Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - Coggle Diagram
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
7.เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอทั่วไป
2) การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และแผนปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
1) การกําหนดโทษการที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะระยะยาว
แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้น้อมนาศาสตร์ ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” มาเป็นหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติควบคู่กับการนาเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนท้ัง 17 เป้าหมาย
5.กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2546
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2490
8.ยกตัวอย่างคดี/ข่าวที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และเกี่ยวข้องโดย
ข่าวพบขยะพลาสติกอัดแน่นเต็มท้อง 158 ชิ้นในท้อง”เต่าตนุ”
-มีความเกี่ยวข้องคือพลาสติกเข้ามามีต่อวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ยิ่งผู้คนที่หันมาเลือกใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และบริการสั่งอาหาร ทำให้แนวโน้มการใช้พลาสติกเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดขยะพลาสติกโดยเฉพาะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหารและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ซึ่งสาเหตุก็เกิดจากการขยะที่ผิดวิธีโดยส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำ จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของของผู้คน สัตว์และสิ่งแวดล้อม
ข่าวต้นเหตุน้ำทะเลบางแสนเกิดแพลงก์ตอนบลูม
-มีความเกี่ยวข้องการเกิดปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมนั้นเกิดจากกระทำของมนุษย์ ที่น้ำทิ้งลงสู่ทะเล เช่นน้ำซักผ้า น้ำชะล้างจาน หรือการที่น้ำและฝนที่ชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ สารอินทรีย์ และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสเฟต ไหลลงสู่ทะเล ส่งผลให้น้ำเสีย น้ำทะเลกลายเป็นสีเขียวและมีกลิ่นเหม็นคาว โดยการแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดแพลงก์ตอนบลูมนั้น เราควรจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจคนในชุมชนให้ลดการปล่อยน้ำเสียลงทะเล และให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำเสีย
6.นโยบาย/แผนระดับ ประเทศที่เกี่ยวข้อง
แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2560-2579
1.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560 –2564)
2.นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2558– 2564
Stakeholder ที่เกี่ยวข้อง
• Secondary Stakeholder
1.สำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพ
• Primary Stakeholder
2.สัตว์น้ำ โดยจะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ ทั้งขยะที่กินเข้าไป และน้ำเสียเกิดแพลงก์ตอนบลูมก๊าซออกซิเจนไม่สามารถส่องถึงทำให้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
1.ชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงชายฝั่ง เนื่องจากเกิดมลพิษทางน้ำ ซึ่งน้ำจะส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลให้เสียสุขภาพ
• Key Stakeholder
1.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เนื่องจากเกิดมลพิษทางน้ำ เกิดน้ำเสีย ทำให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง ไม่มีนักท่องเที่ยว ทำให้บริษัทการท่องเที่ยวเสียรายได้ เศรษฐกิจซบเซาลง
1.สถานการณ์ปัจจุบัน (รวมถึงพื้นที่ที่มีปัญหา) ทั้งสาเหตุและผลกระทบ
ปัจจุบันการพัฒนาประเทศทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในด้านต่าง ๆ จากกิจกรรมดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรขึ้นไปอีก เช่น เกิดปัญหาขยะทะเล ประการังฟอกขาว การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ อีกทั้งทะเลเป็นแหล่งสุดท้ายที่ของเสียจากแหล่งต่าง ๆ ไหลลงมารวมกัน จนเกิดปัญหามลพิษทางทะเล ทำให้น้ำทะเลเสื่อมคุณภาพ และยังสร้างความเสียหายต่อพืชและสัตว์ที่อยู่อาศัยในทะเลและชายฝั่ง
4.วิเคราะห์จริยธรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานและStakeholder
มนุษย์ขาดจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ความถูกต้องตามหลักคุณธรรม และความเมตตาที่พึงปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม โดยการกระทำต่างๆที่ทำให้เกิดมลพิษ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งขยะ ปล่อยน้ำทิ้งลงแหล่งน้ำ ทั้งในภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ สิ่งแวดล้อมและต่อมนุษย์ด้วยกัน
2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมควบคุมมลพิษ
กองทัพเรือ