Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มลพิษจากขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย, นายปัณณวรรธ อู่วงศ์ ETM 6230211002, 1,…
มลพิษจากขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
สถานการณ์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
ขยะมูลฝอยในประเทศไทย
จังหวัดสะอาด 5 อันดับแรก ปี 2563 ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ลำพูน ระยอง และนนทบุรี ตามลำดับ
ขยะมูลฝอยในประเทศไทยในปี 2563 เกิดขึ้นประมาณ 27.35 ล้านตัน (ลดลงจากปี 2562 4%) โดยขยะมูลฝอยจะถูกคัดแยก ณ ต้นทางและนำกลับไปใช้ประโยชน์ จำนวน 11.93 ล้านตัน กำจัดอย่างถูกต้อง 11.19 ล้านตัน และกำจัดไม่ถูกต้องประมาณ 4.23 ล้านตัน
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 พบว่า อปท. บางแห่งและพื้นที่กรุงเทพมหานครบางเขต มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนลดลง เนื่องจากมีการควบคุมการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาประเทศไทย
และขณะเดียวกันมีมาตรการกำหนดให้ปฏิบัติงาน Work From Home ทำให้ปริมาณพลาสติกใช้ครั้งเดียวเพิ่มขึ้น
ของเสียอันตรายจากชุมชน
ของเสียอันตรายจากชุมชน ปี 2563 เกิดขึ้นประมาณ 658,651 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2562 1.6%)ส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 428,113 ตัน และของเสียอันตรายประเภทอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ ประมาณ 230,538 ตัน
ผลจากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้มีการจัดการวางระบบการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน โดยให้ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีจุดรวบรวมของเสียอันตรายในชุมชนและมีศูนย์รวบรวมในระดับจังหวัด ทำให้ของเสียอันตรายจากชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องประมาณ 121,695 ตัน
สาเหตุของปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
:!: การเพิ่มของจำนวนประชากร ความต้องการใช้ก็เพิ่มมากขึ้น ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายก็เพิ่มขึ้นตาม
:!: การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายชั้น ทำให้มีขยะปริมาณมาก
:!: เกิดมาจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้น หรือแหล่งน้ำ โดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้
:!: ระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายยังไม่ครอบคลุมครบทุกแหล่งกำเนิด
:!: การขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้างในสถานที่กำจัด
ผลกระทบของปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
จากความต้องการใช้สิ่งของต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายนั้น และเมื่อไม่มีการกำจัดหรือระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายยังไม่ครอบคลุมครบ ทุกแหล่งกำเนิด
ทำให้เกิดเป็นปัญหาของการตกค้างในสิ่งแวดล้อมทำให้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์เป็นอย่างมาก เช่น
น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยหรือของเสียอันตรายที่ไม่มีการกำจัดอย่างถูกต้องที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก เกิดเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพได้ เป็นต้น
จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
จริยธรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จริยธรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านส่วนบุคคล ด้านองค์กร ด้านสังคมประเทศไทย และด้านสังคมโลก นั้น ทุก ๆ หน่วยงานก็จะมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับบริบทท และขนาด หรือสถานที่ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งทุก ๆ หน่วยงานมีจุดประสงค์และความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการป้องกัน ควบคุม และจัดการกับขยะมูลฝอยและของเสียที่เป็น อันตรายอย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะส่งผลให้สภาพ แวดล้อมในทุก ๆ ด้านดีขึ้น ซึ่งจะให้คุณภาพ ชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
:check: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
:check: กระทรวงอุตสาหกรรม
:check: กระทรวงสาธารณสุข
:check: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
:check: กระทรวงมหาดไทย
:check: กรมควบคุมมลพิษ
:check: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
:check: สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
:check: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-16
:check: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
:check: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
:check: ภาคเอกชนและประชาชน
STAKEHOLDER และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
Secondary stakeholders: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง
หน่วยงานต่าง ๆ ก็จะมีจริยธรรมสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก เพื่อให้การกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอย่างถูกวิธี
ตรวจสอบและผลักดันเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
สำนักงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
Key stakeholders: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
จริยธรรมสิ่งแวดล้อมด้านองค์กรของกระทรวง และกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ทุกกระกรวง คือ อยากพลักดัน ขับเคลื่อน และมุ่งมั่นในการในการกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เพื่อให้กำจัดได้ถูกต้องและไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ
ควบคุม ดูแล เรื่องของขยะ
มูลฝอยและของเสียที่เป็นอันตราย จากกิจกรรมแต่ละประเภทที่อยู่ภายใต้กระทรวงต่าง ๆ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย
และกรม กอง ที่เกี่ยวข้อง
Primary stakeholders: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
