Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ, image - Coggle Diagram
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
สุขภาพและ
พฤติกรรมสุขภาพ
ผู้มีสุขภาพดีย่อมมีกระบวนการสูงอายุช้ากว่าผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม
ประสบการณ์ชีวิต
ผู้ที่มีความประทับใจที่ดีต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพดี ย่อมมีพฤติกรรมสุขภาพดี
กรรมพันธุ์
คนแถบตะวันตกมีกระบวนการสูงอายุเร็วกว่าคนแถบตะวันออก
ความเชื่อ (belief) และวัฒนธรรม
การยอมรับหรือการต่อต้านความรู้ ความคิดใหม่ๆ การอยู่ร่วมกันกับคนต่างวัย
ปัจจัยภายนอก
การศึกษา
ผู้ที่มีการศึกษาสูงย่อมสามารถทำงานที่มีรายได้สูง สามารถซื้อหาอาหารที่มีคุณค่ามา
รับประทาน มีความสามารถในการเข้าถึงข่าวสารที่ถูกต้อง จึงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
การเกษียณการทำงาน(Retirement)
ทำให้สูญเสียความมั่นคง รายได้ อำนาจ หากเตรียมตัวดี
จะทำให้ไม่รู้สึกสูญเสียแต่ต้องปรับตัวเพื่อรับบทบาทใหม่
การจากไปของสมาชิกในครอบครัว
การแต่งงานแยกครอบครัวไปของลูกๆ และการเสียชีวิตของคู่ชีวิต
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบประสาท
มวลสมองลดลง
โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน และความจำระยะสั้น
ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมลง
ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบท ควบคุมหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และสมรรถภาพทางเพศเสื่อม
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ
การหลับสนิทลดลง จึงตื่นกลางดึกบ่อย รู้สึกนอนไม่พอ
การมองเห็น
สายตายาว
แก้วตามีการสะสมของโปรตีนเพิ่มขึ้น เลนส์มัวมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงทั้งแสงและส
ท่อน้ำตาอุดตันทำให้มีน้ำตาในเบ้าตาเพิ่มขึ้น
กล้ามเนื้อควบคุมม่านตาทำงานลดลง
ต้อหิน
การได้ยิน
เกิดภาวะหูตึงเนื่องจากวัยชรา
การเปลี่ยนแปลงของ Cochlea
ทำให้ความสามารถในการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงจะลดลง
ได้ยินไม่ชัด เนื่องจากประสาทหูเสื่อมและผนังเส้นเลือดแดงในหูแข็งตัว
การทรงตัว
มีอาการวิงเวียนเมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือเปลี่ยนทิศทางของศีรษะอย่างรวดเร็ว
ต่อมไทรอยด์
ถ้าทำงานเพิ่มขึ้นอาจเกิดอาการซึม สับสน เหนื่อยจากภาวะหัวใจวาย
เมื่อทำงานลดลง ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวช้าลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องผูก
ต่อมหมวกไต
สร้างฮอร์โมน Aldosterone ลดลงทำให้มีการสูญเสียเกลือโซเดียมออกจากร่างกาย หากมีอุจจาระร่วงมักมีความดันโลหิตต่ำ
ฮอร์โมนเพศ
เอสโตรเจนและแอนโดรเจนลดลง ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง จึงเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์บกพร่อง
งูสวัด
มะเร็ง
วัณโรค
ระบบย่อยอาหาร
ลำไส้
การดูดซึมวิตามินดี โฟลิก วิตามินบี 12 แคลเซียม ทองแดง สังกะสี กรดไขมันและคอเลสเตอรอลจะลดลง ลำไส้เคลื่อนไหวช้า ความสามารถในการดูดซึมอาหารลดลงและท้องผูกได้ง่าย
ตับ
จำนวนเซลล์และปริมาณเลือดมาหล่อเลี้ยงลดลง ทำให้การก าจัดสารพิษต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ สีผสมอาหาร ยากันบูด และยาต่างๆ ช้าลง
กระเพาะอาหาร
การตึงตัวของกระเพาะอาหารลดลง กรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้การย่อยอาหารโปรตีนลดลง
ระบบหายใจ
หลอดลมแข็งตัวและมีพังผืดเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจึงเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่เพียงพอ ต้องชดเชยด้วยการ
หายใจให้เร็วขึ้น และหายใจแบบตื้นๆ
ปอดจะยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้มีอากาศคงเหลือในปอดเพิ่มขึ้น
ทรวงอก หากผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลังคดงอและกระดูกซี่โครงยุบห่อตัวเข้าหากัน
ทำให้การยืดขยายทรวงอกขณะหายใจเข้าทำได้ไม่เต็มที่
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ลิ้นหัวใจ
เกิดความเสื่อมเนื่องจากมีไขมันสะสม และหินปูนเกาะทำให้การปิดเปิดของลิ้นหัวใจมีประสิทธิภาพลดลง
หลอดเลือดแดง
เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้น และเกิดการสะสมของหินปูน ทำให้เกิด
การอุดตันของหลอดเลือดแดงได้ง่าย
หัวใจ
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดลงและมีผังผืดเพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ภาระหน้าที่และบทบาททางสังคมลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุห่างจากสังคม
คนส่วนใหญ่มักมองว่าผู้สูงอายุมีสมรรถภาพและความสามารถลดน้อยลง จึงไม่ให้ความสำคัญหรือใส่ใจมากนัก
เปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้นำครอบครัว กลายเป็นเพียงผู้อาศัยหรือเป็นสมาชิกของครอบครัวเท่านั้น
สมรรถภาพร่างกายลดลง ทำให้ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองหรือกิจวัตรประจำวันเป็นไปได้ยากลำบาก
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
การรับรู้ ซึ่งผู้สูงอายุมักยึดติดกับความคิดและเหตุผลของตนเอง
จำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ค่อยได้ หลงๆ ลืมๆและชอบย้ำคำถามบ่อยๆ
เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ยากเพราะไม่มีความมั่นใจในการปรับตัว
การแสดงออกทางอารมณ์ อาจจะมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง วิตกกังวล โกรธง่าย เอาแต่ใจ
ตนเอง มักจะคิดซ้ำซาก ลังเล หวาดระแวง