Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสาระการเรียนรู้วันที่ 8 ธ.ค.64, นายสุริยา กงใจเด็ด เลขที่ 126…
สรุปสาระการเรียนรู้วันที่ 8 ธ.ค.64
VBAC
การคลอดแบบธรรมชาติหลังจากเคยผ่าคลอดมาแล้ว (Vaginal Birth after Cesarean หรือ VBAC) สามารถทำได้อย่างปลอดภัยและเป็นเรื่องที่ทำกันเป็นธรรมดาทั่วโลก คุณแม่สามารถคลอดได้อย่างปลอดภัยสบายๆ แม้ว่าจะเคยผ่าท้องคลอดมาก่อนแล้ว
ความเสี่ยงจากการคลอดตามธรรมชาติ
การประเมินความเสี่ยงจากการคลอดตามธรรมชาติหลังจากเคยผ่าคลอดมาแล้วนั้น ต้องทราบก่อนว่าในการคลอดครั้งก่อนหน้านั้น ทำไมจึงต้องผ่าคลอด ตัวอย่างเช่น ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ หรือรกเกาะในตำแหน่งที่ผิดปกติ ในกรณีที่ในท้องหลังคุณแม่สามารถคลอดได้ตามธรรมชาติ โดยที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
การเตรียมตัว
1.อย่างแรก ตัดสินใจก่อนว่าต้องการคลอดตามธรรมชาติหลังจากเคยผ่าท้องคลอดมาก่อน
2.เลือกแพทย์ที่มีความชำนาญ
3.ศึกษาว่าอาหารประเภทใดที่เหมาะสำหรับคุณ เพื่อให้ลูกไม่ตัวโตเกินไป หรือเล็กเกินไป และต้องแข็งแรงปลอดภัยด้วย
4.ระหว่างคลอด เชื่อคุณหมอ และเชื่อมั่นในร่างกายของคุณเอง
ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
คุณมีอุ้งเชิงกรานแคบ หรือลูกตัวโต
มีการติดเชื้อหรืออาการแทรกซ้อนอย่างอื่นที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์
ท้องนี้เป็นลูกแฝด
ทารกไม่มีศีรษะเป็นท่านำ
เพิ่งผ่าท้องคลอดไปไม่ถึง 1 ปี
ควรเลือกที่จะคลอดตามธรรมชาติหลังจากเคยผ่าคลอดมาแล้วเมื่อ
อยากมีลูกหลายๆ คนในอนาคต
อยากให้ตัวเองและลูกได้รับยาน้อยที่สุด
ต้องการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, ตกเลือด, รกผิดปกติ
ต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกในทันทีหลังคลอด
Fetal distress
หมายถึง
ทารกในครรภ์ที่อยู่ในภาวะอันตรายซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ทันเวลาอาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้สาเหตุทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตราย
การประเมินและการวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
ได้แก่ การดิ้นของทารกในครรภ์ การแตกของถุงน้ำคร่ำ ลักษณะสีและปริมาณของน้ำคร่ำ
2. การตรวจร่างกาย
โดยการตรวจครรภ์ อาจพบเสียงหัวใจของารกในครรภ์ผิดปกติ เช่น FHS ของทารช้หรือเร็วกว่าปกติแลถ้าหากบันทีกอัตราการเต้นของหัวใจทารกด้วย EFM จะพบรูปแบบการเต้นของหัวใจทารกแบบ late deceleration หรือ variable deceleration ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ การเจาะเลือดทารก
(scalp blood sampling) เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรด การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกด้วยเครื่อง EFM ซึ่งสามารถจำแนกความเสี่ยงตาม FHR pattern ได้ดังนี้
ㆍ Non-reassuring variable deceleration
Fetal distress
Normal FHR pattem
Reassuring variable deceleration
Fetal stress
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีมีครรภ์และทารกในครรภ์
ผลต่อทารก
อาจทำให้ทารกเกิดภาวะทุพพลภาพอย่างถาวรหรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
ผลต่อสตรี
พบว่าไม่มีผลต่อร่างกายโดยตรงแต่มีผลทางด้านจิตใจโดยทำให้สตรีมีครรภ์เกิดความกลัวหรือวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ (abnormal FHR pattern)เช่น น้อยกว่า 110 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 160 ครั้ง/นาทีร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆหรือมีรูปแบบการเต้นของหัวใจแบบ late deceleration หรือ variable deceleration เป็นต้น
มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (meconium stained of amniotic fluid)
ลักษณะขี้เทาปนในน้ำคร่ำแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ลักษณะคือ
2.2 ขี้เทาปนในน้ำคร่ำปานกลาง (moderate meconium stained) น้ำคร่ำจะมีสีเขียวปนเหลือง
3 ขี้เทาปนในน้ำคร่ำมาก (thick meconium stained) น้ำคร่ำจะมีสีเขียวคล้ำและข้น
2.1 ขี้เทาปนในน้ำคร่ำเล็กน้อย (thin หรือ mild meconium stained) น้ำคร่ำจะมีสีเหลือง
4.ทารกมีภาวะเลือดเป็นกรด
3.ทารกดิ้นน้อยลง
สาเหตุ
2. Uteroplacental insufficiency (UPI)
คือ ภาวะที่การไหลเวียนเลือตไปสู่รกไม่เพียงพอทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ uteroplacental insufficiency ได้แก่
2.1 Uterine hyperactivity เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเป็นต้น
2 Matemal hypotension เช่นภาวะตกเลือด supine position,sympathetic paralysis ที่เกิดจากการได้รับยาระงับความรู้สึก(anesthesia) เป็นต้น
3 Placental dysfunction เช่นในสตรีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานความดันโลหิดสูงการดั่งครรภ์เกินกำหนดการสุบบหรี่ในขณะดั่งครรภ์เป็นด่น
1. Umbitical cord compression
คือ ภาวะที่สายสะดือถูกกดขณะมดลูกมีการหดรัดตัวทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะ fetal distress ที่พบบ่อยที่สุดพบในรายที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อยหรือสายสะดือพลัดต่ำ
นายสุริยา กงใจเด็ด เลขที่ 126 61101301131