ประชาชนก็จะมีจริยธรรมสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับจิตสำนึก เพื่อให้เกิดเป็นปัญหาแล้วส่งผลกระทบต่อตัวเอง
หากเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาสิ่งเหล่านี้จะผลกระทบโดยตรงกับประชาชนในประเทศ
ภาคเอกชนและประชาชนในประเทศไทย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
พรบ.รักษาความ สะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
กำหนด กำกับดูแล กฎเกณฑ์ การบริการจัดการของเสียรวมถึงสิ่งปฏิกูลและ
มูลฝอย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
พรบ.สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้แต่งละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้มีการจัดทำแผนงาน/โครงการในการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักในการกำจัด
พรบ.โรงงาน พ.ศ. 2535
กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน การควบคุม ดูแลในเรื่องของกากอุตสาหกรรม
พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ควบคุม ดูแล วัตถุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อมได้เนื่องจากปัจจุบันมีการนำวัตถุอันตรายมาใช้ในกิจการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
อนุสัญญารอตเตอร์ดัม
มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการนำเข้าและการส่งออกสารเคมีอันตรายต้องห้ามหรือจำกัดการใช้อย่างเข้มงวดและสูตรผสมของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง
อนุสัญญาบาเซล
เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายของเสียตั้งแต่ก่อนเริ่มการนำเข้า ส่งออก และนำผ่านแดนของเสียอันตรายไปยังประเทศอื่น
การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกและขยะทะเล
เพื่อสนับสนุนการดำเนินการบริหารจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเพื่อลดปริมาณของขยะพลาสติกที่ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากประเทศไทยให้น้อยลง
นโยบาย/แผนระดับประเทศที่เกี่ยวข้องด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
นโยบายรัฐบาล
เร่งรัดการควบคุมมลพิษขยะ ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้แก่ประชาชน
ขยายความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน
ในการนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์
แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564)
เป็นกรอบแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ นำไปใช้จัดทำแผนการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของจังหวัดในภาพรวม และมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ปี พ.ศ. 2557 - 2564
เป็นกรอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดยอาศัยความร่วมมือและความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ตามหลักการเชิงป้องกันและหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย
ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
:star: การลดการเกิดของปริมาณขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ณ แหล่งกำเนิด
:star: สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร และวิชาการแก่ท้องถิ่น เพื่อให้มีการจัดการขยะมูลฝอยและ
ของเสียอันตรายแบบครบวงจร
:star: ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลและของเสียอันตรายแบบครบวงจรฝอยมากขึ้น
:star: สนับสนุนให้มีกฎระเบียบ และเกณฑ์ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
:star: ส่งเสริมการบริหารจัดการเพื่อสร้างแรงจูงใจในการจัดการให้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข่าว/คดี ที่เกี่ยวข้องด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
“เหยื่อตัวล่าสุด! ผ่าตัดสำเร็จ “เทรสซี่” เต่าทะเลเกยตื้นขยะเต็มท้อง”
เนื่องจากขยะมูลฝอยที่ลงสู่ทะเล เป็นสาเหตุหลักทำให้สัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ บาดเจ็บ หรือตาย สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ กระทบแนวปะการัง ทำลายทัศนียภาพของชายหาด และการท่องเที่ยว
“แกะรอยเอกชนลอบทิ้งถังสารเคมีอันตราย 300 ถัง”
เนื่องจากการลักลอบทิ้งถังสารเคมี หรือกากของเสียอันตราย ซึ่งเกิดจากค่าจ้างในการกำจัดมีราคาแพง และผู้รับจ้างกำจัดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อีกทั้งช่องว่างในระบบควบคุม ผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ และผู้รับจ้างในการกำจัดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
นายปัณณวรรธ อู่วงศ์ ETM 6230211002
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมมลพิษ. (2560) กฎหมายเกี่ยวกับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://bit.ly/3y6Zx4H
กรมควบคุมมลพิษ. (2564) รายงานประจำปี 2563 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://www.pcd.go.th/publication/14113/
กรมควบคุมมลพิษ. (2564) สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://www.pcd.go.th/pcd_news/11873/
ข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์. (2562) เหยื่อตัวล่าสุด! ผ่าตัดสำเร็จ “เทรสซี่” เต่าทะเลเกยตื้นขยะเต็มท้อง. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://news.thaipbs.or.th/content/278063
ข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์. (2564) แกะรอยเอกชนลอบทิ้งถังสารเคมีอันตราย 300 ถัง. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://news.thaipbs.or.th/content/307959
เทศบาลเมืองทุ่งสง. (2560) ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม – เทศบาลเมืองทุ่งสง. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://bit.ly/3ozcS2N
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 (นนทบุรี). (2561) แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายระดับพื้นที่. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564, จาก
https://bit.ly/3GlnacB
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10