Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบโลหิต ระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง,…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบโลหิต
ระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
Anemia
เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง
อาการและอาการแสดง
มึนงง วิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ผิวซีดหรือผิวเหลือง
ปัจจัยเสี่ยง
การขาดสารอาหาร
เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จําเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยทั่วไปในภาวะโลหิตจาง
ฮอร์โมน
ภายในเลือดจะมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า อิริโธรโพอิติน (Erythropoietin) ที่ผลิตได้จากไต มีหน้าที่ในการกระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง แต่เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจางได้
ภาวะโรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรังหรือการรักษาโรคเรื้อรังบางโรคจะส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยการทำลายไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อ HIV โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การวินิจฉัย
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
การตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin Electrophoresis)
การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte Count)
การตรวจระดับธาตุเหล็กในเลือดและร่างกาย
การรักษา
เปลี่ยนถ่ายเลือด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรงหรือมีระดับของฮีโมโกลบินต่ำกว่า 8 กรัมต่อเดซิลิตร รักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือด โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มระดับของฮีโมโกลบินให้สูงขึ้น และยังช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ปกติไปแทนเซลล์ที่มีความผิดปกติ เพื่อช่วยให้การสร้างเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากขึ้น
การพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะซีด
2.ให้ผู้ป่วยพักผ่อนเพื่อลดการใช้ออกซิเจนของร่างกายโดยไม่จำเป็น
3.แนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนท่าควรทำอย่างช้าๆเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
4.กระตุ้นให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 5.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
Leukemia
แบ่งตามระยะเวลาเกิด
1.มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia)
คือการที่เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว อาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
2.มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia)
คือการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยเป็นเวลานับปี แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด
ปัจจัยเสี่ยง
1.การได้รับรังสีขนาดสูง เช่น รังสีนิวเคลียร์
2.การรับเคมีบำบัด เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยตัวยาเคมี เนื่องจากยาเคมีบำบัดบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
3.การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีในกลุ่มพวกเบนซีน และยาฆ่าแมลงบางชนิด
4.อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
5.ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic syndrome, MDS)
อาการและอาการแสดง
1.มีอาการจากภาวะโลหิตจาง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ
2.ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
3.เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ อาจพบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว รวมถึงภาวะเลือดหยุดยาก
การวินิจฉัย
-การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC)
-การเจาะไขกระดูกเป็นการตรวจที่จำเป็นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การรักษา
1.เคมีบำบัด
2.การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง
3.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
การพยาบาล
ดูแลสุขอนามัย และความสะอาด โดยเฉพาะในช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ไม่ควรอยู่ในที่แออัด หรือการระบายอากาศไม่ดี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และปรุงสุกด้วยความร้อน
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียด
Bleeding Disorders
อาการและอาการแสดง
ผิวช้ำง่าย ประจำเดือนมามาก เลือดกำเดาออกบ่อย เลือดออกมากเกินไป จากแผลมีดบาดเล็ก ๆ หรือการบาดเจ็บ
เลือดออกในข้อต่อ
ปัจจัยเสี่ยง
เม็ดเลือดแดงต่ำ
ขาดวิตามินเค
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
ยาที่อาจเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ถูกเรียกว่า “สารกันเลือดแข็งตัว (Anticoagulants)”
การวินิจฉัย
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
การทดสอบการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด (Platelet Aggregation Test)
การวัดระยะเวลาตั้งแต่เลือดไหลจนหยุดไหล (Bleeding Time Test)
การรักษา
การให้ธาตุเหล็กเสริม
การให้เลือดทดแทน (Blood Transfusion)
การพยาบาล
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
ใช้ของมีคมอย่างระมัดระวัง
ประเมินผลการพยาบาล
นางสาวศศิประภา ช่วยรักษา UDA6380055