Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบย่อยอาหาร, นางสาว มาดีนา โต๊ะเส็น เลขที่24 5/2 - Coggle Diagram
ระบบย่อยอาหาร
คอหอยและการกลืน
หลังจากที่อาหารถูกเคี้ยวและผสมกับน้ำลายจนอ่อนนิ่มแล้วอาหารก็พร้อมที่จะถูกกลืนโดยลิ้นจนดันก้อนอาหาร (Bolus)ไปทางด้านหลังให้ลงสู่ช่องคอ ซึ่งจะมีผลให้เกิดรีเฟล็กซ์ (Reflex)
- เพดานอ่อน (Solf Palate) ถูกดันยกขึ้นไปปิดช่องจมูกเพื่อไม่ให้เกิดการสำลักและไม่ให้อาหารเข้าไปในช่องจมูก
- เส้นเลียง (Vocal Cord) ถูกดึงให้มาชิดกัน และฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) จะเคลื่อนมาทางข้างหลังปิดหลอดลมเอาไว้ ป้องกันไม่ให้อาหารตกเข้าสู่หลอดลม
- กล่องเสียง (Larynx) ถูกยกขึ้นทำให้รูเปิดช่องคอมีขนาดใหญ่ขึ้น
- กล้ามเนื้อบริเวณคอหอย หดตัวให้ก้อนอาหาร (Bolus) เคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไม่พลัดตกลงไปในหลอดลมหรือ เคลื่อนขึ้นไปในช่องจมูก
กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อจากหลอดอาหาร อยู่บริเวณด้านบนซ้ายของช่องท้อง ถัดจากกระบังลมลงมา มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว จึงถือว่าเป็นส่วนของทางเดินอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
- ส่วนบนสุด หรือส่วนใกล้หัวใจ (Cardiac Region หรือ Cardium) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร มีกล้ามเนื้อหูรูด (Cardiac Sphincter)
- ฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะเป็นกระพุ้ง
- ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ ตอนปลายของกระเพาะอาหารส่วนนี้มี กล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ไพโลริด สฟิงก์เตอร์ (Pyloric Sphincter) ป้องกันมิให้อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง 1000-2000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
-
ปาก ( mouth)
การย่อยในปาก เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทำงานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงกล ทำให้อาหารกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต่อมน้ำลายก็จะหลั่งน้ำลายออกมาช่วยคลุกเคล้าให้อาหารเป็นก้อนลื่นสะดวกต่อการกลืน เอนไซม์ในน้ำลาย คือ ไทยาลิน หรืออะไมเลสจะย่อยแป้งในระยะเวลาสั้น ๆ ในขณะที่อยู่ในช่องปากให้กลายเป็นเดกซ์ทริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้ำตาล และถูกย่อยต่อไปจนเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ มอลโตส
หลอดอาหาร
หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก หลอดอาหารไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดขอผนังกล้ามเนื้อ
-
-