Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การค้าและการเงินระหว่างประเทศ - Coggle Diagram
การค้าและการเงินระหว่างประเทศ
.การติดต่อค้าขายระหว่างประเทศมีประโยชน์ คือ
-ทำให้แต่ละประเทศสามารถบริโภคสินค้าได้หลายชนิด และสินค้าที่ผลิตเองไม่ได้
-ทำให้แต่ละประเทศบริโภคสินค้าที่ถูกลง
-ทำให้มีการแบ่งงานกันทำ และใช้ทรัพยากรโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ทำให้โลกมีการพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น
ดุลการชำระเงิน
หมายถึง บัญชีที่บันทึกรายรับรายจ่ายของเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจหรือการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศหนึ่งกับผู้มีถิ่นฐานของต่างประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ดุลการชำระขาดดุล
หมายถึง รายรับของเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาน้อยกว่า รายจ่ายของเงินตราต่างประเทศที่ไหลออกไปนอกประเทศ ซึ่งบางครั้งการใช้หนี้เงินกู้ต่างประเทศ อาจทำให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล แต่สถานการณ์ไม่ได้เลวร้าย แต่กรณิดุลการชำระเงินขาดดุลอันเกิดจากบัญชีเดินสะพัดติดลบ หรือดุลการค้าขาดดุลเป็นจำนวนมาก จะทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศไม่มั่นคง อาจต้องกู้ยืมเงินต่างประเทศมาชดเชย
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
ราคาของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วยที่คิดเทียบกับเงินตราต่างประเทศของอีกสกุลหนึ่
ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ ได้แก่
-อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
-ปริมาณการนำเข้าของสินค้าจากต่างประเทศ
-รายได้ประชาชาติ
-รสนิยม
-ผลต่างอัตราดอกเบี้ยภายในและต่างประเทศ
-การเดินทางไปต่างประเทศ
-การงทุนในต่างประเทศ
-การโอนเงินและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ปัจจัยที่กำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศได้แก่
-อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
-ปริมาณส่งออก หรือขายสินค้าไปต่างประเทศ
-การลงทุนจากต่างประเทศ
-ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยภายในและต่างประเทศ
-การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
-การรับเงินโอนหรือรายได้ต่างๆ จากต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ หมายถึง
อัตราแลกเปลี่ยนที่อุปสงค์เงินตราต่างประเทศ เท่ากับ อุปทานของเงินตราต่างประเทศพอดี