Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
PRETERM, อ้างอิง
จิราวรรณ คล้ายวิเศษ. (2563). การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแ…
PRETERM
-
-
-
ผลกระทบต่อมารดา
จะไม่มีผลต่อร่างกายมารดา เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักตัวน้อย จึงทำให้คลอดได้ง่าย ช่องคลอดบาดเจ็บน้อย แผลหายเร็ว แต่จะมีปัญหาด้านจิตใจ มารดาจะมีความเครียดสูง กลัวเลี้ยงทารกไม่รอด กลัวทารกไม่แข็งแรงสมบูรณ์ กังวลว่าทารกต้องรักษาตัวใน รพ. นาน และกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งหากมารดาเครียดมาก อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่ดูแลตัวเอง นอกจากนี้การที่ทารกมีอายุครรภ์น้อย มารดาก็ไม่สามารถให้นมบุตรได้เอง จึงส่งผลให้การสร้างน้ำนมลดลง เป็นต้น ส่วนผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป คือ มารดาจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้สูงขึ้นกว่าคนทั่วไป
-
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (preterm labour)
หมายถึง ภาวะเจ็บครรภ์คลอดที่เกิดในช่วงอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์
โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ 4 ครั้งใน 20 นาที
หรือ 8 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
โดยมีการเพิ่มขยายของปากมดลูกมากกว่า 1 เซนติเมตร
หรือปากมดลูกมีความบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
-
อ้างอิง
จิราวรรณ คล้ายวิเศษ. (2563). การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะที่ 1-3 ของการคลอด. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา NUR60-343 การผดุงครรภ์และการพยาบาลมารดา-ทารก 2.
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ธีระ ทองสง. (2564).สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพ: ลักษมีรุ่ง จำกัด.
-
-