Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณภาพอากาศ - Coggle Diagram
คุณภาพอากาศ
5.กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งกฎหมายในประเทศ
และต่างประเทศ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
พิธีสารเกียวโต
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
7.เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
• พยายามใช้เครื่องยนต์ที่ไม่ค่อยมีมลพิษ แก้ไขกระบวนการผลิตและลดมลพิษจากยานพาหนะ
• ใช้รถขนส่งมวลชน รถเมล์ รถไฟฟ้ารถไฟใต้ดินให้มากขึ้น
• ใช้รถยนต์ให้น้อยลง หากเดินได้หรือติดรถเพื่อนได้ ก็ควรจะไปด้วยกัน
• ช่วยกันสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นพลังงาน
• จัดการระเบียบการเผ่าหญ้าหรือขยะมูลฝอย เผื่อลดการเผาไหม้ในที่โล่งๆ
• ปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงสาธารณสุข
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
Stakeholder ที่เกี่ยวข้อง
Primary Stakeholder
มนุษย์ เสียสุขภาพ เช่น เกิดโรคมะเร็ง โดยสาเหตุก็มาเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
Secondary Stakeholder
กรมควบคุมมลพิษ ต้องมาควบคุม จัดการ ดูแล ติดตามและประมวลผลเกี่ยวกับการฟื้นฟู คุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
Key Stakeholder
โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีส่วนได้ในการผลิตสิ่งต่างๆ แต่ก็ได้มีการปล่อยควันออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้วก็ทำให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมาภายหลัง
8.ยกตัวอย่างข่าวที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศ2ตัวอย่าง
1.ลำปางเจอพิษควันไฟป่า ค่า PM 2.5 ยังพุ่งสูง
มีความเกี่ยวข้องคือเนื่องจากหมอกควันที่เกิดขึ้นเกิดจากการเผาป่าทำให้เกิดฝุ่นละออกขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
2.อ่างทองพบรถยนต์ “ควันดำ” เพียบ-ลุยจับปรับ
มีความเกี่ยวข้องคือเกิดจากควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ปล่อยออกมาเป็นแก๊สที่ประกอบไปด้วย คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดนคาร์บอน ไนตริคออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ อัลดิไฮด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดฝุ่นPM 2.5 สุดท้ายก็จะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
1.สถานการณ์ปัจจุบัน (รวมถึงพื้นที่ที่มีปัญหา)
พร้อมทั้งสาเหตุและผลกระทบ
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเติบโตทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเชิงอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากการดำเนินการต่างๆเหล่านี้ได้มีผลทำให้เกิดมลพิษอากาศ จากการตรวจสภาพอากาศของประเทศไทยพบว่า มลพิษทางอากาศในประเทศไทยได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซ/ไอระเหยต่างๆ และสารตะกั่วที่ผสมในน้ำมันเบนซิน ปัญหามลพิษทางอากาศต่อสุขภาพนั้นมีความแตกต่างไปตามพื้นที่ต่างๆในประเทศไทย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบันยังพบปัญหามลพิษที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ มลพิษจากการเผาป่า เผาไร่ เผาขยะในที่โล่ง การเผาศพที่ไม่ถูกวิธี มลภาวะของอากาศภายในอาคารและที่สาธารณะเนื่องจากควันบุหรี่
6.นโยบาย/แผนระดับระเทศที่เกี่ยวข้องสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้อง
• SDGs (Sustainable Development Goals–SDGs ) ประเทศไทยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนเกี่ยวข้องคือในข้อที่11คือ มุ่งที่จะทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน ลดมลพิษให้มีน้อยที่สุด ถ้าทำในข้อนี้ได้ก็ส่งผลในเป้าหมายข้อที่3 ด้วย นั่นก็คือการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
4.วิเคราะห์จริยธรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน และStakeholder
การปล่อยควันที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้วไม่มีการกำจัดที่ถูกต้อง ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมทำให้ขาดจริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดปัญหาตามมา ทางที่ดีในการช่วยลดปัญหาในจุดนี้คือควรหันไปพึ่งการผลิตที่เป็นเทคโนโลยีสะอาด ที่ช่วยลดมลพิษที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ส่วนกรมควบคุมมลพิษ ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีคุณธรรมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการจัดการควบคุมมลพิษทางอากาศทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมเดียวกันและในชุมชนพวกเขามีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่พวกเขาอาศัยอยู่