและหอบ มีไข้ตาโหลหรือตาลึกผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น สับสน สูญเสียการรับรู้เรื่องบุคคล เวลาและสถานที่ (Disorientation) อ่อนเพลีย
สาเหตุ
ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ปัสสาวะมากผิดปกติ เหงื่อออกมากผิดปกติ ดื่มน้ำน้อยเกินไป
การรักษา
การรักษา สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มหรือชดเชยปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยการดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ หรือดื่มควบคู่กับน้ำเปล่า แพทย์อาจให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำจากอาการอาเจียนและท้องเสียที่ไม่สามารถดื่มน้ำผสมเกลือแร่ได้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
ภาวะน้ำเกิน
ภาวะสารน้ำมากเกินไป หรือที่เรียกว่าของเหลวเกินพิกัด เป็นเงื่อนไขของการที่น้ำในร่างกายของคุณมากเกินไป ในขณะที่ร่างกายปกติจะมีของเหลวจำนวนหนึ่งอยู่ในนั้น แต่ของเหลวที่มากเกินไปอาจทำลายสุขภาพของคุณได้
สาเหตุ
โดยส่วนใหญ่เมื่อมีปัญหากับไต ก็จะทำให้เกิดภาวะน้ำเกิน เนื่องจากไตคอยรักษาสมดุลของปริมาณเกลือและของเหลวในร่างกายของคุณ เมื่อไตเก็บเกลือเอาไว้ มันก็จะเพิ่มปริมาณโซเดียม (Sodium) ของร่างกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกายตามไปด้วย
อาการ
น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว อาการบวมที่เห็นได้ชัดเจนในแขน ขา เท้า ข้อเท้า ข้อมือ และใบหน้าอาการบวมในช่องท้อง ตะคริว ปวดศีรษะ ท้องอืด หายใจถี่ เกิดจากของเหลวส่วนเกินเข้าสู่ปอด ทำให้ความสามารถในการหายใจตามปกติลดลงความดันโลหิตสูงที่เกิดจากของเหลวส่วนเกินในกระแสเลือด
การรักษา
ยาขับปัสสาวะ” ซึ่งยาขับปัสสาวะนั้นทำหน้าที่ในการเพิ่มปริมาณปัสสาวะที่ร่างกายผลิต อย่างไรก็ตามเงื่อนไขสุขภาพพื้นฐานจะต้องได้รับการแก้ไข ตัวอย่างเช่น คนที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อาจต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสภาพของพวกเขา
ภาวะบวม
อาการบวมน้ำ (Edema) เป็นภาวะที่มีน้ำหรือน้ำเหลืองสะสมคั่งค้างอยู่ภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกายในปริมาณมากจนทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดขึ้นบริเวณมือ แขน ขา ข้อเท้า และเท้า ส่วนสาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อาการเจ็บป่วย การใช้ยาบางชนิด หรืออาหารการกินบางอย่าง เป็นต้น
อาการ
ผิวหนังตึงและมีความมันวาวผิวหนังเป็นรอยบุ๋มหากถูกกดหรือจิ้มค้างไว้ประมาณ 5 วินาทีช่วงท้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบวมและโป่ง โดยเฉพาะบริเวณขาและแขนผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการเดินหากเกิดอาการบวมบริเวณขาเคลื่อนไหวข้อเท้าหรือข้อมือได้อย่างจำกัดกรณีที่ปอดบวมน้ำ อาจทำให้เกิดอาการไอหรือมีปัญหาในการหายใจ
สาเหตุ
อาการบวมน้ำเกิดจากการมีของเหลวรั่วไหลออกมาจากเส้นเลือดขนาดเล็กในร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ บริเวณนั้นบวมขึ้น และไม่ได้เป็นภาวะทางกรรมพันธุ์ แต่อาจเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยแต่ละสาเหตุก็อาจส่งผลให้อาการรุนแรงแตกต่างกันไป
การรักษา
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการดื่มแอลกอฮอล์ บประทานอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารรสเค็มจัด เพราะเกลืออาจช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย และทำให้อาการบวมน้ำแย่ลงได้ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดอาการบวมจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย รับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะอาจช่วยลดความดันโลหิต และบรรเทาอาการบวมน้ำที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหลอดเลือดดำและเส้นเลือดขอด
อิเล็คโทรไลต์
อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) หมายถึง สารที่ี่เมื่อละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้ เนื่ื่องจากมีไอออนซึ่งอาจจะเป็นไอออนบวก หรือไอออนลบเคลื่อนที่ี่อยู่ในสารละลาย สารละลายอิเล็กโทรไลต์นี้ี้อาจเป็นสารละลายกรด เบส หรือเกลือก็ได้ ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดเกลือ (HCl) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารละลายของเกลือ KNO3 เป็นต้น
โซเดียม
โซเดียมคือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก
โพแทสเซียม
โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
แคลเซียม
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ส่วนอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดมีบทบาทควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล
แมกนีเซียม
แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย (Macronutrients หรือ Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ
ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน หน้าที่อื่นๆ เช่น กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปกติเมื่อฟอสฟอรัสเข้าสู่ร่างกาย ส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึม อีกส่วนหนึ่งที่เหลือในเลือดจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับฟอสฟอรัสจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือด
สมดุลกรด-ด่าง
ในภาวะปกติpHในเลือดแดง (arterial blood pH) มีค่าประมาณ 7.4 และ pH ใน เลือดดำ (venous blood pH) มีค่าประมาณ 7.35pH ในเลือดดำต่ำกว่าในเลือดแดงเนื่องจากในเลือดดำมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มากกว่าในเลือดแดง pHส่วนภายในเซลล์มีค่าเป็น 7.0–7.2 เนื่องจากภายในเซลล์เป็นแหล่งให้คาร์บอนไดออกไซด์
และกรดอินทรีย์ต่างๆอยู่เกือบตลอดเวลาจึงท้าให้ค่า pH ในเซลล์สูงกว่าในเลือดดำ