Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเก็บรวบรวมและสำรวจข้อมูล - Coggle Diagram
การเก็บรวบรวมและสำรวจข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล
วิธีการรวบรวมข้อมูล
การสัมภาษณ์ (interview) — สัมภาษณ์โดยตรงหรือผ่านการสื่อสารอื่น เช่น โทรศัพท์ สื่อสังคมออนไลน์ ต้องใช้คำถามที่ชัดเจน ตรงประเด็น เป็นลักษณะคำถามปลายเปิด นิยมใช้รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ความเห็นของนักเรียนต่อระเบียบปฏิบัติในห้องเรียน ความรู้สึกของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่
การสำรวจ (survey) — ใช้แบบสำรวจที่มีการกำหนดคำถาม เพื่อค้นหาข้อมูล หรือความเห็นที่ต้องการ เช่น ความพึงพอใจของการบริหารงานของสภานักเรียน แหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสนใจ
การสังเกต (observe) — รวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างรับประทานอาหาร พฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในองค์กร
การทดลอง (experiment) — รวบรวมข้อมูลจากการทดลองหรือทดสอบที่มีการควบคุมปัจจัยบางประการ เช่น การบันทึกผลการเจริญเติบโตของถั่วงอกเมื่อมีแสงแดดและไม่มีแสงแดด
การทบทวนเอกสาร (document/literature review) — เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน บทความ หรือแบบฟอร์มการรวมรวบข้อมูล เช่น แบบบันทึกการเข้าเรียนของนักเรียน รายงานประจำปี รายงานการประชุม จดหมายข่าว แบบฟอร์มลงเวลาปฏิบัติงาน
การสำมะโน (census) — รวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจจากประชากรเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติมีการสำมะโนประชากรและเคหะเป็นประจำทุกๆ 10 ปี
แหล่งที่มาของข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) — ข้อมูลที่ได้จากแหล่งกำเนิดข้อมูลหรือจุดเริ่มต้นของข้อมูล เช่น ข้อมูลจากการทดลอง การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ หรือการจดบันทึกของผู้มีส่วนร่วมในเรื่องราวหรือเหตุการณ์เหล่านั้น
ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) — ข้อมูลที่ไม่ได้มาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง แต่ได้มาจากการอ้างอิงถึงข้อมูลปฐมภูมิ หรือนำข้อมูลปฐมภูมิมาวิเคราะห์ ประมวลผล ซึ่งอาจอยู่ในรูปสถิติ บทวิจารณ์ บทความ เอกสารต่างๆ
ประเภทข้อมูล
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) คือ ข้อมูลที่บอกเป็นตัวเลขหรือเป็นปริมาณของตัวแปรแต่ละตัว ซึ่งสามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่นำมาใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง เช่น จำนวนนักศึกษา คะแนน น้ำหนัก ระยะทาง เป็นต้น
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถบอกเป็นปริมาณหรือตัวเลขได้ แต่จะบอกในลักษณะคำพูด หรือบรรยายที่แสดงคุณลักษณะที่แตกต่างของตัวแปรต่างๆ โดยพยายามแยกเป็นกลุ่มตามคุณสมบัติ เช่น อาชีพ ศาสนา สถานภาพ สมรส เพศ เป็น
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล
กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด
กำหนดแหล่งข้อมูล
เลือกกลุ่มตัวอย่าง
เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้
ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
การนำข้อมูลทุติยภูมิที่มีการจัดเก็บรวบรวมไว้แล้วใช้งาน อาจมีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทุติยภูมิที่มีการอ้างอิงหรือส่งต่อกันมาเป็นทอดๆ อาจมีความจริงบางส่วนถูกบิดเบือนไปทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ดังนั้น ในการอ้างอิงข้อมูลทุติยภูมิ ต้องตรวจสอบความถูกต้องและแหล่งที่มาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการนำข้อมูลไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิได้แก่
หนังสือเรียน
หนังสือ
หนังสือคู่มือ
รายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ
บทคัดย่อทางวิจัย
การเตรียมข้อมูล
หลังจากเลือกแหล่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมข้อมูล เพื่อทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ไม่มีค่าผิดปกติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลข้อมูล
การทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing)
ข้อมูลที่รวบรวมมานั้น อาจมีข้อผิดพลาดซึ่งไม่เหมาะต่อการนำไปประมวลผลซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ให้ข้อมูลกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน ผู้บันทึกข้อมูลพิมพ์ข้อมูลผิดพลาด หรือการขาดข้อกำหนดในการบันทึกข้อมูล
การแก้ไขข้อมูลเมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาด สามารถทำได้โดยการแก้ไขให้ถูกต้อง หรือลบข้อมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผล หากข้อมูลมีจำนวนไม่มาก สามารถใช้คนดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล แต่หากข้อมูลมีจำนวนมาก ต้องอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และรูปแบบข้อมูลที่กำหนดในโปรแกรม
การทำความสะอาดข้อมูลมี5ขั้นตอน
มีค่าว่าง
มีค่าที่อยู่นอกขอบเขตจากค่าที่เป็นไปได้
ใช้หน่วยนับผิด
เป้นค่าที่ผิดปกติ (outlier)
1 more item...
การแปลงข้อมูล (Data Transformation)
เป็นการเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการประมวลผล โดยรูปแบบของข้อมูลที่พร้อมประมวลผลในโปรแกรมตารางทำงานนั้น แต่ละแถว (บรรทัด) คือข้อมูล 1 รายการ และแต่ละคอลัมน์ (หลัก) คือ คุณลักษณะ หรือแอตทริบิวต์
การเชื่อมโยงข้อมูล (Data Combining)
กรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่มีการเผยแพร่จากหลายแหล่ง หรือมีหลายไฟล์ข้อมูล ต้องทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน โดยใช้คุณลักษณะหรือแอตทริบิวต์ ที่มีอยู่รวมกันของหลายแหล่งข้อมูล เป็นตัวเชื่อมโยง
ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล
การเลือกใช้แหล่งช้อมูลที่มีการบิดเบือน ขาดความน่าเชื่อถือ อาจทำให้ข้อสรุปที่ได้เกิดความผิดพลาดหรือชี้นำไปในทางที่ผิด นอกจากนี้อาจเกิดอันตรายและสร้างความเสียหาย ดังนั้นก่อนเลือกใช้แหล่งข้อมูล ควรพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลตามมุมมองดังนี้
จุดมุ่งหมายของแหล่งข้อมูล (purpose) — ข้อมูลถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป้าหมายใด
ความทันสมัยของข้อมูล (currency) — ข้อมูลเผยแพร่เมื่อใด
ความสอดคล้องกับการใช้งาน (relevance) — ข้อมูลเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการหรือไม่
ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (authority) — แหล่งข้อมูลหรือผู้เผยแพร่น่าเชื่อถือหรือไม่
ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) — ข้อมูลมีการยืนยันความถูกต้อง มีการถูกอ้างอิงถึงหรือไม่